30 มิ.ย. 2020 เวลา 02:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รากฐานของตึก คือ "อิฐ"
รากฐานของชีวิต...ในอนาคต คือ "แบตเตอรี่
ตอนที่ 4 : บุคคลสำคัญของวงการ “แบตเตอรี่”
ไม่ใช่ Elon Musk : CEO ของ Tesla ครับ
ไม่ใช่ Robin Zeng : CEO ของ CATL อีกด้วยครับ
ไม่ใช่ “ชายสองคนนี้” ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ One Million Mile Battery
แบตเตอรี่ที่เพิ่งเปิดตัว เมื่อเดือนที่ผ่านมา
แล้วเค้าเป็นใคร?
เป็นชายนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย : 3 ท่านครับ..
บุคคลทั้ง 3 สร้างคุณูปการในวงการ “แบตเตอรี่”
และถือว่าเป็นบุคคลที่ “โลก” ควรยกย่อง!!!
ชาย 3 ท่านนี้ คือ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี เมื่อปีที่ผ่านมาครับ
ในลักษณะผู้ร่วมกันพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน-แบตที่ชาร์จซ้ำได้
เป็นการสร้างประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ในโลกสมัยใหม่
การค้นพบ พัฒนา วิจัย ของชายทั้ง 3 เป็นรากฐานของการนำไปสู่การพัฒนาแบตลิเธียมไอออนในปัจจุบัน
ภาพ : Nicklaus Elmehed : nobleprize.org
ชายคนที่ 1 : ศาสตราจารย์ จอห์น บี. กู๊ดอีนัฟ 🇺🇸
ชายคนที่ 2 : ศาสตราจารย์ เอ็ม. สแตนลีย์ วิตทิงแฮม 🇬🇧
ชายคนที่ 3 : ศาสตราจารย์อากิระ โยชิโนะ 🇯🇵
นักวิทยาศาสตร์ 3 ท่านนี้ ช่วยกันสานต่อ และ พัฒนา
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน จนมีประสิทธิภาพสูง
ปลอดภัยในการใช้งาน ราคาถูกลง กะทัดรัด น้ำหนักเบา
ขออนุญาตนำเสนอโดยสรุปของ ศาสตราจารย์ ทั้ง 3 ท่าน
(ในแบบ short cut)😊
ศาสตราจารย์ เอ็ม. สแตนลีย์ วิตทิงแฮม Cr: Jonathan Cohen/Binghamton University
เริ่มจากในช่วงทศวรรษ 1970 : จุดเริ่มต้น (ไม้ที่1)
ศาสตราจารย์ เอ็ม. สแตนลีย์ วิตทิงแฮม อายุ 78 ปี
(มหาลัย Binghamton)
ริ่เริ่มนำลิเธียมที่มีน้ำหนักเบา (โลหะธาตุหมู่ 1)มาใช้ทำขั้วไฟฟ้า
โดยสามารถสร้างขั้วแคโทดที่เก็บไอออนของลิเธียมได้สำเร็จ
และเป็นจุดเริ่มต้นของแบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟซ้ำได้
ศาสตราจารย์ จอห์น บี. กู๊ดอีนัฟ : ภาพ https://news.utexas.edu
10 ปีถัดมา : จุดเพิ่มประสิทธิภาพ จากส่วนผสมใหม่ (ไม้ที่2)
ศาสตราจารย์ จอห์น บี. กู๊ดอีนัฟ อายุ 98 ปี
(มหาลัย Texas)
ได้นำเอา CobaltOxide มาใช้งานเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม
เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า
(เพิ่มศักย์ให้กับขั้วบวก) ซึ่งดีกว่าแบตเตอรี่ที่ ศาสตราจารย์ เอ็ม. สแตนลีย์ วิตทิงแฮม ได้คิดค้นขึ้น (จากความต่างศักย์ 2โวลต์ เป็น 4โวลต์)
ศาสตราจารย์อากิระ โยชิโนะ : ภาพ Wikipedia
ต่อจากนั้นอีก 5 ปีต่อมา : จุดพัฒนาจนเป็นเชิงพาณิชย์ (ไม้สุดท้าย)
ศาสตราจารย์อากิระ โยชิโนะ อายุ 72ปี
(มหาวิทยาลัย Meijo)
ได้ปรับแต่งขั้วของแบตเตอรี่ใหม่ โดยใช้ petroleum coke (ผงเขม่าจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม) ซึ่งผลดังกล่าวทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น และพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เป็นจริงได้
งานวิจัย พัฒนาของศาสตราจารย์ ทั้ง 3 ในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 จนสามารถออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ได้ในที่สุด
เหมาะสมอย่างยิ่งแล้ว..ที่ท่านจะได้รับรางวัลโนเบล
ถึงแม้ว่าจะมอบหลังจากที่คิดค้นไปแล้ว 30 กว่าปีก็ตาม👏👏
และนี้คือ ประโยค - วลีทอง ของการให้สัมภาษณ์
ของศาสตราจารย์ทั้ง 3 ท่านครับ..
ในโอกาสที่ได้รับรางวัลโนเบล
ประทับใจจริงๆ ครับ.. เรียงลำดับกันเลยนะครับ
ท่านแรก ไม้ที่ 1 : ศาสตราจารย์เอ็ม. สแตนลีย์ วิตทิงแฮม
“It’s great to see all the changes,
how it’s impacting everybody’s lives”
ท่านที่สอง ไม้ที่ 2 : ศาสตราจารย์ จอห์น บี. กู๊ดอีนัฟ
“Don’t retire too early!”
และท่านที่สาม ไม้สุดท้าย : ศาสตราจารย์อากิระ โยชิโนะ
“It is very important to think every day”
ที่รู้สึกประทับใจมากกว่านั้น..เมื่อดูในรายละเอียดจาก Wikipedia
ในหัวข้อ “ได้รับอิทธิพลจาก”
พบว่า ทั้ง 2 ศาสตราจารย์จากญี่ปุ่น และ อเมริกา
ต่างระบุว่า “ได้รับอิทธิพลจาก” ซึ่งกันและกัน❤️
และนี่คือ “ชายทั้ง 3” ครับ
ที่สร้าง “รากฐาน” ของแบตเตอรี่จากอดีต
และจะเป็น “รากฐาน” ในกิจวัตรในอนาคต..ของทุกคนต่อไป
ลองมองไปรอบๆตัว ใกล้ตัวคุณ “มีแบต- ลิเธียมไอออน” ใช่มั้ย?
-
-
-
คำตอบ คือ “ใช่”
เราจะไม่เรียนรู้..โดยลำพัง (Never Learn Alone)☺️
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
โฆษณา