Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
2 ก.ค. 2020 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
แค้นนี้ต้องชำระ! ยุทธการ 'Doolittle Raid' เมื่อสหรัฐฯ เอาคืนญี่ปุ่นหลังถูกโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
หลังจากที่สหรัฐฯ ต้องพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่หลังจากถูกกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ จนทำให้มีทหารเสียชีวิตหลายพันนาย ภายหลังสหรัฐฯ ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเต็มตัว
และภารกิจสำคัญสำหรับสหรัฐฯ ก็คือการเรียกขวัญกำลังใจต่อประชาชน และเอาคืนกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น เพื่อพิสูจน์ให้พวกเขาเห็นว่าฝ่ายสหรัฐฯ พร้อมจะใช้มาตรการตอบโต้อย่างรุนแรงจนเป็นที่มาของแผนการโจมตีฉาบฉวยดูลิตเติล (Doolittle Raid) ภายใต้การนำของนายพลเจมส์ ดูลิตเติล แห่งกองทัพสหรัฐฯ เพื่อโจมตีฉาบฉวยทางอากาศเหนือกรุงโตเกียวของประเทศญี่ปุ่น
WIKIPEDIA PD
โดยภารกิจในครั้งนี้ กองทัพสหรัฐฯ ได้ระดมนักบินหน่วยกล้าตายเกือบร้อยนาย เหตุผลที่กล่าวเช่นนี้ เพราะภารกิจนี้เป็นภารกิจอันตรายที่พวกเขาอาจไม่ได้กลับมา โดยนักบินและลูกเรือผู้กกล้าเหล่านี้จะโดยสารไปกับเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางรุ่น B-25B Mitchell จำนวนกว่า 16 ลำ ที่โดยสารมากับเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Hornet ที่ประจำการอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และได้มีการนำเหรียญสันติภาพ ที่ญี่ปุ่นเคยมอบให้สหรัฐฯ ก่อนเกิดเหตุการณ์โจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ มาผูกติดกับระเบิดที่จะถูกหย่อนลงไปใจกลางกรุงโตเกียว เพื่อคืนเหรียญสันติภาพจอมปลอมให้ญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของกลับไป
1
การโจมตีฉาบฉวยดูลิตเติลเริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ.1942 เครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งหมดมุ่งหน้าตรงไปยังแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่น บนเกาะฮอนชูโดยไม่มีฝูงบินขับไล่ทำหน้าที่คุ้มกัน เพื่อทิ้งระเบิดจุดยุทธศาสตร์สำคัญของญี่ปุ่นในเมืองสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เช่น โตเกียว โยโกฮามา นาโกยา โกเบ และโอซากา ก่อนที่ฝูงบินทิ้งระเบิดเหล่านี้จะมุ่งตรงไปทางทิศตะวันตกเพื่อลงจอดที่ประเทศจีน
WIKIPEDIA PD
ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ทันได้ตั้งตัวกับการโจมตีทางอากาศแบบเฉียบพลันในครั้งนี้ พวกเขาคาดไม่ถึงว่าฝูงบินทิ้งระเบิดทางอากาศของสหรัฐฯ จะมาไกลถึงแผ่นดินแม่ของญี่ปุ่น ฝูงบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ บินฝ่าดงกระสุนปืนต่อต้านอากาศยาน ก่อนทิ้งระเบิดใส่เขตโรงงานและเขตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
การโจมตีทางอากาศครั้งนี้ได้ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นมีทหารและพลเรือนเสียชีวิตราว 50 คน และได้รับบาดเจ็บอีกราว 400 คน ในขณะที่ฝ่ายสหรัฐฯ สูญเสียเครื่องบินไปหนึ่งลำ อีก 14 ลำมุ่งหน้าไปถึงประเทศจีนแต่เครื่องบินตกระหว่างทาง ส่วนอีกลำไปลงจอดที่สหภาพโซเวียต มีนักบินถูกยิงตาย 3 นาย อีก 8 คนถูกจับกุมเป็นเชลย บางส่วนถูกประหารชีวิตและป่วยตายในคุก
อย่างไรก็ตาม การโจมตีฉาบฉวยของสหรัฐฯ ในครั้งนี้สร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อยให้กับฝ่ายญี่ปุ่น แต่มันก็ส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาไม่น้อย กล่าวคือ ฝ่ายกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความสามารถของผู้นำทางทหารของตนในการปกป้องแผ่นดินบ้านเกิด จนทำให้มีพลเรือนของตนเสียชีวิตในครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นเอง ก็ได้ใช้เหตุการณ์ในครั้งนี้เพื่อโฆษณาชวนเชื่อในการทำสงครามกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะพลเรือเอก อิโซโรคุ ยามาโมโตะ ที่ตัดสินใจโจมตีเกาะมิดเวย์ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ฝ่ายญี่ปุ่นกลายเป็นผู้เพลี้ยงพล้ำในสงคราม
WIKIPEDIA PD
สำหรับนายพลดูลิตเติล เขาคาดว่าการสูญเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดทั้งหมดในภารกิจโจมตีฉาบฉวยครั้งนี้ จะทำให้เขาต้องถูกส่งตัวขึ้นศาลทหารเพื่อรับความผิด แต่กลับกลายเป็นว่าเขาได้รับความดีความชอบด้วยเหรียญกล้าหาญ ‘Medal of Honor’ จากประธานาธิบดีรูสเวลต์ และได้มีการเลื่อนยศให้เขาอีกสองขั้น ส่วนทหารที่ได้รับบาดเจ็บในภารกิจครั้งนี้ ก็ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และได้มีการมอบเหรียญกล้าหาญ ‘Distinguished Flying Cross’ เพื่อสดุดีในความกล้าหาญของพวกเขา
ปัจจุบันเครื่องบินทิ้งระเบิดในภารกิจ Doolittle Raid ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกองทัพอากาศสหรัฐฯ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อบันทึกเรื่องราวความกล้าหาญและเสียสละของนักบินและลูกเรือผู้กล้าที่ยอมทำภารกิจเสี่ยงตาย เพื่อเรียกขวัญกำลังใจให้ชาวสหรัฐฯ และเพื่อตอบโต้ญี่ปุ่นว่าสหรัฐฯ จะไม่ยอมเป็นฝ่ายถูกกระทำเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
10 บันทึก
24
1
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สงครามในประวัติศาสตร์โลก
ประวัติศาสตร์ I
10
24
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย