3 ก.ค. 2020 เวลา 11:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เตือนภัยการเล่นหุ้นขาลง ตอนที่ 3
อย่าถัวหุ้นขาลง เพราะจะขาดทุนหนักถึงขั้นหมดตัว
ครั้งนี้ผมจะมาเล่าเรื่องการถัวหุ้นขาลงว่าน่ากลัวขนาดไหน
แน่นอนว่านักลงทุนส่วนใหญ่ เวลาที่หุ้นที่เราสนใจอยู่ราคาลงมาหนักๆ เราก็จะอยากได้และเข้าไปซื้อ ด้วยความหวังว่ามันจะกลับไปขึ้นไปและสร้างผลตอบแทนให้เราอย่างดี
คำถามคือ ถ้าเกิดหุ้นที่เราซื้อแล้วลงต่อแล้วเราตัดสินใจซื้อหุ้นเพิ่มเมื่อมันลงต่ออีก พูดง่ายๆคือ ถัวหุ้นเพิ่ม จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหุ้นมันลงต่ออีกไปเรื่อยๆ
ตัวอย่าง เราสนใจหุ้นตัวหนึ่งชื่อ XYZ อาจจะเพราะมันเคยมีพื้นฐานดีมาก่อน หรือเป็นหุ้นที่เคยได้รับความนิยมมาก่อน เราก็รอจนราคามันลงมาและเข้าซื้อไม้ที่ 1
ปรากฏว่าราคาหุ้นมันลงต่อเนื่อง นักลงทุนเห็นว่าราคาลงมาอีก เกิดการขาดทุนและไม่อยากตัดขาดทุนออกไป เขาจึงมี 2 ทางเลือก คือ
1. ถือไว้เฉยๆแล้วรอราคากลับขึ้นมาเหนือทุน
2. ซื้อหุ้นเพิ่มเป็นการถัวเฉลี่ยให้ต้นทุนต่ำกว่าที่ซื้อครั้งแรกแล้วรอราคาเด้งกลับขึ้นไปเหนือทุน
ถ้าเขาเลือกทำตาม ข้อ 2 การถัวหุ้นขาลง แม้เราจะได้ซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำลง แต่ต้นทุนเฉลี่ยของเราก็ไม่ได้ลดลงเร็วเท่ากับราคาหุ้น เหตุเพราะว่ามีหุ้นล็อตแรกๆ ที่ซื้อไว้เมื่อตอนราคาสูงคอยเป็นตัวถ่วงอยู่ ยิ่งซื้อถัวมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะเกิดภาพดังนี้
ภาพที่ 1 (ภาพจาก http://www.monkeyfreetime.com)
เมื่อถึงจุดที่เราเงินหมด ไม่สามารถถัวหุ้นเพิ่มได้แล้ว ราคาหุ้นตอนนั้นก็ยังคงไหลลงมาเรื่อยๆอีก จะเกิดการขาดทุนในจำนวนที่มากขึ้นจนเกินกว่าจะยอมทำใจตัดขาดทุนได้ และส่วนใหญ่มักจะยอมติดดอยกับหุ้นตัวนี้ และรอคอยให้ราคาขึ้นกลับขึ้นมาในวันข้างหน้า
เมื่อเทียบกับการขาดทุนเมื่อทำตามข้อ 1 จะพบว่าขาดทุนน้อยกว่าเพราะว่าจำนวนหุ้นไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนการซื้อตามข้อที่ 2
เพื่อความเข้าใจการขาดทุนมากขึ้น มาดูภาพข้างล่างกันครับ
ภาพที่ 2 (ภาพจาก http://www.monkeyfreetime.com)
แบบจำลองราขาคณิตเพื่อให้เข้าใจง่าย โดยทุกครั้งที่ราคาหุ้นลงมา 50 บาท เราจะซื้อหุ้นเพิ่ม 100 หุ้น โดยทุกๆครั้งที่หุ้นลงมา 50 บาท เราจะขาดทุน 5,000 บาท/กล่อง
สังเกตว่าถ้าเราทำตามข้อที่ 1 และถ้าเรายอมตัดขาดทุน เราจะขาดทุนแค่ 20,000 บาท (4 กล่อง x 5,000 บาท)
แต่ถ้าเราทำตามข้อที่ 2 ที่มีการซื้อหุ้นเพิ่มหรือถัวหุ้นขาลง จำนวนหุ้นก็จะมากขึ้น และถ้าเรายอมตัดขาดทุน เราจะขาดทุนถึง 50,000 บาท (10 กล่อง x 5,000) ซึ่งมากกว่าข้อที่ 1 ถึง 2.5 เท่า
อันนี้เป็นตัวอย่างการถัวหุ้นขาลงโดยเราซื้อเพิ่มครั้งละ 100 หุ้น แต่ถ้าเกิดเรายิ่งอัดเพิ่มเพื่อให้ต้นทุนเรายิ่งต่ำกว่านี้ จะเป็นอย่างไร ตอนหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ
นักลงทุนสาย Run trend ต้องเลือกหุ้นให้ดีตั้งแต่แรก เช่น เลือกหุ้นตามหลัก CAN SLIM ตามที่ผมเคยสรุปไว้ในบทความก่อนหน้านี้ก็ได้ครับ หุ้นต้องอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ไม่ลงทุนในหุ้นขาลง และสุดท้ายเลย คือ ถ้าผิดทาง อย่าฝืนซื้อถัวหุ้น ให้ตัดขาดทุนออกมาก่อน อย่างความเสียหายจะไม่ลุกลามใหญ่โตไปครับ
ขอบคุณภาพจาก http://www.monkeyfreetime.com
สามารถอ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับกลยุทธ์ Run trend ได้ที่นี่ครับ
โฆษณา