1 ก.ค. 2020 เวลา 15:46 • ยานยนต์
ระบบหัวฉีด Fuel injection (Electronic control fuel injection) ตอนที่ 1
ในระบบของรถมอเตอร์ไซด์ ถ้าเเบ่งตามเทคโนโลยีในการจ่ายน้ำมัน จะเเบ่งได้ 2 เเบบ คือ 1. ระบบจ่ายน้ำมันเเบบ คาร์บูเรเตอร์ (Carburator) เเละ
2. ระบบจ่ายน้ำมันเเบบ หัวฉีด (Fuel injection)
ถ้าระบบที่เราเคยคุ้นเคยกันมากที่สุด จะเป็นระบบ คาร์บูเรเตอร์ เพราะว่าเป็นระบบที่เกิดขึ้นมาก่อนระบบหัวฉีด ถ้ามองไปยังรถเก่าๆ เราอาจจะหาได้ไม่ยาก ส่วนระบบหัวฉีด จะเจอได้ในรถใหม่ๆ ทั้งรถเล็ก เเละรถบิ๊กไบท์
-คาร์บูเรเตอร์ (Carburator) จะใช้การดูดน้ำมันเกิดจากความกดอากาศ Vaccum เเล้วจะฉีดน้ำมันไปยัง ห้องเครื่อง ไม่สามารถ control ปริมาณที่เข้ามาได้
-ระบบหัวฉีด (Fuel injection) การจ่ายน้ำมัน จะเกิดจากการที่ ECU สั่งการหัวฉีดให้ ฉีดน้ำมัน สามารถ control ปริมาณน้ำมันได้ เเต่ไม่สามารถ control อากาศที่เข้ามารถได้ ***เพราะอากาศมีหลายปัจจัยมากจนเกินไป เช่น ความเร็วรถ, สภาพอากาศในเเต่ละวัน เป็นต้น
-ข้อดีของระบบหัวฉีด ดังนี้
1. สามารถควบคุมการฉีดน้ำมันได้ ทุกสภาพอากาศ
2. สามารถประหยัดน้ำมัน+ค่าไอเสีย+feeling ในการขับขี่+ รวมไปถึงฟังก์ชันต่างๆ 3. สามารถควบคุม A/F เพื่อให้เกิด ส่วนประสมอัตราส่วนของ อากาศ (Air) เเละน้ำมัน (Fuel) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเกิดพลังงานขับเคลื่อน
การทำงานของระบบคาร์บูเรเตอร์ (Carburator)
จะเห็นว่าขอเเค่มีอากาศเข้า คาร์บูเรเตอร์จะดูดน้ำมันมาจาก อ่างกักเก็บน้ำมัน ไม่ต้องมีการสั่งการจากเซนเซอร์ เหมือนระบบหัวฉีด ข้อเสียคือ ไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำมัน ทำให้เกิดการผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เเละไม่ประหยัดน้ำมัน
การทำงานของระบบหัวฉีด (Fuel injection)
จะเห็นว่าระบบหัวฉีด มีตัวเซนเซอร์คอยตรวจจับ วัดค่าต่างๆ เพื่อส่งไปยัง ECU module เพื่อคำนวณการฉีดน้ำมันไปยังหัวฉีด สามารถลดค่าไอเสีย เพิ่มกำลังงานให้รถดีขึ้นได้ เเต่ต้องเเลกมาด้วยซึ่งความซ้ำซ้อนของการทำงาน ค่าดูเเลรักษา ค่าอะไหล่ก็เพิ่มขึ้นตาม
ในตอนต่อไป เราจะไปดูว่า ตัวเซนเซอร์ต่างๆที่มากับระบบหัวฉีด เเต่ละอย่างมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง เเละนอกจาก ควบคุมน้ำมันเเล้ว ระบบนี้ยังสามารถทำอะไรได้อีก
LIGA911 เวปฟุตบอลออนไลนที่น่าเชื่อถือที่สุดขณะนี้
มีระบบสร้างรายได้ด้วยลิ้งรับทรัพย์ ค่าคอมสูงสุด 1%
คลิกเลยยย
โฆษณา