Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
6 ก.ค. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ตำนานอันน่าเศร้าของ 'ฟานแท็นหยาน' ขุนนางผู้ภักดีที่ต้องจบชีวิตเพราะต้องการปฏิรูปประเทศ
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ย้อนกลับไปในช่วงที่ราชวงศ์เหงียนยังปกครองประเทศเวียดนาม ยังมีขุนนางลูกครึ่ง
จีน –เวียดนาม ผู้มีความพยายามเรียกร้องให้ราชสำนักราชวงศ์เหงียนปฏิรูปประเทศให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากชาติตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศส และขุนนางคนนี้ก็คือ พาน ชิง เจียน หรือ ฟานแท็นหยาน
บรรพบุรุษฟานแท็นหยานเป็นชาวจีนที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิง ไม่ยอมจำนนต่อราชวงศ์แมนจู จึงลี้ภัยมาอยู่ที่เวียดนามเพื่อหวังสร้างชีวิตใหม่ และได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวเวียดนามมีลูกหลานสืบสกุลเรื่อยมาจนถึงยุคของฟานแท็นหยาน ที่ตั้งใจเล่าเรียนศึกษา เพื่อหวังใช้ความรู้ความสามารถพัฒนาประเทศ
WIKIPEDIA PD
ฟานแท็นหยานสอบเป็นเจิ่งเหงียน (จอหงวน) ได้ในรัชสมัยของจักรพรรดิมินหม่างแห่งราชวงศ์เหงียนในวัย 31 ปี และเขาได้รับเลือกเป็นตัวแทนของราชสำนักราชวงศ์เหงียนในการเจรจาสงบศึกกับประเทศฝรั่งเศส จนเป็นที่มาของการทำสนธิสัญญาไซ่ง่อน จนเป็นเหตุให้เวียดนามต้องเสียมณฑลไคดินห์ ไซ่ง่อน เบียนฮวา ดินห์เจือยง และเกาะกุ่นเซิน พร้อมกับต้องเปิดเมืองท่าที่ดานัง กว่างนินห์ ให้ฝรั่งเศสเข้ามาเปิดการค้าและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้อย่างเสรี และต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ชื่อเสียงของฟานแท็นหยานไม่เป็นที่นิยมนักสำหรับชาวเวียดนามและราชสำนักจีนในเวลานั้น
ต่อมาในปี ค.ศ.1863 จักรพรรดิตือดิ๊กแห่งราชวงศ์เหงียน ได้ส่งฟานแท็นหยานเป็นทูตไปเจรจากับจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ถึงกรุงปารีสของฝรั่งเศส ในตอนนั้นเองที่ฟานแท็นหยานได้เห็นความเจริญของชาวตะวันตก อย่างโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องจักรไอน้ำสมัยใหม่ รวมไปถงรถไฟไอน้ำ ที่เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป ในตอนนั้น ฟานแท็นหยานถึงกับกล่าวว่า 'ความมั่งคั่งและอำนาจของฝรั่งเศสนั้น เกินกว่าจะบรรยายได้...'
WIKIPEDIA CC JEAN-PIERRE DALBERA
ด้วยเหตุนี้ ฟานแท็นหยานจึงคิดว่าสมควรที่เวียดนามจะต้องปฏิรูปประเทศเพื่อให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมกับฝรั่งเศสและชาติตะวันตกอื่น ๆ ให้ได้บ้าง
หลังจากกลับไปเวียดนาม ฟานแท็นหยานเสนอราชสำนักราชวงศ์เหงียนให้ทำการปฏิรูปประเทศให้มีความทันสมัยเหมือนชาติตะวันตก เพราะนี่คือหนทางเดียวที่เวียดนามจะอยู่รอดปลอดภัยจากฝรั่งเศสที่กำลังแพร่อำนาจเข้ามาคุกคามประเทศอยู่ในตอนนี้ แต่จักรพรรดิตือดิ๊กได้ฟังก็ทรงพิโรธอย่างหนัก และมองว่าฟานแท็นหยานเอาใจออกห่างจากเวียดนามไปเข้าข้างฝรั่งเศส จึงปลดเขาออกจากตำแหน่งขุนนางเสีย
WIKIPEDIA PD
พอมาถึงปี ค.ศ.1864 ราชสำนักก็เรียกตัวฟานแท็นหยานกลับมารับตำแหน่งขุนนางอีกครั้ง โดยให้ออกหน้าเป็นทูตไปเจรจากับรัฐบาลฝรั่งเศส ที่ยกทัพมาโจมตีสามมณฑลทางใต้ของเวียดนาม ได้แก่ วินห์ลอง อันยาง และฮาเตียน และยื่นข้อเสนอให้เวียดนามยกสามมณฑลให้ฝรั่งเศส ฟานแท็นหยานที่เคยเห็นความเจริญก้าวหน้าของฝรั่งเศสก็รับรู้ว่าคงไม่มีทางที่จะไปต่อต้านกองทัพฝรั่งเศสได้ ก็พยายามเจรจาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด และสุดท้ายวิธีทางการทูตก็ล้มเหลว กองทัพฝรั่งเศสยึดสามมณฑลทางใต้ของเวียดนามได้เป็นผลสำเร็จ
1
ฟานแท็นหยานที่รักษาเมืองวินห์ลองที่ถูกกองทัพฝรั่งเศสปิดล้อมทุกทิศทาง ก็รู้ว่าตนเองคงไม่สามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะด้วยทางใดก็ตาม จึงตัดสินใจปลิดชีพตัวเองด้วยการดื่มยาพิษในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.1867 ด้วยวัย 71 ปี แม้ฟานแท็นหยานจะจบชีวิตลง แต่เรื่องราวก็ยังไม่จบแค่นั้น เพราะจักรพรรดิตือดิ๊กไม่ยอมยกโทษให้ เพราะมองว่าฟานแท็นหยานคือตัวการที่ทำให้ประเทศชาติต้องเสียดินแดนทางใต้ จักรพรรดิตือดิ๊กไม่พอใจในทัศนคติของฟานแท็นหยานที่ต้องการปฏิรูปประเทศ พร้อมกับถอดชื่อของฟานแท็นหยานออกจากทำเนียบขุนนางเพื่อระบายความแค้นของพระองค์
WIKIPEDIA PD
ต่อมาในปี ค.ศ. 1886 ตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิด่งคั่น ได้มีการสั่งให้ชำระประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ และคืนตำแหน่งขุนนางให้ฟานแท็นหยานเพื่อคืนความเป็นธรรมให้ ซึ่งในตอนนั้นเวียดนามก็ตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสไปแล้ว
แม้ฟานแท็นหยานจะถูกตั้งแง่จากราชสำนักราชวงศ์เหงียน แต่หลังจากที่เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็ได้สั่งให้มีการสั่งให้สร้างสุสานของฟานแท็นหยานให้สมเกียรติ และดูแลลูกหลานของขุนนางผู้สื่อสัตย์คนนี้เป็นอย่างดี และยุคสังคมนิยมเวียดนามในยุคหลัง ก็ได้มีการชำระบทเรียนประวัติศาสตร์ครั้งนี้ และได้ยกย่องฟานแท็นหยานว่าเป็นผู้เสียสละและเป็นบุคคลที่ชนรุ่นหลังควรเอาตัวอย่าง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA CC BUI THUY DAO NGUYEN
5 บันทึก
30
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ I
บุคคลในประวัติศาสตร์โลก
5
30
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย