1 ก.ค. 2020 เวลา 12:16 • ปรัชญา
จิตนิยม (Idealism) Part5
จากปรัชญาจิตนิยม ตั้งแต่Part 1-4 แนวคิดของเพลโต(Plato)นั้น มองว่ามนุษย์มีลักษณะเป็นทวิลักษณะ มีร่างกายที่เลื่อนไหล ผูกติดกับโลกประสาทสัมผัสอย่างแยกไม่ออก ประสาทสัมผัสทั้งหมดของเราอยู่ในร่างกาย จึงทำให้เชื่อถือมันไม่ได้ แต่ว่าเราก็มีวิญญาณอมตะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติทำให้เราเข้าถึงโลกของ"แบบ"(From)ได้
1
มนุษย์ค้นพบรูปแบบต่างๆ ในโลกธรรมชาติ จากความทรงจำที่เลือนลางพร่ามัว จากการตื่นขึ้นของวิญญาณในร่างกายของมนุษย์ เกิดความปรารถณาบางอย่างที่เขาเรียกมันว่า "Eros" ซึ่งหมายถึงความรัก วิญญาณจึงเกิด
1
"ความปรารถนาที่จะกลับไปสู่จุดกำเนิดที่แท้จริงของมัน"
1
ร่างกายและโลกแห่งประสาทสัมผัสที่เคยรู้จักจึงไม่มีความสำคัญ...ไม่มีความ
หมายอีกต่อไป!
1
วิญญาณ(soul)ปรารถนาจะทยานไปสู่โลกของแบบ ด้วยปีกที่ต้องการเป็นอิสระจากร่างกายที่คุมขังมันไว้...
1
วันหนึ่งท่านผู้อ่าน เดินไปอยู่ริมแม่น้ำสายหนึ่ง นึกขึ้นมาได้ว่า เอ๋ นี่ไม่ใช่แม่น้ำสายที่เราคุ้นเคย รึว่าเราอาจกำลังฝันอยู่ก็ได้...
อ่ะไม่เป็นไร! สมมุติว่านี่คือความฝันก็ได้ แม่น้ำนี้ไหลเชี่ยว ตัวแม่น้ำก็คดเคี้ยว..วกวน!
ริมตลิ่งก็เต็มไปด้วยโขดหิน สายน้ำที่ไหลอย่างแรงนี้เมื่อปะทะกับโขดหินก็เกิดเสียงดังครึกโครม สาดกระเซ็นอย่างรุนแรง บริเวณแถวนัันก็เปลี่ยวมาก เรียกได้ว่าไม่มีผู้คนเลย
แล้วเราก็เริ่มรู้สึกตัวว่า "สงสัยเรากำลังหลงทาง"แล้วเว้ย!...
เครดิตภาพ: https://www.bloggang.com
นึกยังไงก็นึกไม่ออกว่า กูร..มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไรวะ!?
นึกออกเพียงอย่างเดียวคือ ที่นี่ไม่ใช่บ้านเรานี่หว่า แล้วเราต้องการจะออกจากที่นี่
กูจะกลับบ้าน!...
และแล้วก็มีความทรงจำบางอย่างสะกิดเราว่า บ้านของเรานั้นอยู่ปลายแม่น้ำ ห่างจากที่เราอยู่นี้ไปหลายร้อยกิโลเมตร ทีนี้ก็แดดก็แรง ร้อนก็ร้อน จะหาทางกลับบ้านอย่างไรดีล่ะ... เมื่อสอดส่ายสายตา เราก็ไปเจอกับวัตถุบางอย่างที่ลอยมากับสายน้ำ
โอ้ นั่นมัน"เรือ"!...
มันลอยมาอยู่ตรงหน้าของเรา เหมือนกับรู้ว่าเราต้องการมันที่สุด แล้วเราก็กระโดดลงเรือลำน้อยนี้ เพื่อหวังจะให้มันพาเรากลับบ้านที่แท้จริงของเรานั่นเอง
ปรัชญาจิตนิยม(Idealism) ของเพลโต ก็เช่นกัน สะท้อนแนวคิดบางอย่างที่สอดคล้องกับ แนวคิดทางศาสนา หากแต่ว่าเมื่อเราขึ้นเรือลำนั้น ซึ่งดูแล้วก็คงจะแข็งแรงพอตัว แล้วเราก็ไหลไปตามสายน้ำ มันไปทางไหน เราก็ไปด้วย
เป็นไปได้ว่าสายน้ำที่เชี่ยวกรากนั้น จะซัดพาเรือของเราไปชนโขดหิน ตรงนั้นตรงนี้บ้าง...
เครดิตภาพ: https://www.springnews.co.th
เฮ้ยอย่างนี้อาจไม่เข้าท่า เรือเราอาจจะแตกหรือจมก่อนถึงบ้านน่ะสิ...
เมื่อเราพยายามค้นหากลไกบังคับ ที่ทำให้เรือสามารถ'ต้าน'หรือ'ทวน'กระแสน้ำ และแรงดันภายนอก ปรากกฎว่า 'ไม่มี' คือนอกจากตัวเรือก็ไม่มีกลไก อุปกรณ์ใดสำหรับให้คนที่อยู่ในเรือใช้ควบคุมเพื่อต้านหรือทวนแรงน้ำเลย...
เครดิตภาพ: https://twitter.com/noveloverstar
สุดท้ายก็ปลงตก ทางเดียวที่จะรอดถึงบ้านก็แล้วแต่บุญนำแต่กรรมพาไป
เราทำอะไรไม่ได้ เพราะเรือรุ่นนี้ติดป้ายว่าเรือ "อนัตตา" ปราศจากกลไกควบคุม กระแสน้ำพัดไหลลอยไปทางไหน เรือก็ลอยไปทางนั้น...
บางทีก็พัดพาผ่านดงวัชพืชน่าเกลียดกลิ่นเหม็น ชนโขดหินอย่างจังก็มี! ซึ่งเราไม่ชอบเลย.. แต่ก็ช่วยไม่ได้ เพราะเรือลำนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เราควบคุมให้มันแล่นตามที่เราต้องการ.
เมื่อมองไปรอบๆสายน้ำน้ันเรือลำอื่นๆ ก็มีนะ ดูแล้วก็คล้ายรุ่นเดียวกับเราเลย เพราะคนในเรือที่เห็นก็คุมเรือไม่ได้เหมือนกัน เพียงแต่ยี่ห้อหรือป้ายเรือ เขียนไม่เหมือนเรือของเรา บ้างก็เขียนว่า "พระผู้เป็นเจ้า" เป็นต้น
แต่มีหลายลำที่คนในเรือ บังคับควบคุมเรือได้อย่างชำนาญ แต่ชอบโลดโผนเอาเรือไปชนโขดหินริมฝั่งโดยไม่จำเป็น แทนที่จะนั่งคุมพวงมาลัย หรือพายไปดีๆ แปะป้ายหลายชื่อเหมือนกัน เช่น "เชน" "ไชนะ" (Jainism)
นักบวชเชน /เครดิตภาพ: https://ngthai.com
เพราะแนวคิดศาสนาเชนนั้นเชื่อว่า ร่างกายของมนุษย์นั้นเปรียบเสมือน สถานที่กักขังวิญญาณ(soul) การที่จะทำให้ "จิต" มีสมรรถณะ และศักยภาพ ความคุมได้ต้องไม่ตามใจร่างกาย วัตรปฏิบัติจึงออกมาแนวๆทรมานตัวเองอย่างที่เราเห็น เพราะเชื่อว่า "กายไม่ใช่ตัวเรา ชีวะหรือัตตาต่างหากที่เป็นตัวเรา"
2
ดังนั้นการทรมานกายของ 'นักบวชเชน' จึงแตกต่างจากการทรมานกายของ'นักบวชฮินดู'ที่นับถือพระศิวะ ที่ทรมานตนเพราะเข้าใจว่าการทรมานตนเป็นสิ่งที่ทำให้พระเจ้าเห็นว่าตนอุทิศชีวิตด้วยความศรัทธาแท้ๆ
เครดิตภาพ: https://www.slideshare.net
ส่วนเรืออนัตตานั้น ในที่นี้เป็นความหมายที่ปรากฎใน"อนัตตลักขณสูตร"ที่พระพุทธเจ้าเทศนาให้กับคนห้าคนฟัง ลงรายละเอียดหลังจาก โหมโรงด้วย ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรไปแล้ว... โดยในที่นี้ผมไม่ประสงค์จะอธิยายความหมายระว่างคำว่า "ไม่ใช่"อัตตา กับคำว่า "ไม่มี"อัตตา อย่างที่บ้านเราเอาเถียงกันเป็นวรรคเป็นเวรเอาเป็นเอาตาย อย่างบ้าคลั่ง... แต่สรุปจาก "อนัตตลักขณสูตร" ของพุทธเถรวาท นั้นก็คือการพูดถึงสิ่งที่เราควบคุมมันไม่ได้เช่น ขันธ์5 เป็นต้นนั่นเอง...
1
แน่นอนสำหรับเรือรุ่นที่มี กลไกควบคุม นั้นมีสามปุ่มใหญ่คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คันโยก และฟังก์ชั่นย่อยๆ ก็เป็นมรรคมีองค์๘ และข้อปฏิบัติต่างๆที่มีบอกในคู่มือ น่าติดมากับเรือเหมือนถอยรถใหม่นั่นแหละ.
1
เครดิตภาพ: https://www.youtube.com
เพลโต บอกว่าบ้านแท้จริงของเรานั้น ก็คือ"โลกของแบบ"
1
ศัพท์เทคนิคทางศาสนา อาจจะเรียก นิพาน นิรวาณ ปรมัตอาตมัน พระเจ้า สัจจะภาวะ อันติมะสัจจะ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งธรรม จะอะไรก็แล้วแต่...
จากนิทานเรื่องมนุษย์ถ้ำ (Partที่4) โดยที่นิทานเรื่องถ้ำนั้น อยู่ในบทสนทนาเรื่อง Republic(อุดมรัฐ)ของเพลโตเองซึ่งในบทสนทนา เพลโตเขาก็เสนอภาพ "รัฐในอุดมคติ" เป็นประเทศในจินตนาการ เรียกได้ว่า ยูโทเปีย ในความคิดของเพลโตนั้นเชื่อว่า "รัฐควรปกครองด้วยนักปรัชญา" ส่วนว่าจะเป็นอย่างไรนั้น เอาไว้คราวต่อไปละกันครับ
1
เครดิตภาพ: https://www.thegreatcourses.co.uk
เลือกเรือให้ดี เอาที่ชอบ เอาที่สบายใจ แล่นเรือกลับไปให้ถึงบ้านกันนะครับ
1
แหล่งอ้างอิง
1. พระไตรปิฎกภาษาบาลี-ไทย. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2. ศ.ดร.วิทย์ วิศทเวทย์, ปรัชญาทั่วไป: มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต
3. ศ.ดร.สมัคร บุราวาส, ประวัติและปวงปรัชญาเมธี.
4. ศ.ดร.จำนง ทองประเสริฐ, ปรัชญาประยุกต์: ชุดตะวันตก
5. ศ.ดร.สมภาร พรมทา, เพื่อความเข้าใจเรื่อง อัตตา-อนัตตา, แก่นเดิมพุทธปรัชญา.
6. โยสไตน์ กอร์เดอร์, โลกของโซฟี.
7. วศิน อินทสระ, พุทธปรัชญาเถรวาท.
8. ศปท, คู่มื่อปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฎฐาน๕สาย.
-วิรุฬหก-

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา