Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2020 เวลา 02:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รากฐานของตึก คือ "อิฐ"
รากฐานของชีวิต...ในอนาคต คือ "แบตเตอรี่”
ตอนที่ 6 : ไม้ตียุง กับ แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ไม้ตียุง : ขนาดไม่กี่โวลต์ทำไมถึง ช๊อตยุง "ตายได้"
ไม้ตียุง อุปกรณ์สามัญประจำบ้าน ภาพจาก google
สนนราคาของไม้ตียุง ในหลัก ร้อยกว่า บาท
น้ำหนัก ราว 300 กรัม
จึงทำให้ทุกๆบ้านมี "ไม้ตียุง" ผมเชื่ออย่างนั้นน่ะ
ลำดับแรกขอเริ่มต้นประวัติของ "ไม้ตียุง" ก่อนเลยนะครับ
"ไม้ตียุง" ถูกจดสิทธิบัตร
โดยนักประดิษฐ์ชาวไต้หวัน Tsao-i Shih ในปี 1996 ครับ
ประดิษฐ์ในลักษณะหลักการเดียวกันกับ "เครื่องช๊อตไฟฟ้า"
และเป็นที่นิยมกันทั่วโลก...จนถึงทุกวันนี้
โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อน
องค์ประกอบไม้ตียุง Cr : tworks.telangana.gov.in
ยุงถูกช๊อต จากอะไรอ่ะ?
1. จากตะแกรง 2 ตะแกรงของไม้ตียุงครับ (ด้านนอก - ด้านใน)
2. ตะแกรง 2 ตะแกรงนี้เป็น "ขั้วบวก" และ "ขั้วลบ" ครับ
ตะแกรงตรงกลางเป็นขั้ว(+) ตะแกรงด้านนอกเป็นขั้ว(-)
3. แบตเตอรี่ เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับ "ขั้วบวก" และ "ขั้วลบ"
แต่แรงดันเพียง 4 โวลต์ของแบตเตอรี่.."ช็อตยุง" ไม่ตายหรอกครับ
4. หัวใจคือ..แผงวงจรในไม้ตียุง คือ ตัวเพิ่มแรงดันครับ ขึ้นไปครับ
(แรงดัน 500 -1000 โวลต์ ไฟกระแสตรง)
5. เมื่อปีกยุง ขายุง แต่สัมผัสตะแกรงทั้งสอง...ทุกอย่างครบวงจร
(กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวยุง...ยุงก็ตายครับ)
มาทั้ง “เสียง แสง กลิ่น”
แบตเตอรี่ ไม้ตียุง แบบเปลี่ยนได้ หาซื้อได้ทั่วไป
อายุการใช้งานไม้ตียุง?
หากให้ทาย..ทุกคนคงทายว่า "แบตเสื่อม" ใช่มั้ยครับ
คำตอบ : ส่วนใหญ่ใช่ครับ คุณภาพของแบตเตอรี่ครับ (ตามราคา)
ทางออกมี 2 ทางครับ สำหรับ "ไม้ตียุง" ที่แบตเสื่อม..คือ
"ซ่อม" กับ "ซื้อใหม่" (ราคาพอๆกันเลยครับ)
บางท่านเลือกรุ่นที่เปลี่ยนแบตได้..แบบเปลี่ยนถอด
หรือบางท่านอาจมีทักษะด้านช่าง..อาจ DIY การเปลี่ยนแบตเอง
อันนี้...น่าสนนะครับ
แต่ต้องเก็บรายละเอียดงานให้เรียบร้อยครับ : เพื่อความปลอดภัย
ปัจจุบัน "ไม้ตียุง"เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก..นะครับ
มีประกาศฉบับที่ 38 (พ.ศ.2559) จากคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก
เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค..
โดยต้องมีรายละเอียดในฉลากดังนี้ครับ...
1) ข้อแนะนำในการใช้งาน อย่างน้อยต้องระบุว่า..
"ควรทำความสะอาดด้วยแปรงแห้งและห้ามล้างด้วยน้ำ
2) คำเตือน อย่างน้อยต้องระบุว่า...
"ต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก”
“ ขณะชาร์จแบตเตอรี่ ต้องวางห่างจากสิ่งที่ติดไฟได้ง่าย
และห้ามใช้ใกล้วัตถุไวไฟ"
ข้อความข้างต้น..ต้องมีขนาด "ไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิเมตร" ครับ😉
หากไม่จัดทำฉลากผู้ขายมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ส่วนผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ😥
🦟 อย่างไรก้อตาม..การตียุงเป็นปลายเหตุ..นะครับ
การกำจัดต้นตอของยุง...เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเช่นกัน🙂
วันหยุดนี้ ผมกับเด็กๆ มีนัดกันเดินสำรวจรอบบ้าน
เพื่อ patrol (ใช้คำนี้เลย^^)
ดูว่ามีอะไรที่น้ำขัง เป็นแหล่งเพาะยุงหรือไม่
-
-
-
วันหยุดยาวนี้..
ขอเชิญชวนทุกๆท่าน
สำรวจรอบๆบ้าน ตรวจดูลูกน้ำ ลูกยุงกันครับ
- 🦟
- 🦟🦟
- 🦟🦟🦟
ติดตาม series เรื่อง “แบตเตอรี่” กันต่อไปเรื่อยๆ นะครับ😉
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
เพราะเราจะ"ไม่เรียนรู้..โดยลำพัง" Never Learn Alone
อ้างอิง
1.
https://tworks.telangana.gov.in/blog/electric-mosquito-racket-teardown
2.
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Fly-killing_device
https://en.wikipedia.org/wiki/Fly-killing_device
3 บันทึก
10
3
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
battery รอเพียงเวลาที่จะ “เปลี่ยนแปลง” โลก
3
10
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย