30 มิ.ย. 2020 เวลา 16:04 • ยานยนต์
การจุดระเบิดโดยใช้ CDI (Capacitor discharge ignition) ตอนที่ 2
จากตอนที่ผ่านมา ได้บอกถึงชิ้นส่วนสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบการจุดระเบิดโดยใช้ CDI ในตอนนี้ เราจะมาพูดถึงความสัมพันธ์ของเเต่ละชิ้นส่วนด้วยภาพวงจรคร่าวๆ ดังรูปที่เเนบมา จะเห็นว่าเเต่ละชิ้นส่วน มีความเชื่อมต่อกันเป็นวงจร ที่เป็นของ Honda CB250 Model
1
จากรูปวงจร กระเเสเเรงดันที่ได้ จะได้จากการหมุนของ stator (มัดไฟสเตเตอร์) ที่ประกอบอยู่ใน rotor (ล้อเเม่เหล็ก) ในชุดนี้จะประกอบกันอยู่ฝั่งซ้ายของเครื่องยนต์ เรียกกันในนามว่าฝั่ง cover generator (ฝั่งชุดกำเนิดไฟ)
กระเเสเเรงดันต่างๆจะผ่านเข้า Regulator (กล่องควบคุมเเรงดัน) จะทำหน้าที่ควบคุมเเละเเปลงเเรงดัน จาก AC (ไฟฟ้ากระเเสสลับ) เป็น DC (ไฟฟ้ากระเเสตรง) เพื่อจ่ายไปยังชิ้นส่วนที่ใช้ไฟในรถมอเตอร์ไซด์ทั้งสิ้น รวมถึง CDI (กล่อง CDI)
กล่อง CDI จะทำหน้าที่รับสัญญาณ การหมุนของ rotor (ล้อเเม่เหล็ก) เเรงดันที่ได้จาก regulator จะไปยังตัวเก็บประจุ (อยู่ในกล่อง CDI) เพื่อสะสมพลังงาน เมื่อได้สัญญาณจากล้อเเม่เหล็ก จะสั่งให้ตัวเก็บประจุให้คลายพลังงานที่สะสมไปยัง Ignition coil (คอยล์ จุดระเบิด)
Ignition coil (คอยล์ จุดระเบิด) จะรับพลังงาน (Voltage) 200-300 V จากตัวเก็บประจุ ขยายพลังงานให้เป็นพลังงาน เเรงดันสูง (High voltage) 10-30 KV เพื่อส่งไปจุดระเบิดที่หัวเทียน (Spark plug)
หัวเทียน (Spark plug) จะรับเเรงดันสูง จากคอยล์จุดระเบิด เเละจะจุดระเบิด หรือที่เรียกว่าการ Spark ที่ห้องเผาไหม้ เมื่อลูกสูบ เคลื่อนที่อยู่ใน TDC (Top dead center) จุดสูงสุดของลูกสูบ จะเกิดการระเบิด ทำให้เกิดงานที่ลูกสูบ ลูกสูบจะเคลื่อนลง เพื่อขับเพลาข้อเหวี่ยงต่อไป
1
LIGA911 เวปฟุตบอลออนไลนที่น่าเชื่อถือที่สุดขณะนี้
มีระบบสร้างรายได้ด้วยลิ้งรับทรัพย์ ค่าคอมสูงสุด 1%
คลิกเลยยย
โฆษณา