30 มิ.ย. 2020 เวลา 13:53 • ความคิดเห็น
Ajahn Chah’s three blessings
I am a proud child of Ubonratchathani, my hometown. Wherever I go, I have no reservation to boast about my humble beginning in the far-flung northeast of Thailand next to Laos and Cambodia. Upon deeper inspection, I realized that the pride for my birth province does not stem from its size nor the privilege to be the only Thai province aside from Bangkok with the epithet “royal city” in its name. But it is the fact that I had lived and thrived under the legacy of so many great local heroes. One of whom is Ajahn Chah.
Ajahn Chah was undoubtedly a great teacher; his monastic lineage permeates deeply into nearly every Buddhist community in Thailand while his western students disseminate the seeds of his wisdom around the globe. Despite the didactic success for which laypeople celebrate him, Ajahn Chah had no formal education beyond Grade 4. Some might expect Ajahn Chah to have made up for his rather light academic credentials with a Buddhist degree of some sort. Unfortunately, Ajahn Chah also had little to flaunt in this regard as he only achieved the ‘Nak Dham Aek’ certificate, a Buddhist exam any students at a Thai school will have passed by the time they graduate. Ajahn Chah spoke no English nor any other foreign languages, yet he counted PhDs and alumni from the world’s top universities as his disciples. How had he managed to accomplish so much while having little command of the skills the mundane world considers a necessity to succeed? – the answer, I believe, lies in his three blessings.
Recently, I had the fortune to listen to Ajahn Jayaso’s discourse on his impression of Ajahn Chah. Ajahn Jayasaro gave a simile that the awe he felt when first meeting his teacher, Ajahn Chah, was tantamount to that of a person who has lived his entire life in a world replete with plastic flowers and sees a real flower for the first time. It was no different from the overwhelming emotions one would have when hearing a mellifluous performance during his maiden trip to a world-class opera house after a lifetime in a karaoke box. It wasn’t difficult for him to idealize Ajahn Chah; however, another part of him was seeking, with inextinguishable curiosity, to see the blemish in his teacher. From time to time, Ajahn Jayasaro had been observing for any signs of anger, discontentment or fear from the man, yet every time, he failed to detect any of those shortcomings. Ajahn Chah’s first blessing was that he was able to teach by his actions not his words. He shattered the language barrier whilst installing a bridge that was his practice upon which his students found their footing in the heaving river of Buddhist training.
When the western monks familiarized themselves with sufficient Thai to understand Ajahn Chah’s talks, he would give simple, yet profound teachings. He crystalized the lessons into their simplest forms without any embellishments. Additionally, he spoke from the heart, that is from his first-hand experience. In this way, Ajahn Jayasaro quoted Ajahn Chah: “the teaching will come out like a limitless reservoir of water giving an unending stream; speaking from the memory of what you read can only go so long as the length of your book”. The ability to convey his messages in their most comprehensible forms was his second blessing.
The final blessing is nothing other than his boundless generosity. Ajahn Chah was the definition of Buddhist stardom if it ever existed. His name was well-recognized throughout the country, his teachings cited widely in academia. The Queen mother Sirikit, then Queen Sirikit, would fly to Ubon to be in his audience. Many prime ministers, both Thai and of other nations, flocked to Ajahn Chah’s small Kuti (a monk’s abode) to hear his wise words. Despite all the fame and accolades, Ajahn Chah did not even once abuse his authority. He never exploited anybody when it could not have been easier to do so. You can call it integrity, but I prefer ‘Metta’ (loving-kindness) as I firmly believe his only desire was to help and foster others.
Ajahn Chah passed away 28 years ago. Not a single day since has his life not inspired millions who come across his teachings. I am proud to be from Ubon, where the two pictures you will see in every household are one of the King and one of Ajahn Chah.
พรสามประการของหลวงปู่ชา
ผมพูดได้อย่างภูมิใจเวลาใครมาถามว่าบ้านเกิดอยู่ที่ไหน ว่ามาจากจังหวัดอุบลฯ ถามว่าลึกๆแล้วทำไมผมถึงภูมิใจในบ้านเกิด ก็คงไม่ใช่เพราะว่าเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ หรือเป็นจังหวัดเดียวนอกจากกรุงเทพฯที่มีคำว่า ‘ราชธานี’ หรือเมืองหลวงอยู่ในชื่อจังหวัด หากแต่เป็นความภูมิใจที่ผมได้เกิดและเติบโตมากับมรดกทางปัญญาอันล้ำค่าที่ชาวอุบลฯรุ่นก่อนหลายๆท่านฝากไว้ หนึ่งในนั้นก็คือหลวงปู่ชา
หลวงปู่ชาจริงๆแล้วก็คือครูคนหนึ่ง แต่เป็นครูที่สอนธรรมะได้จับใจศิษย์ จนมีผู้ติดตามและเผยแผ่คำสอนของท่านไปทั่วโลก คำว่า “มาจากสายหลวงปู่ชา” ไปพูดในชุมชนพุทธที่ใดในโลก ผมรับรองว่าไม่มีใครไม่รู้จัก แต่น้อยคนนักจะตระหนักว่าลูกศิษย์ตะวันตกทั้งหลายของหลวงปู่ หลายคนจบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก หลายคนจบถึงปริญญาเอก จะมาเป็นลูกศิษย์อาจารย์ที่จบแค่ ป. 4 การศึกษาทางธรรมหลวงปู่ชาก็ไม่ได้เน้นเพราะท่านเรียนเพียงนักธรรมเอก (ซึ่งนักเรียนมัธยมทุกคนก็คงจะจบชั้นนี้ก่อนขึ้นมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ) ภาษาต่างประเทศท่านก็พูดไม่ได้ แล้วหลวงปู่ชาสอนลูกศิษย์เหล่านี้ได้อย่างไรในวันที่เทคโนโลยีแปลภาษาก็ไม่มีเหมือนในปัจจุบัน ปาฏิหาริย์เรื่องนี้ผมคิดว่าเกิดจากพรสามประการของหลวงปู่ชา
ไม่นานมานี้ผมได้มาโอกาสฟังเทศน์พระราชพัชรมานิต (ณอน ชยสาโร) เกี่ยวกับหลวงปู่ชาในทรรศนะของท่าน พระอาจารย์ชยสาโรกล่าวว่าความรู้สึกแรกที่ได้พบหลวงปู่ชาคือความทึ่ง ทึ่งชนิดที่เหมือนกับคนที่อยู่ในโลกที่ประดับประดาไปด้วยดอกไม้ปลอม แล้วได้มาเห็นดอกไม้แท้ๆ เป็นครั้งแรก ทึ่งในแบบเดียวกับที่คนที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในตู้คาราโอเกะ แล้วได้มาฟังน้ำเสียงของนักร้องโอเปร่าเป็นครั้งแรก ไม่แปลกเลยที่พระอาจารย์ชยสาโรจะนับถือหลวงพ่อชาว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่ท่านเคยพบ แต่อีกใจนึงท่านก็อดที่จะจับผิดหลวงปู่ชาไม่ได้ เป็นไปได้เหรอที่หลวงปู่ชาจะไม่มีความโกรธ ความหงุดหงิด หรือความกลัว? แต่ยิ่งสังเกตคำตอบที่ได้ก็คือ ไม่ ไม่มีเลย หลวงปู่ไม่มีธรรมาอารมณ์เหล่านี้เลย การที่หลวงปู่ปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ศิษย์เช่นนี้แหละที่ทำให้กำแพงภาษาพังลง เหลือแต่สะพานแห่งการปฏิบัติที่หลวงปู่เชิญชวนให้ศิษย์เข้ามาสังเกต เข้ามาพิสูจน์ และนำไปประยุกต์กับการปฏิบัติของตนเอง นี่คือพรประการแรกของหลวงปู่
เมื่อลูกศิษย์ฝรั่งเริ่มเข้าใจภาษาไทยดีขึ้น หลวงปู่ชาก็จะเริ่มเทศน์สอนให้ฟัง แต่หลวงปู่จะไม่ใช้ภาษาที่วิจิตรพิสดาร หากแต่จะตกผลึกเนื้อหาธรรมในรูปแบบที่เรียบง่ายมากที่สุด แต่ไม่มากไปกว่าที่จำเป็น ที่หลวงปู่ทำแบบนี้ได้ พระอาจารย์ชยสาโรกล่าวว่าคงเพราะหลวงปู่สอนจากใจ ใจที่เคยผ่านการฝึกแบบนี้มาแล้ว มีประสบการณ์ตรงมาแล้ว หลวงปู่ชาเคยกล่าวกับพระอาจารย์ชยสาโรว่า “ถ้าสอนคนอื่นจากประสบการณ์ตรง คำสอนมันจะไหลออกมาไม่หยุดเหมือนน้ำที่ไหลจากแอ่งเก็บที่มีไม่วันแห้ง แต่ถ้าสอนจากการจำ การอ่านมา คำสอนอย่างมากก็หมดลงไปพร้อมกับบรรทัดสุดท้ายของหนังสือนั่นแหละ” การฝึกศิษย์ด้วยความเข้าอกเข้าใจเพราะเคยเผชิญประสบการณ์เหล่านี้มาก่อนคือพรประการที่สองของหลวงปู่ชา
พรประการสุดท้ายของหลวงปู่คือความเมตตา สมัยที่หลวงปู่ยังไม่มรณภาพท่านก็ไม่ต่างจากดาราใหญ่ของพุทธศาสนิกชน ชื่อเสียงท่านเป็นที่โจษขันกันไปทั่วประเทศและคำสอนก็มีคนเอาไปอ้างอิงทางวิชาการอย่างแพร่หลาย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ พระพันปีหลวง สมัยเป็นพระบรมราชินีนาถก็เคยเสด็จไปเฝ้าหลวงปู่ชา นายกรัฐมนตรีหลายท่านทั้งไทยและจากต่างประเทศก็เคยมาหาหลวงปู่ที่กุฏิเพื่อฟังคำสอน แม้หลวงปู่จะอยู่ในสถานะที่สามารถจะใช้อิทธิพลของท่านเอาเปรียบผู้อื่นอย่างไร เมื่อใดก็ได้ แต่ท่านไม่เคยทำแม้เพียงครั้งเดียว หลายคนอาจคิดว่านี่เป็นเพราะหลวงปู่มีวินัย แต่ผมกลับเห็นว่าเป็นเพราะหลวงปู่มีแต่เมตตาและความหวังดีต่อผู้อื่นต่างหาก การคิดเอาเปรียบจึงไม่เคยมีตั้งแต่ต้น
หลวงปู่ชามรณภาพมา 28 ปีแล้ว แต่ไม่มีแม้เพียงวันเดียวที่คำสอนของหลวงปู่จะไม่ยังประโยชน์แก่คนที่ศึกษา ผมพูดได้อย่างภูมิใจว่ามาจากจ.อุบลฯ จังหวัดที่ทุกๆบ้านจะต้องมีรูปอยู่สองรูป รูปแรกคือพระบรมฉายาลักษณ์ส่วนรูปที่สองคือรูปของหลวงปู่ชา
Ajahn Chah during an alms round with his student monks: หลวงปู่ชากับลูกศิษย์ขณะบิณฑบาท courtesy of forestsangha.org
โฆษณา