3 ก.ค. 2020 เวลา 04:48 • สิ่งแวดล้อม
3 ก.ค. ของทุกปีเป็นวัน ‘วันปลอดถุงพลาสติกสากล’ (International Plastic Bag Free Day)
วันนี้เป็นวันที่ องค์การโลกปลอดถุงพลาสติก (Plastic Bag Free World Organization) ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นการริเริ่มระดับโลก ในความพยายามที่จะให้ทุกคนตระหนักถึงภาวะที่ขยะพลาสติกกำลังล้นโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้โลกเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
วันปลอดถุงพลาสติกสากล มุ่งกำจัด “พลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง”
พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) คืออะไร?
เป็นพลาสติกที่ใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในเวลาสั้น ๆ แต่กว่าจะย่อยสลายนั้นใช้เวลานานมาก
การที่จะกำจัดขยะพลาสติกประเภทนี้ จำเป็นต้องมีการรณรงค์ตั้งแต่ต้นทาง ด้วยการรณรงค์ให้ใช้วัสดุ แบบที่สามารถนำกลับมาใช้มาใช้ใหม่ได้ เช่น จากถุงพลาสติก เปลี่ยนเป็นถุงผ้า หรือเป็นแบบ Zero-Waste
ปัญหา “ขยะพลาสติก” ในประเทศไทย
ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบว่าไทยใช้ถุงพลาสติกมากถึง 45,000 ล้านใบต่อปี หรือเฉลี่ยคนละ 8 ใบต่อวัน
มุ่งสู่สังคมปลอดขยะพลาสติก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตั้งเป้าหมายว่า ภายใน 1 ปีหลังจากนี้ จะผลักดันให้ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ และร้านค้ารายย่อยทุกร้าน ต้องเลิกแจกถุงพลาสติก พร้อมผลักดันการประกาศกฎหมายงดใช้ถุงพลาสติกในประเทศ และตั้งเป้าว่าจะนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ทั้งหมดในปี 2570 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (zero waste society) ต่อไปอย่างยั่งยืน
REset strategy
ขอบเขตของความคิดริเริ่ม REset พลาสติก เป็นดังนี้:
ลด (REduce)
รณรงค์ลดการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืน
ออกแบบใหม่ (REdesign)
ออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับรีไซเคิล เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานแบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน
รีไซเคิล (REcycle)
รวบรวม คัดแยก และ รีไซเคิล เพื่อลดการใช้วัตถุดิบใหม่
กำจัด (REmove)
สนับสนุนการรณรงค์การกำจัดขยะพลาสติก
ลงทุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โซลูชั่น และข้อมูลเกี่ยวกับการรีไซเคิลและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
everybody deserves a better tomorrow!
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด
ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทส พบว่าไทยใช้ถุงพลาสติกมากถึง 45,000 ล้านใบต่อปี หรือเฉลี่ยคนละ 8 ใบต่อวัน
3 ก.ค. ของทุกปี ‘วันปลอดถุงพลาสติกสากล’

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา