4 ก.ค. 2020 เวลา 13:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เด็กติดเกม ‼️⚠️หลบไป ปัญหาใหญ่กว่ากำลังมา เมื่อหากินกับเด็ก ปล่อยให้เด็กเล็ก สตีมมิ่งเกม หากิน🤬😈
นี้เรื่องจริงและเรื่องใหญ่มากสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองกันเลยที่เดียว ไม่ว่าจะมีผู้ปกครองรู้เห็นหรือไม่รู้เห็นก็ตามแต่ การให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี มาทำการสตีมมิ่งเกมเป็นเรื่องที่ผมไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเด็กอายุกต่ำกว่า12 ปี ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า อันไหนผิดอันไหนถูกและถูกชักจูงได้ง่าย
หลายต่อหลายครั้งที่เราเห็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ที่มีเด็กฆ่าตัวตาย หรือการกระทำอันรุนแรงต่อกัน เพียงเพราะ เล่นเกม เด็กอายุน้อยความคิดความอ่านก็ไม่มี ถูกชักจูงได้ง่าย แม้การเล่นเกมในความเป็นจริง สร้างมาเพื่อผ่านคลายความเครียด แต่เด็กๆ กลับนำมาใช้เพื่อเป็นการยอมรับในหมู่เพื่อนๆ มากกว่า
 
 
หากใครเล่นห่วยหรือ เรียกได้ว่าไก่อ่อนของทีมก็จะถูก เหยียดหยาม และกลั่นแกล้ง ล้อเลียนได้ง่าย ทำให้เด็กเก็บกด สร้างความเคลียดให้แก่เด็ก เด็กบางคนถึงกับรับไม่ได้ ต้องปลิดชีพตัวเองก็เคยมีข่าวมาแล้ว
 
แต่ปัญหากำลังรุกรามใหญ่โตขึ้นไปอีกเมื่อ ปัจจุบันเกิดเกมออนไลน์ขึ้นมามากมาย เด็กอายุเท่าไรก็สามารถเข้ามาเล่นเกมได้ไม่จำกัดเวลาในการเล่น เมื่อก่อนมีร้านเกม ถ้ายังจำกันได้ มีเวลาเปิดปิด มีการควบคุม ตอนนี้ร้านเกมแบบนั้นลดน้อยลงมาก แทบจะล้มตายหายจากกันไปเลยที่เดียว เพราะเด็กๆ หันมาเล่นเกมมือถือกันหมดแล้ว
 
และมันไม่ได้มีแค่เพียงเท่านี้เพราะว่าตอนนี้มีการสตีมมิ่ง หรือการเล่นเกมเพื่อเรียกคนเข้ามาดูกันแล้ว เมื่อก่อนมีไม่มาก แต่ตอนนี้มีการขึ้นโฆษณาในการสตีมมิ่งทำให้เกิดรายได้ และเด็กๆ ก็หันมาสตีมมิ่งกันมากขึ้น คำถามคือการให้เด็กออกมาสตีมมิ่งเป็นการใช้แรงงานเด็กหรือไม่ หากมีผู้ใหญ่ชักจูง ลองนึกดูว่าใครเห็นเด็กเล่นเกมเก่งๆ ก็ชักจูงมาอยู่ด้วย มาเป็นทีม จัดอุปกรณ์การสตีมมิ่งให้เด็ก เล่นเกมฟรี เด็กก็ชอบ มาเล่นเกม พอมีคนดูมีโฆษณามากๆ ก็มีรายได้ แบบนี้เรียกว่าการใช้แรงงานเด็กหรือไม่
 
 
อีกประเด็นที่ต้องจับตามองคือเกม ยิงกันที่เป็นแผนที่ ให้ผู้เล่นเข้ามาเล่นในเขตที่กำหนด ต่อสู้กันด้วยอาวุธปืน มีด ดาบ เพื่อให้เหลือรอดเป็นคนสุดท้าย หรืออะไรที่คล้ายๆกับแบบนี้ ล่าสุดมีเด็กคาดว่าอายุน่าจะไม่เกิด 5-6 ขวบสตีมมิ่งเกมประเภทนี้ มูลนิธิคุ้มครองเด็กไปอยู่ไหน
 
กฎหมายไทยไม่มีการกำกับดูแลเลยหรืออย่างไร เราเอาเศรษฐกิจและรายได้ มาแลกกับอนาคตของลูกหลาน มันคุ้มกันหรือเปล่า แม้ล่าสุดมีการพยายามจัดทำร่าง กฎหมายการกำกับดูแลเกมและการประกอบกิจการเกมเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน ภายใต้มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 แต่ก็ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน
 
เราต้องรอให้เด็กต้องตกเป็นเหยื่ออีกสักกี่คน การควบคุมอายุที่เหมาะสม ทำกันอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะทำให้เด็กและเยาวชน สนใจกิจกรรมด้านอื่นๆ และยุติความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากเกมที่มีเนื้อหารุนแรง ใครช่วยตอบที
โฆษณา