Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
INFINITY.ADVISOR
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2020 เวลา 01:00 • หนังสือ
รู้ไหมกำไรของบริษัทฯ หายไปไหน?
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าหลักบัญชี กับ หลักภาษี แตกต่างกันตรงที่ อะไรที่จ่ายออกไปจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักบัญชีเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ แต่ทางหลักภาษีอากร ค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ถูกบันทึกในหลักบัญชี ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักภาษีอากร หรือที่สรรพากรเรียกว่า "รายจ่ายต้องห้าม" และรายจ่ายต้องห้ามนี้เองที่ต้องถูกบวกกลับใน ภงด.50 เพื่อคำนวณกำไรสุทธิใหม่ในการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล
แต่สิ่งที่เราจะเก็บวันนี้ ทำอย่างไรจะทำให้ค่าใช้จ่ายที่พูดถึง ถูกต้องตามหลักภาษี ผม
ขอยกตัวอย่างประกอบ เช่น
1.ค่าเบี้ยปรับคดีอาญา เช่น ค่าเบี้ยปรับยื่นแบบภาษีเกินกำหนดล่าช้าต้องเสียเบี้ยปรับ
สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ คำตอบไม่ได้ เพราะเหตุผลตามมาตรา 65
ตรี (6) เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เกี่ยวกับภาษีอากร ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
แต่ถ้าเป็นเบี้ยปรับทางอาญานอกเหนือจากกฎหมายประมวลรัษฎากร ถือเป็นรายจ่ายที่สามารถนำมาคำนวณหากำไรสุทธิได้ เช่น พนักงานขับรถเสียค่าปรับขับรถเร็วเกินกำหนดตามกฎหมายจราจร เป็นต้น
https://www.rd.go.th/publish/5939.0.html#mata65_3
https://www.rd.go.th/publish/2575.0.html
2. เงินท่องเที่ยวประจำปี ท่านคิดว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่
ที่มา : กรมสรรพากร
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ารายจ่ายใดจะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือรายจ่ายเพื่อกิจการ มีเกณฑ์ดังนี้
1.เกณฑ์ในการพิจารณาว่ารายจ่ายใดจะเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร หรือรายจ่ายเพื่อกิจการที่สามารถถือ
เป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของรายจ่ายนั้น ๆ ว่ามีความสัมพันธ์กับกิจการหรือไม่และข้อเท็จจริงของความจำเป็นจะต้องจ่ายแต่ละกรณี
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หมายถึง รายจ่ายซึ่งควรจะจ่ายเป็นเรื่อง
ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้บริหารงานหรือพนักงานของกิจการมากกว่าที่จะเป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการปกติตามความจำเป็นและสมควร หรือไม่อยู่ในวิสัยซึ่งกิจการจะพึงมีรายจ่ายเช่นนั้น
ข้อสังเกต
1. หากมีลักษณะเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับสวัสดิการพนักงาน ซึ่งจ่ายให้แก่พนักงานโดยทั่วไปและเป็นการจ่ายตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่มีการกำหนดไว้ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ถ้าเป็นการให้โดยไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
2. หากเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับรายจ่ายส่งเสริมการขายที่ให้แก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป เช่น การลด แลก แจก แถม ให้สินค้าเป็นรางวัล ลูกค้าที่ทำเป้าได้ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือการให้ส่วนลด ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ถ้าให้เฉพาะลูกค้าบางราย จะเข้าลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
จากแหล่งที่มากฎเกณฑ์เกณฑ์ข้างต้น เงินท่องเที่ยว จะต้องถูกกำหนดในระเบียบของ
บริษัทฯ ในหมวดสวัดิการ ให้ถือเป็นสวัสดิการของพนักงาน. จึงจะถือเป็นรายจ่ายไม่ต้องห้าม เว้นเสียแต่ไม่ระบุในระเบียบของบบริษัทฯ จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
ดังนั้นทุกท่านต้องกลับไปดูในระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ แล้วทำให้ถูก อย่าละเลยเรื่องกฎระเบียบของบริษัทฯ นะครับเพราะมันสำคัญจริงๆๆ ในเรื่อง
ของกฏหมายแรงงานและกฎหมายประมวลรัษฎากร ส่วนใหญ่ผู้บริหารระดับสูงจะละเลยด้วยความไม่รู้
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย