Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เศรษฐศาสตร์&การลงทุน
•
ติดตาม
6 ก.ค. 2020 เวลา 01:52 • การศึกษา
Productivity ส่งผลต่อความมั่นคงในแต่ละอาชีพอย่างไร
ตอนที่ 1) Productivity ของอาชีพ
Productivity คืออะไร > Productivity (ผลิตภาพ) : คือการวัดประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการผลิต (Production) ตลอดจนการทำงาน (Working) หรือแม้กระทั่งการบริการ (Service) โดยมีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม อย่างเช่น ของเสียที่เกิดจากการผลิต, ต้นทุน, รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต
ดังนั้นสูตรของ Productivity คือ
Productivity = Output / Input
= ปริมาณที่ผลิตหรือบริการ / คน * เวลา(ชั่วโมง)
การคำนวณ Productivity สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 1) Productivity ของอาชีพ และ 2) Productivity ส่วนบุคคล
ในที่นี้จะขออธิบาย Productivity ของอาชีพก่อน ซึ่งจะเป็น Productivity ของอาชีพนั้นเพรียวๆ ไม่มีปัจจัยอาชีพอื่นมาร่วม เช่น ทำนาก็ทำนาอย่างเดียว พ่อค้าขายข้าวก็ขายข้าวอย่างเดียว ซึ่งจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง 1.1) อาชีพเกษตรกรรมมีความสามารถในการผลิตข้าวได้ 800 kg ต่อไร่ ใช้เวลาในการผลิตข้าว 6 เดือน ดังนั้น Productivityคือ
Productivity อาชีพเกษตรกรรม = 800 kg / ( 1 man * 6 month)
= 800 kg / (1 man * 4320 hour)
= 0.1852 kg / man.hour
ซึ่งหากเกษตรกรสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ที่ 5.625 บาท/kg และขายได้ในราคาตันละ 8000 บาท หรือ 8 บาท/kg เกษตรกรจะได้กำไร
กำไร = 8-5.625 = 2.375 บาท/kg
มีกำไรสุทธิ = 2.375 (บาท/kg) x 800 kg = 1900 บาท
หรือได้กำไร = 0.1852 (kg / man.hour) x 2.375 บาท/kg
= 0.4398 บาท / man*hour
บนพื้นที่ 1 ไร่
เกษตรกรรรมทำสวนดอกกุหลาบดอยปุย
ตัวอย่าง 1.2) แต่ถ้าอาชีพเกษตรกรรมสามารถเพิ่ม Productivity ได้โดยสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็น 1000 kg ต่อไร่ ลดเวลาการผลิตได้ลงเหลือ 4 เดือน Productivityใหม่จะเป็น
Productivity = 1000 kg / (1 man * 4 month)
= 1000 kg / (1 man * 2880 hour)
= 0.34722 kg / man*hour
และมีกำไร = 0.34722 (kg/man*hour) x 2.375 บาท/kg
= 0.824 บาท / man*hour
บนพื้นที่ 1 ไร่
ซึ่งในที่นี้จะเห็นว่าการเพิ่ม Productivity สามารถเพิ่มกำไรได้โดยการลดเวลาการผลิต (Cycle time) และเพิ่มผลผลิตที่ได้
แต่จะพบว่าอาชีพเกษตรกรนั้นมีข้อจำกัดเรื่อง การลดระยะเวลาการผลิตหรือ Cycle time ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะคงที่ เป็นไปตามธรรมชาติการโตของพืช และการเพิ่มกำลังการผลิตต่อหน่วยพื้นที่ ก็ทำได้อย่างมีข้อจำกัดและนี่คือจุดอ่อนสำคัญที่สุด
ซึ่งหากจะวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งจะได้ดังนี้
จุดแข็ง
1) สามารถผลิตได้เป็น Mass-produced ในภาวะสินค้าขาดแคลน จึงจะมีอำนาจต่อรอง
2) มีสถานะเป็นผู้ผลิต จึงสามารถลดต้นทุนได้ง่าย
จุดอ่อน
1) สามารถผลิตได้เป็น Mass-produced ในภาวะสินค้าล้นตลาด จะขาดทุนมาก
2) กำหนดราคาขายได้ยาก หากต้องการกำไรมากขึ้น ต้องทำการตลาดเอง
3) มีรอบการทำงานสูง หรือ Cycle time สูง การปรับตัวในระหว่างรอบการผลิตทำได้ยากมากๆ เช่น ในสถานการณ์เริ่มผลิตสินค้าราคาสูง แต่ในช่วงระหว่างการผลิต สินค้าเกษตรเริ่มตกต่ำ เมื่อเก็บเกี่ยวก็ขาดทุน หรือสถานการณ์คาดการณ์ว่าจะเกิดภัยพิบัติอันใกล้ เช่นน้ำท่วม
เกษตรกรรมปศุสัตว์ไทย ปล่อยให้สัตว์กินหญ้าตามไร่ทุ่ง
ทีนี้เรามาลองดูในมุมมองของอาชีพอื่นบ้าง Productivity ส่งผลต่อความมั่นคงในแต่ละอาชีพอย่างไร หากจะให้เข้าใจยิ่งขึ้นต้องตามมาดูตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่าง 1.3) อาชีพพ่อค้ารับซื้อข้าวจากเกษตรกรซึ่งมีผลผลิตในรอบการผลิตนั้น 800 kg รับซื้อในราคาตันละ 8000 บาทหรือ 8 บาท/kg พ่อค้านำข้าวที่ได้ไปสีจนได้เป็นข้าวขาวจำนวน 700 kg แล้วนำไปบรรจุถุงขาย ถุงละ 5 kg ขายถุงละ 60 บาท ใช้เวลาในการทั้งหมดตั้งแต่รับซื้อข้าวมาจนขายได้หมดเป็นเวลา 30 วัน เสียเงินต้นทุนการดำเนินการทั้งหมด 1050 บาท และสมมุติให้พ่อค้าดำเนินการหรือทำงานบนพื้นที่สำนักงาน 1 ไร่ เท่าเกษตรกร
คำนวน Productivity อาชีพพ่อค้า = 700 kg/ (1 man * 30 day)
= 700 kg / 720 man.day
= 0.9722 kg/ man.hour
และจำและจะมีกำไร
คำนวณขายได้เงิน = 700 kg x 60 บาท/5kg
= 8400 บาท
คำนวณราคาต้นทุน = ราคาซื้อข้าวมา + ต้นทุนขาย
= 800*8 + 1050
= 7450 บาท
โดยมีกำไร = ขาย - ทุน
= 8400 - 7450
= 950 บาท
หรือมีกำไรต่อ kg = 950 บาท/ 800 kg
= 1.1875 บาท/kg
หรือมีกำไรต่อ hour = 1.1875(บาท/kg) x 0.9722 (kg/man.hour)
= 1.1545 บาท/man.hour
บนพื้นที่สำนักงาน 1 ไร่
ตัวอย่าง 1.4) อาชีพเว็บนายหน้าขายของออนไลน์ มีพ่อพ่อค้าออนไลน์นำข้าวจำนวน 700 kg บรรจุถุง ถุงละ 5 kg มาลงขายไปในราคา 60 บาทใช้เวลาตั้งแต่ซื้อข้าวมาจนขายได้หมดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ได้รับค่าการดำเนินการทั้งหมด 5% ของราคาที่ตั้งไว้ และสมมุติอาชีพนายหน้าขายของออนไลน์ดำเนินการหรือทำงานบนพื้นที่สำนักงาน 1 ไร่ เท่าเกษตรกร
คำนวน Productivity อาชีพเว็บขายของค้าออนไลน์ = 700 kg/ (1 man * 2 hour)
= 350 kg/ man.hour
และจำและจะมีกำไร
คำนวณรายได้เป็นเงิน = 700 kg x 60 บาท/5kg x 5%
= 420 บาท
หรือมีกำไรต่อ kg = 420 บาท/ 700 kg
= 0.6 บาท/kg
หรือมีกำไรต่อ hour = 0.6 (บาท/kg) x 350 (kg/man.hour)
= 210 บาท/man.hour
บนพื้นที่สำนักงาน 1 ไร่
จะเห็นได้ว่า ทั้ง Productivity และ กำไรต่อ hour ของอาชีพเว็บนายหน้าออนไลน์สูงกว่าอาชีพพ่อค้าและสูงกว่าอาชีพเกษตรกรรม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ถึงแม้ว่าจะมีกำไรสุทธิน้อยกว่าตามลำดับ
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เมืองใดหรือพื้นที่ใดที่มี Productivity หรือผลตอบแทนบนพื้นที่(ที่หน่วยเท่ากัน)สูงกว่า ก็จะส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์มีราคาแพงกว่า
ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว เขียนจากประสบการณ์ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมนานาชาติชั้นนำ กว่า 5 ปี ซึ่งมีการใช้ศาสตร์วิชาเรื่อง Productivity ในการผลิต เน้นเรื่องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่ม Productivity เช่นลดคน ลดเวลาทำงาน
อนึ่งพื้นฐานครอบครัวเป็นเกษตรกร จึงประยุกต์ใช้และอาศัยมุมมองดังกล่าวในการเขียนบทความ
ตัวเลขทั้งหมดนี้เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์และตามกลยุทธ์ส่วนบุคคลที่ประกอบอาชีพนั้นๆ
โปรดติดตามตอนต่อไป ตอนที่ 2 Productivity ส่วนบุคคล
ทำอย่างไรให้อาชีพเกษตรกรรมมี Productivity สูงขึ้น จนกลายเป็นอาชีพที่น่าอิจฉาได้อย่างไร
เขียนโดย “เศรษฐศาสตร์&การลงทุน”
นพพร รุ่งอุทัย
6 กรกฎาคม 2563
>> สนใจบทความคุณภาพรบกวนกดติดตามเพจ เพื่อกำลังใจในการเขียนบทความคุณภาพต่อไป ขอบคุณครับ
6 บันทึก
7
2
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความสามารถในการแข่งขัน
6
7
2
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย