5 ก.ค. 2020 เวลา 09:26
นักเลงหุ้นทุนน้อย The series
Derivative Warrant ตอน DW กับคำศัพท์ต้องทราบ (2)
จากตอนที่แล้วเราทราบรายละเอียดพื้นฐานของ DW กันแล้ว จะเห็น DW นั้นไม่เหมาะสมเท่าไหร่หากจะถือยาวเพราะมีโอกาสที่จะสูญเงินลงทุนทั้งหมด อีกอย่างแอดมินเชื่อว่าคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงจะเป็นสายเทรดที่ชื่นชอบอะไรเสียวๆ วูบวาบหัวใจกัน ดังนั้นเรามารู้จักคำศัพท์พื้นฐานสำหรับสายเทรดเดอร์กัน
1.Sensitivity (ความอ่อนไหว) คือ ถ้าราคาหุ้นแม่มีการเปลี่ยนแปลงไป 1 ช่วงราคาของ DW จะมีการปรับตัวกี่ช่วงราคา
ตัวอย่างเช่น Sensitivity = 2 แปลว่า ถ้าราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลง 1 ช่วงราคา DW จะมีการเปลี่ยนแปลง 2 ช่วงราคา
ก่อนอื่นเพื่อความเข้าใจแอดมินขออธิบายเรื่อง “ช่องราคา” หรือบางที่เรียก “ช่วงราคา” กันสักนิด ในการซื้อขายหุ้นนั้นจำเป็นต้องกำหนดราคาทั้งฝั่งเสนอซื้อ (bid) และเสนอขาย (offer) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของช่วงราคาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ดังรูปด้านล่าง การกำหนดแบบนี้ก็ทำให้แต่ละฝ่ายสามารถเสนอราคาให้จับคู่ซื้อขายกันได้ง่ายขึ้น
ช่วงราคากำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. Effective gearing (%) คือ หุ้นแม่เปลี่ยนไป 1% DW จะเปลี่ยนไปกี่ % นั้นเอง เช่น Effeftive gearing = 4.5% หมายถึง หุ้นแม่ราคาเปลี่ยนไป 1% DW ราคาจะเปลี่ยนไป 4.5% นั้นเอง
3. ถามว่า effective gearing สำคัญไฉน ก็ต้องบอกว่าเป็นตัวแปลที่สำคัญในการเลือกลงทุน เช่น หากเราชอบความเสี่ยงมาก ๆ ขอแค่ราคาหุ้นเม่เปลี่ยนไป 1% ต้องการกำไร 10% ก็ต้องเลือก DW ที่ effective gearing เท่ากับ 10 เป็นต้น แต่หากผิดทางก็อาจขาดทุนยับเยินเช่นกัน
4. Sensitivity เป็นอีกตัวแปรหนึ่งในการตัดสินใจเลือก DW ว่าเราต้องการให้วิ่งไปพร้อมหุ้นแม่ก็เลือก DW ที่ sensitivity เท่ากับ 1 เพราะหุ้นแม่ +1 ช่วงราคา DW ก็ +1 ช่วงราคา หุ้นแม่ -1 ช่วงราคา DW ก็ -1 ช่วงราคา นั้นเอง ราคาก็จะขึ้นลงตาหุ้นแม่ไปเลย แน่นอนว่านี้เป็นตัวอย่างสมมุติส่วนใหญ่แล้วสายเทรดก็จะเลือกเอาตัวที่ใกล้เคียง 1 เพราะหาตัวเลข 1 เปะๆ นั้นแทบไม่มี
5. ตารางราคาเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องดูเพื่อตรวจสอบราคาประมาณการการรับซื้อคืนผู้ออก DW แต่ละวันเพื่อตรวจสอบราคาที่เราสามารถขายคืนได้ ในบางครั้งราคาอาจไม่ตรงเปะๆ แต่ก็สามารถนำไปเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างตารางราคา DW
6. การดูตาราง DW นั้นจำเป็นต้องดูหัวตารางก่อนนะครับว่าราคานี้คือราคาอะไร เช่น ตารางข้างบนแสดงราคารับซื้อคืน DW ไม่ใช้ราคา DW เทียบกับหุ้นแม่ หากเราจะดูตารางเราก็ต้องดู ราคาเสนอซื้อ (Bid) AOT (หุ้นแม่) = 60.5 บาทต่อหุ้น เมื่อดูตารางเทียบจะเท่ากับราคารับซื้อ DW คืน = 0.36 บาทต่อหน่วย ส่วน 0.37 นั้นคือราคา DW ที่วิ่งไปตามหุ้นแม่อย่าง AOT ซึ่งราคาอยู่ที่ 60.5 เท่ากับราคาเสนอซื้อพอดีอาจทำให้สับสนได้ เพราะฉะนั้นราคา DW ไม่ตรงกับตารางเนื่องจากราคารับซื้อคืนกับราคา DW คือคนละราคากัน
7. อ่านข้อ 4 แล้วงง ขออธิบายเพิ่มเติม อย่างที่ทราบกันจากตอนก่อนหน้าแล้วว่า DW มาจากบริษัทหลักทรัพย์ไม่ใช่เจ้าของหุ้นที่เอาหุ้นมาขายให้เราเหมือนอย่างหุ้นที่ซื้อขายเปลี่ยนมือกันในตลาด เพราะฉะนั้นเพื่อรักษาสภาพคล่องในการซื้อขาย บริษัทหลักทรัพย์เองต้องทั้งขายออก และซื้อคืน นั้นเอง ซึ่งก่อนทำการลงทุนเราควรศึกษาข้อมูลส่วนนี้ก่อนนะครับ โดยผู้ออกจะเป็นคนระบุรายละเอียดส่วนนี้และสามารถหาดูได้จากเว็บไซต์ผู้ออก DW นั้นๆ
8. ปริมาณการซื้อขายหรือ Volume การซื้อขายของ DW แต่ละตัวนั้นเป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงสภาพคล่องในการซื้อขายของวันนั้นๆ แน่นนอนว่าหากเราเลือกที่จะเป็นเทรดเดอร์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดู volume เพื่อที่จะซื้อง่ายขายคล่อง และที่สำคัญหากมี volume การซื้อขายมาก ราคาก็มักจะขึ้นหรือลงเยอะ เป็นโอกาสที่เราสามารถทำกำไรได้มาก แต่ในทางกลับกันก็อาจทำให้ขาดทุนยับเยินเช่นกัน
9. เราจะรู้ได้อย่างไรว่า DW ตัวใหนมี Volume การซื้อขายเยอะหรือเป็นที่นิยมในการเทรดสามารถดูจาก Most Activate Value
ตัวอย่าง DW ที่มีการซื้อขาย Most Active Value ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2563
10. หมายเหตุ บทความนี้เขียนจากการศึกษาหาข้อมูลและความสนใจส่วนบุคคล ไม่ได้จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และไม่ได้มีเจตนาชักชวนผู้อ่านทำการลงทุนแต่อย่างได เป็นบทความที่เขียนเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจเพียงเท่านั้น
***การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนการลงทุน***
โฆษณา