3 ก.ค. 2020 เวลา 02:57 • ธุรกิจ
ทำไมหลายคนถึงมองว่าเวียดนามจะแซงไทย
ญี่ปุ่นส่งสัญญาณเตือนไทยว่าเวียดนามเป็นคู่แข่งสำคัญมากขึ้น
เวียดนามเด่นขึ้นมาในช่วง 10 ปี เศษที่ผ่านมา หลังจากเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อปี 2550 พ่วงกับ GDP ที่ขยายตัวเกือบ 10% ต่อเนื่อง
2
ในช่วงเวลานั้นหลายคนมองว่ามีโอกาสสูงที่เวียดนามจะแซงไทย โดยมีบริษัทไทยขนาดใหญ่เข้าไปลงทุนในเวียดนามหลายรายทั้งห่อนและหลังที่เข้าเป็นสมาชิก WTO โดยเข้าไปลงทุนภาคการผลิต เช่น SCG CP เข้าไปลงทุนนิคมอุตสาหกรรม เช่น อมตะ WHA เข้าไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีก เช่น CP เซ็นทรัล
เปรียบเทียบ FTA FDI และการส่งออกของไทยกับเวียดนาม ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หลังจากเข้าเป็นสมาชิก WTO ระยะหนึ่ง เวียดนามเจอปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง และปัญหาเศรษฐกิจเป็นข้ออ้างสำคัญที่ทำให้ปี 2557 เวียดนามขอยกเลิกการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 18 ที่จัดปี 2561 และอินโดนีเซียรับเป็นเจ้าภาพแทน
1
ความน่าสนใจของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียนขณะนี้ ไทยและเวียดนาม เด่นขึ้นมา โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19
ไทยและเวียดนาม เป็น 2 ประเทศในอาเซียนที่ควบคุมการระบาดค่อนข้างดี ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนมีมากกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซีย
ปกติการลงทุนของบริษัทข้ามชาติจะมอง 3 ปัจจัย คือ 1.สิทธิประโยชน์การลงทุน เช่น การยกเว้นภาษี 2.โครงสร้างพื้นฐาน เช่า ท่าเรือ ระบบราง 3.ความพร้อมของแรงงาน
แต่เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้บริษัทข้ามชาติมองปัจจัยสาธารณสุขเพิ่มขึ้นมา ซึ่งไทยมีการควบคุมการระบาดและระบบสาธารณสุขรองรับการรักษาค่อนข้างดี เป็นมิตรกับชาวต่างชาติ
การย้ายฐานการผลิตจากจีนเพราะสงครามการค้าและโควิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมาก จะย้ายกลับไปประเทศแม่ เช่น ญี่ปุ่น 2.กลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีรองลงมา ส่วนใหญ่จะมองการลงทุนในอาเซียน
นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) บอกว่า ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ เวียดนาม เนื่องจากมีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า ซึ่งเป็นแรงดึงดูดสำคัญที่ทำให้ดึงดูดซัพพลายเชนเข้าไปตั้งโรงงานในเวียดนามเพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตจะทำให้เกิดการพัฒนาซัพพลายเชนในเวียดนามเพิ่มขึ้นมาก
“รัฐบาลไทยต้องสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุน ซึ่งจากการพูดคุยกับรัฐบาลไทยก็ได้เร่งดำเนินการปรับปรุบในสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว หากไทยเพิ่มเติมในสิ่งที่กล่าวมานี้ได้ ก็จะทำให้เสริมจุดแข็งเดิมด้านซัพพลายเชนของไทย ให้มีความโดดเด่นในการเป็นฐานการลงทุนมากขึ้น”
1
หากมองความเห็นของประธานเจโทร จะมองต่างจากฝ่ายไทยที่เห็นว่า FDI ที่ไปเวียดนามเป็นการลงทุนที่ต้องการใช้แรงงานราคาถูก และปัจจุบันไทยมีความได้เปรียบที่มีอุตสาหกรรมสนับสนุนมากกว่า ทำให้พร้อมด้านซัพพลายเชนมากกว่า
แต่คีย์เวิร์ดของประธานเจโทร คือ "การเข้าไปตั้งโรงงานในเวียดนามเพิ่มขึ้น ในอนาคตจะทำให้เกิดการพัฒนาซัพพลายเชนในเวียดนามเพิ่มขึ้นมาก"
นี่คือประเด็นที่น่าคิดต่อว่าไทยควรทำอย่างไร
โฆษณา