Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad International
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
29 มิ.ย. 2020 เวลา 07:20 • สุขภาพ
มือ เท้า ปาก โรคยอดฮิต ในเด็กวัยใส
มื่อบุตรหลานเริ่มไปโรงเรียน อาจเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บที่ติดต่อได้ง่ายขึ้น โรคมือ เท้า ปาก เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบการแพร่กระจายได้โดยง่าย และมักพบในเด็กเล็ก บทความนี้จะช่วยให้ท่านรู้จักกับโรคและวิธีป้องกันโรคนี้ได้ เพื่อให้บุตรหลานอันเป็นที่รักยิ่งของท่าน ห่างไกลจากโรคมือ เท้า ปาก
โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร?
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มักพบในเด็กทารก และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถพบในเด็กโต และผู้ใหญ่ได้ อาการที่เกิดขึ้น เช่น มีไข้ แผลตุ่มพองในปาก ผื่นตามร่างกาย เป็นต้น
อะไรคือสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก?
จากที่กล่าวไปข้างต้น โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อ Coxsackievirus A16 (คอกซากีไวรัส เอ16) และ Enterovirus 71 (เอนเทอโรไวรัส 71) มักพบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน
อาการของโรคมือ เท้า ปาก มีอะไรบ้าง?
มีไข้
เบื่ออาหาร
เจ็บคอ
ไม่สบายตัว
ท่านสามารถติดโรคมือ เท้า ปาก จากทางใดบ้าง?
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ง่าย ทั้งผ่านทางระบบทางเดินหายใจ จากการสัมผัสน้ำลาย เสมหะ น้ำมูก และระบบทางเดินอาหาร จากการสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสของเล่น น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสได้อีกด้วย
โรคมือ เท้า ปาก สามารถป้องกันได้อย่างไร?
ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ อย่างน้อย 20 วินาที
ทำความสะอาดพื้นที่และสิ่งของให้สะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของเล่นเด็ก
หลีกเลี่ยงการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น การจูบ กอด เป็นต้น
ไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะจาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ
โรคมือ เท้า ปาก รักษาได้อย่างไร?
ใช้ยาแก้ปวด Paracetamol หรือ Ibuprofen หลีกเลี่ยงการใช้ยา Aspirin ในเด็ก
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อน โซดา อาหารที่เป็นกรด อาหารรสเค็ม และอาหารรสเผ็ดจัด
บ้วนปากหลังรับประทานอาหาร หรือใช้สเปรย์พ่นคอเพื่อลดอาการเจ็บในปาก
สามารถรับประทานไอศกรีม หรือดื่มเครื่องดื่มเย็น เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก
ควรรับประทานอาหารเหลว ที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก เพื่อลดการใช้ช่องปากในการบดเคี้ยวอาหาร
หมายเหตุ: ปรับปรุงข้อมูลชื่อโรค “โรคมือเท้าปากเปื่อย” เป็น “โรคมือเท้าปาก” ดังนี้ ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรตติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ ข้อ ๑ (๓๗) โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth disease)
2 บันทึก
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Bumrungrad Pharmacy - เกร็ดความรู้เรื่องยา
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย