1 ก.ค. 2020 เวลา 15:18 • ประวัติศาสตร์
การถือกำเนิดของประเทศเบลเยี่ยม
หากเราจะคิดถึงประเทศเบลเยี่ยมเราคงนึกถึงช็อกโกแลตเบลเยี่ยม
และสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคอันสวยงาม
แต่วันนี้ผมขอมาเล่าถึงว่ากว่าจะมาเป็นประเทศเบลเยี่ยมนั้น
ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ผมเชื่อว่า ทุกท่านอ่านจบและจะรู้จัก
เบลเยี่ยมมากขึ้นอย่างแน่นอน
ในสมัยศตวรรษที่ 16 ดินแดนเนเธอร์แลนด์ (NETHERLANDS)
อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิสเปน ต่อมาดินแดน
ทางตอนเหนือได้ปฏิวัติแยกตัวเป็นเอกราชในฐานะของ
สาธารณรัฐดัชท์หรือเนเธอร์แลนด์ (UNITED PROVINCES)
ส่วนดินแดนทางตอนใต้ซึ่งรู้จักกันในนามของ
SPANISH NETHERLANDS หรือเบลเยี่ยม
ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน
การก่อกบฎของพวก SPANISH NETHERLANDS ต่อจักรวรรดิสเปน
จนคริสต์ศตวรรษที่ 18 เบลเยี่ยมจึงถูกยกให้ไปอยู่ภายใต้
การปกครองของออสเตรียและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น
AUSTRIAN NETHERLANDS
1
ธง AUSTRIAN NETHERLANDS
ในสมัยที่นโปเลียนเรืองอํานาจทั้งฮอลแลนต์และเบลเยี่ยม
ต่างก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส
ต่อมาในสมัยการประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ 1815.ได้รวมเบลเยี่ยม
เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง
ของพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ การผนวกดินแดนดังกล่าว
มีจุดประสงค์ที่ต้องการให้ฮอลแลนด์มีความมั่นคงและเข้มแข็ง
เพื่อคอยป้องกันการขยายตัวของฝรั่งเศสทางตอนเหนือ
การประชุมที่กรุงเวียนนา ค.ศ 1815
การรวมเบลเยี่ยมเข้ากับฮอลแลนด์โดยการประชุมที่กรุงเวียนนา
เป็นการกระทําที่ไม่ได้คํานึงถึงลักษณะความแตกต่างกัน
ระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้เพราะชาวเบลเยี่ยมเป็น พวกเฟลมิช
(FLEMISH) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก มีภาษาและ
วัฒนธรรมคล้ายคลึงกับฝรั่งเศส มีระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับ
การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม มีประชากรประมาณ
3 ล้าน 5 แสนคน ส่วนชาวดัชท์เป็นพวกทิวโทนิค (TEUTONIC)
ดังนั้นจึงมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นแบบเยอรมัน นับถือศาสนาคริสต์
นิกายคาลวินนิสม์ (CALVINISM) ซึ่งเป็นโปรเตสแตนท์
มีระบบเศรษฐกิจขึ้นกับการเกษตรกรรมและการค้า
โดยเฉพาะการค้าทางทะเล มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน
1
สัญลักษณ์ของพวกทิวโทนิค (TEUTONIC) และ พวกเฟลมิช (FLEMISH)
ความแตกต่างทางด้าน ภาษา วัฒนธรรม ศาสนาและระบบเศรษฐกิจ
จึงทําให้ประชากรทั้งสองกลุ่มเข้ากันได้ไม่ดีนัก พระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1
ทรงปฏิบัติต่อเบลเยี่ยมเสมือนกับเป็นประเทศราชของฮอลแลนด์
เช่น ทรงประกาศให้เบลเยี่ยมใช้ภาษาดัชท์เป็นภาษาราชการ
ทรงปฏิเสธที่จะให้ชาวเบลเยี่ยมเพิ่มจํานวนผู้แทนในรัฐสภา
ทั้งๆ ที่ชาวเบลเยี่ยมมีจํานวนประชากรมากกว่าชาวดัชท์
การต่อสู้ของชาวเบลเยี่ยมในช่วงที่เนเธอรฺ์แลนด์ปกครองอยู่
นอกจากนี้ชาวเบลเยี่ยมยังต้องกลายมาเป็นผู้แบกรับภาษี
ที่ไม่เป็นธรรมมากกว่าชาวดัชท์ที่ต้องเสียในเวลาเดียวกัน
จึงทําให้ชาวเบลเยี่ยมเกิดความรู้สึกไม่พอใจที่ต้องตกอยู่ภายใต้
การปกครองของพวกดัชท์
อนุสรณ์สถานรำลึกการประกาศเอกราชที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม
เมื่อเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1830
ได้ส่งผลกระทบต่อการเกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นภายใน
กลุ่มชาวเบลเยี่ยม ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1830
จึงเกิดการปฏิวัติขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ซึ่งเป็นเมืองหลวง
เพื่อขับไล่อํานาจของพวกดัชท์
การปฏิวัติที่กรุงบรัสเซลส์เหตุสู่การเป็นเอกราชของเบลเยี่ยม
ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1830 เบลเยี่ยมจึงประกาศเอกราช
หลังจากนั้น จึงจัดให้มีการประชุมสภาแห่งชาติขึ้นเพื่อ
ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งได้ประกาศใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1831
มีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเสรีนิยมเพราะเปิดโอกาสให้มี
การกระจายอำนาจปกครองให้ท้องถิ่นได้มีโอกาสปกครอง
ตนเองและมีการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
1
คณะรัฐบาลชุดแรกหลังเบลเยี่ยมได้รับเอกราช
การปฏิวัติของชาวเบลเยี่ยมถือเป็นการละเมิดสนธิสัญญา
เวียนนาที่ทําไว้ในปี ค.ศ.1815 ซึ่งอาจจะเป็นการเปิดโอกาส
ให้ประเทศมหาอํานาจเข้าแทรกแซง แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดี
ของชาวเบลเยี่ยม เพราะในเวลาเดียวกันก็ได้เกิดวิกฤตการณ์
ทางการเมืองขึ้นในโปแลนด์ จึงทําให้รัสเซีย ออสเตรียและปรัสเซีย
ต่างหันไปสนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโปแลนด์
พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์
ในขณะที่ ลอร์ด ปาล์มเมอร์สตัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ของอังกฤษ มีนโยบายเอนเอียงเข้าหาฝ่ายเบลเยี่ยมและต้องการ
ที่จะยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องการให้ประเทศมหาอํานาจ
เข้าแทรกแซง อังกฤษจึงจัดการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาเบลเยี่ยมขึ้น
ที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1830 โดยมีรัสเซีย ออสเตรีย
ปรัสเซียและฝรั่งเศส เข้าร่วมประชุม ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับการที่
จะให้เบลเยี่ยมได้รับเอกราชจึงประกาศรับรองเอกราชและความเป็นกลาง
ของเบลเยี่ยมในสนธิสัญญาลอนดอนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1831
ภาพล้อเลียนสนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ.1831
พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ทรงปฏิเสธไม่ยอมรับการประกาศเอกราช
และการแยกตัวของเบลเยี่ยม พระองค์ทรงพยายามใช้กําลัง
เข้าบังคับเพื่อยึดเบลเยี่ยมกลับคืนมา ทําให้อังกฤษกับฝรั่งเศส
ต้องเข้าแทรกแซงโดยเฉพาะลอร์ด ปาล์มเมอร์สตัน
ลอร์ด ปาล์มเมอร์สตัน
โดยลอร์ด ปาล์มเมอร์สตัน ประกาศที่จะใช้มาตรการรุนแรง
ต่อเนเธอร์แลนด์ จนในที่สุดเนเธอร์แลนด์ต้องยอมทําตามข้อเรียกร้อง
ของอังกฤษ อังกฤษจึงจัดให้มีการลงนามในสัตยาบันในสัญญาที่ได้
ทําไว้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1831 เพื่อรับรองความเป็นเอกราช
และความเป็นกลางของเบลเยี่ยมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1832
โดยประเทศมหาอํานาจทั้งห้าคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ออสเตรีย
และปรัสเซีย ต่างก็ร่วมให้สัตยาบันยอมรับความเป็นเอกราช
และความเป็นกลางของเบลเยียม ส่วนเนเธอร์แลนด์ยอมรับ
ความเป็นเอกราชและความเป็นกลางของเบลเยี่ยมตามสนธิสัญญา
ลอนดอนในปี ค.ศ. 1831
ดุ๊ก แห่ง เนอมูส์
ในเวลาต่อมาสภาแห่งชาติเบลเยี่ยมได้เลือก ดุ๊ก แห่ง เนอมูส์
พระราชโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิป ขึ้นเป็นกษัตริย์
เบลเยี่ยม จึงทําให้อังกฤษไม่พอใจที่จะเห็นเบลเยี่ยม
ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส
พระเจ้าลีโอโปลที่ 1 กษัตริย์องค์แรกของประเทศเบลเยี่ยม
ในที่สุดสภาแห่งชาติจึงเลือกเจ้าชายลีโอโปล แห่ง แซก-โคเบิร์ก
(LEOPOLD OF SAXE-COBURG) เจ้าชายเชื้อสายเยอรมัน
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษให้มาดํารงตําแหน่งกษัตริย์
ในฐานะของพระเจ้าลีโอโปลที่ 1 นับเป็นกษัตริย์องค์แรก
ของประเทศเบลเยี่ยมและเบลเยี่ยมมีเอกราชที่สมบูรณ์
นับตั้งแต่นั้นมา
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา