6 ก.ค. 2020 เวลา 00:01 • การศึกษา
ศาสตร์ที่ว่าด้วย ความง่าย(Simple/Easy) และความยาก ความซับซ้อน(Complicate/Difficult)
ในโลกนี้มีศาสตร์ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การบริหารจัดการ ซึ่งมีทั้งง่ายและยาก
แต่คนทั่วไปนั้น มักจะชอบวิชาการที่มีความง่าย ความไม่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น
สมัยเรียนหนังสือ คนส่วนใหญ่ก็จะชอบวิชาที่ง่าย เข้าใจได้ง่าย ทำคะแนนได้ง่าย
เมื่อมาทำงาน เราก็อยากทำงานในเรื่องที่เราเข้าใจกับงานได้ดี สามารถสื่อสาร สร้างความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงานได้ ไปในทิศทางเดียวกัน
หรือเมื่อเราเลือกใช้เทคโนโลยี Application เราอยากเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Application ที่ใช้ง่าย User Friendly, Easy to use
Program ที่ใช้ยาก สลับซับซ้อน ก็จะไม่นิยม และไม่มีคนใช้ จนเลิกใช้ในที่สุด
 
เช่นเดียวกันกับ การจัดทำระบบบริหารงานคุณภาพ การบริหารจัดการด้านการฝึกอบรม สื่อสาร
เราควรเข้าใจหลักการในเรื่องนี้ และนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร เนื่องจากพื้นฐานของมนุษย์จะชื่นชอบความง่าย เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน
ตัวอย่าง ศาสตร์ด้านการบริหารคุณภาพ เช่น การออกแบบการทดลอง Design of Experiment เป็นศาสตร์ที่คนไม่นิยม เพราะว่า มีความยากในการนำมาใช้ การนำมาปฏิบัติ
แต่หากเป็นศาสตร์ง่ายๆ เช่น QC 7 tools คนจะมีความนิยมมากขึ้น เพราะว่าใช้ง่าย แต่ใน QC 7 tools ก็จะนิยมเป็นบางหัวข้อ เช่น Checksheet, Fish-bone diagram, Graph เพราะว่าใช้ง่ายที่สุด
และสิ่งที่สำคัญ คือ หากเป็นศาสตร์ที่ยาก ปัญหาที่ตามมาคือการสื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานในสายงานอื่นๆเข้าใจได้ยาก เมื่อไม่เข้าใจ ความร่วมมือก็จะไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นในการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ การอบรม เราต้องทำให้ง่าย ให้เข้าใจได้ การจัดทำคู่มือการทำงาน อาจใช้เป็นภาพวาด ภาพการ์ตูน เพื่อให้คนเข้าใจ วิธีการทำงานที่ง่ายต่อความเข้าใจ
สรุปคือ ศาสตร์ที่ง่ายจะได้รับความนิยมมากกว่า
"Simple is the Best"
โฆษณา