30 มิ.ย. 2020 เวลา 02:25 • ศิลปะ & ออกแบบ
นักเรียนเลวในสังคมดี
ชื่อผลงาน "เลิกบังคับหรือจับตัด"
น้องพลอย นักเรียนไทยที่เป็นเรื่องราวจากการนั่งถือป้ายที่บีทีเอสสยามให้คนที่เดินผ่านไปมาได้ตัดผมของน้อง ก่อให้เกิดกระแสในโซเชียลมีเดีย ทั้งสนับสนุน โจมตีด้วยเหตุผล และ Hate speech ที่พูดเรื่องอ่อนไหวอย่างเรื่องเพศ
น้องออกมาเคลื่อนไหวเรื่องกฎทรงผมของโรงเรียนที่ห้ามทั้งหน้าม้า และหลายคนถูกกล้อนผมในโรงเรียน ทั้งที่ขัดกับกฎของสพฐ.
จาก twitter นักเรียนเลว มีเด็กบางคนถูกครูพูดเหยียดหยาม อย่าง "ใส่เสื้อกันหนาวเพราะท้อง" "ไว้ผมยาวเพื่อไปขายบริการ"
ข้อความที่เชื้อเชิญให้ผู้ที่เดินผ่านไปมาได้เห็นความผิดของน้องและลงโทษน้องให้สาสม
งานนี้สามารถมองเป็นศิลปะสื่อแสดง (Performance art) ที่มีมานานตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 60 โดยใช้ร่างกายสื่อสารโดยตรงกับผู้ชม
งานศิลปะแสดงที่สะท้อนจิตใจมนุษย์งานหนึ่งที่โด่งดังมากอย่าง Rhythm 0 ของมารีนา อบราโมวิช (Marina Abramović) ศิลปินหญิงชาวเซอร์เบียที่ได้จัดสิ่งของจำนวน 72 อย่างไว้บนโต๊ะ และให้ผู้ชมใช้สิ่งของเหล่านั้นทำอะไรกับเธอก็ได้ใน 6 ชั่วโมง
เป้าหมายคือต้องการรู้ว่า "ผู้คนสาธารณะจะทำอะไรและไปสุดที่ตรงไหน"
ช่วงแรกเธอแค่ถูกจัดท่าทาง
1
มีบางคนจ่อเธอด้วยปืนที่บรรจุกระสุนอยู่หนึ่งนัด
ผ่านไปครึ่งงาน เธอถูกใช้ใบมีดโกนตัดเสื้อผ้าและทำอนาจาร
งานนี้มีผลกระทบต่อตัวและจิตใจเธออย่างมาก เธอรู้สึกถูกคุมคามและสามารถถูกฆ่าได้ทุกเมื่อ หลังหกชั่วโมงเธอเดินเข้าหาฝูงชน ทุกคนต่างหนีหายและหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับเธอ
งานนี้อาจไม่ได้มีผลกระทบต่อผู้คนและไม่ได้ลึกซึ้งเท่า แต่สามารถสะท้อนความคิด การกล้าแสดงออก และความอัดอั้นตันใจของนักเรียนคนหนึ่ง
การตัดผมที่ทั้งถูกจัดฉากและตัดจริง โดยผมถูกแปะผมปลอมเพื่อเซฟผมจริงของน้องไว้
Timelapse ที่แอบตั้งกล้องอยู่ฝั่งตรงข้ามทำให้เห็นการจบงานแสดงได้อย่างสมบูรณ์แบบ
จาก twitter นักเรียนเลว
จบโดยการที่ตำรวจเชิญไปโรงพัก
Hate speech จากเฟซบุ๊คพี่แบงก์ ใจดี ที่โจมตีไปที่เพศของน้อง
การตัดผมเป็นเรื่องเล็กๆในมุมมองของหลายๆคน ผู้ใหญ่ในโรงเรียนมีเหตุผลหลากหลายว่าควรตัดเพื่ออะไร ทั้งความเป็นระเบียบ การไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และต้องเสียเงินไปทำผมสวยๆ การย้อมสีที่ไม่เหมาะสม การฝึกเด็กให้มีวินัยอยู่ในกฎระเบียบเพื่อให้อยู่ในสังคมได้ดีเมื่อโตขึ้น
บางคนไปเปรียบเทียบกับบริษัท ว่ากฎเขามีไว้แล้วถ้าทำตามไม่ได้ก็ไปเข้าบริษัทอื่น
ในมุมมองของเด็ก เขามองว่าเรื่องผมไม่เกี่ยวข้องต่อการเรียน และพวกเขามีสิทธิเหนือร่างกายตัวเอง
ในความคิดเห็นของผม
เด็กส่วนมากที่ออกมาเรียกร้องเพราะโรงเรียนไม่ทำตามกฎของสพฐ. โดยโรงเรียนอ้างว่าโรงเรียนใครโรงเรียนมัน ไม่จำเป็นต้องทำตามสพฐ.
การกล้อนผมเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งและผิดกฎหมาย ควรตักเตือน ตัดคะแนน หรืออย่างมากก็เรียกผู้ปกครอง
อีกประเด็นคือ โรงเรียนและผู้ใหญ่ควรสนับสนุนการกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก เพราะโรงเรียนเป็นที่ๆปลอดภัยสำหรับการคิดและแสดงออกนอกกรอบ ไม่ควรไปปิดปากเด็กๆที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นกำลังหลักของชาติ
เราอยากให้เด็กๆกล้าคิดกล้าทำ แต่กลายเป็นว่าผู้ใหญ่อนุญาตให้คิดหรือทำเฉพาะเรื่องที่ถูกใจเรา เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กๆที่เด็กเข้าใจและกล้าพูด เด็กๆจะได้เรียนรู้และควรได้รับความเห็นและการชี้แนะอย่างมีเหตุผลและเป็นมิตร ในอนาคตเด็กๆพวกนี้จะโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่กล้าคิดกล้าทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา