Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
3 ก.ค. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
อดีตที่โหดร้าย! เหตุการณ์ 'โฮโลโดมอร์' เมื่อความอดอยากกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่คร่าชีวิตชาวยูเครนนับล้านคน
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1932-1933 ในยุคที่ประเทศยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีผู้นำประเทศคือ ‘โจเซฟ สตาลิน’ จอมเผด็จการผู้เลื่องชื่อ ณ ช่วงเวลานั้นสตาลินมีนโยบายเศรษฐกิจแบบนารวม กล่าวคือ ผลผลิตทางด้านการเกษตรทั้งหมดที่ประชาชนชาวยูเครนผลิตได้ต้องส่งไปที่ส่วนกลางของสหภาพโซเวียตนั่นก็คือประเทศรัสเซีย ส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงและขาดแคลนอาหารอย่างหนักไปทั่วประเทศ มีผู้คนล้มตายเนื่องจากอดอยากหิวโหยไปหลายล้านคนเลยทีเดียว เหตุการณ์ในครั้งนั้นรู้จักกันดีในชื่อ ’โฮโลโดมอร์’
WIKIPEDIA CC ALEXANDER WIENERBERGER
’โฮโลโดมอร์’ (Holodomor) เป็นภาษายูเครน หมายถึง การเข่นฆ่าด้วยความอดอยากหิวโหย หรือ การปล่อยให้อดอยากหิวโหยจนถึงแก่ความตาย เหตุผลที่ โจเซฟ สตาลิน ใช้มาตรการโฮโลโดมอร์กับยูเครนเป็นเพราะว่า ยูเครนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารมากมาย ประกอบกับในระหว่างปี ค.ศ. 1917-1921 ยูเครนเคยได้รับเอกราชจากเหตุการณ์ปฏิวัติรัสเซีย แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ ที่ยูเครนได้รับอิสรภาพ แต่นั่นกลับทำให้ชาวยูเครนส่วนใหญ่เริมต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์และมีความรักชาติอย่างแรงกล้า ชาวยูเครนไม่ยอมรับนโยบายเผด็จการของรัฐบาลสตาลินและต้องการมีอิสระทางความคิด สตาลินจึงมองว่า ยูเครนเป็นภัยคุกคามต่อสหภาพโซเวียต ต้องกำจัดให้สิ้นซากก่อนจะเหิมเกริมลุกฮือขึ้นต่อต้านโซเวียต และนั่นอาจจะทำให้โซเวียตต้องสั่นคลอน สตาลินจึงคิดนโยบายเศรษฐกิจแบบนารวมขึ้นมานั่นเอง
1
โจเซฟ สตาลิน สั่งการให้เจ้าหน้าที่ยึดทรัพย์สินส่วนตัวของชาวนายูเครนทุกคนให้กลับมาเป็นของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินทำกิน ข้าวของเครื่องใช้ หรือแม้กระทั่งเมล็ดพันธุ์พืชและทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถกินได้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องถูกจับกุมและรับโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปีและโทษหนักคือประหารชีวิต หรือไม่ก็ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ที่ไซบีเรียที่กันดารและหนาวเหน็บ นอกจากนั้นยังมีการขึ้นบัญชีดำหมู่บ้าน มีการปิดล้อมทางเศรษฐกิจหรือบอยคอต (Boycott) ยกเลิกการส่งข้าวของเครื่องใช้จำเป็นต่างๆ ให้กับชาวนายูเครน และห้ามให้ชาวนายูเครนทุกคนออกนอกพื้นที่โดยเด็ดขาด
WIKIPEDIA PD
จากมาตรการข้างต้น ส่งผลให้ชาวนามีชีวิตที่ยากลำบากขึ้นเนื่องจากไม่สามารถบริโภคผลผลิตของตัวเองและไม่มีเงินซื้อสิ่งของยังชีพอื่นๆ ได้ ตอนแรกพวกชาวนาเริ่มกินเนื้อสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น สุนัข แมว และเริ่มออกจับสัตว์ชนิดอื่นๆ มากิน เช่น กบ หนู แมลงตัวเล็ก เป็นต้น พอสัตว์เริ่มหายากพวกเขาก็หันมากินวัชพืชและหญ้าต่างๆ ต่อมาก็เริ่มล้มตายลงเรื่อยๆ เนื่องจากความอดอยากและขาดสารอาหาร จากนั้นก็เข่นฆ่ากันเองเพื่อแย่งชิงอาหาร ว่ากันว่า มีชาวนาจำนวนไม่น้อยที่ต้องกินเนื้อมนุษย์ด้วยกันเพื่อความอยู่รอด
เหตุการณ์โฮโลโดมอร์ถือเป็น ‘การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยทุพภิกขภัย’ หรือ ‘มหาทุพภิกขภัย’ ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยูเครน และเป็นหนึ่งในเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดของมวลมนุษยชาติ เพราะมีผู้เสียชีวิตจากความอดอยากในครั้งนั้นมากถึง 12 ล้านคนเลยทีเดียว ทว่ารัฐบาลเผด็จการสตาลินพยายามปิดบังความจริงมานานหลายสิบปี แม้จะมีนักข่าวต่างประเทศเข้าไปทำข่าวแต่กลับถูกทางการพยายามบิดเบือนความจริง แล้วให้นำเสนอในสิ่งที่รัฐบาลต้องการเท่านั้น หากไม่ทำตามจะมีอันตรายถึงชีวิต
WIKIPEDIA PD
อย่างไรก็ตาม เมื่อปี ค.ศ. 1984 รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมาตรการ 'โฮโลโดมอร์' และได้ข้อสรุปว่า โจเซฟ สตาลิน และพรรคพวกได้กระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยูเครนในช่วงปี ค.ศ.1932-1933 และรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้การรับรองการรายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้เมื่อปี ค.ศ.1988 อีกด้วย
นอกจากนั้นเมื่อปี ค.ศ. 2007 องค์การยูเนสโกได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกช่วยนำเรื่องราวของเหตุการณ์โฮโลโดมอร์บรรจุเข้าในแบบเรียนเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความโหดร้ายของเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่นี้ด้วยและในวันเสาร์ที่สี่ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ชาวยูเครนจากทั่วทุกมุมโลกจะพร้อมใจกันจุดเทียนแล้วยืนสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์โฮโลโดมอร์ เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่ชาวยูเครนยากจะลืมเลือน...
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA CC ALEXANDER WIENERBERGER
10 บันทึก
30
1
19
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ I
10
30
1
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย