19 ก.ค. 2020 เวลา 05:30
Ep.8 หุ้น 6 ประเภทของ ปีเตอร์ ลินซ์ (Peter Lynch)
ถ้าจะพูดถึงผู้จัดการกองทุนเก่งๆสักคน ต้องมีชื่อของคนๆนี้ติดอันอยู่ในลำดับต้นๆ
ของโลกแน่นอนครับ ปีเตอร์ ลินซ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 1944 เขาคือผู้จัดการ
กองทุนมาเจลลัน (Magellan Fund) โดยบริหารกองทุนอยู่13ปี(1977 - 1990) ซึ่งน่า
เหลือเชื่อมากเพราะผลงานที่เขาทำได้ติดต่อกันถึง13ปีนั้นคือ 29.2% โดยเฉลี่ยแบบบทต้น ซึ่งเอาชนะดัชนี S&P500 ได้ถึง11 ครั้ง และสถิตินี้ยังถือเป็นตำนานที่ไม่มีผู้จัดการ
กองทุนคนไหนเอาชนะได้มาจนถึงปัจจุบันนี้เลย
เหนือกว่า วอลสตรีท
ที่เราต้องพูดถึงปีเตอร์ ลินซ์เพราะเขาได้เขียนหนังสือ เหนือกว่าวอลสตรีทไว้ครับ โดยที่หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอแนวคิดการแบ่งประเภทของหุ้นว่า หุ้นสามารถแบ่งออกได้เพียง
6 ประเภทเท่านั้นคือ หุ้นโตเร็ว หุ้นโตช้า หุ้นแข็งแกร่ง หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัว และ
หุ้นสินทรัพย์มาก
*หมายเหตุ ในหุ้น1ตัวอาจจะมีมากกว่า1ประเภทได้ เช่น อาจจะเป็นทั้งหุ้นโตช้าและหุ้น
แข็งแกร่งในเวลาเดียวกัน
1. หุ้นโตเร็ว(The fast grower) เรามาเริ่มที่หุ้นโตเร็วกันก่อนเพราะผมเชื่อว่าหลายๆคนที่ลงทุนก็อยากให้หุ้นที่ตัวเองซื้อราคาวิ่งไปไกลๆ แต่เชื่อเถอะว่าราคาที่วิ่งไปนั้นสุดท้ายแล้วมันจะต้องกลับมาสมเหตุสมผลกับพื้นฐานบริษัทในระยะยาวครับ หุ้นโตเร็วคือหุ้น
ขนาดเล็กที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 20-25% ซึ่งถ้าคุณสามารถหาหุ้นแบบนี้ได้ก็จะสร้างกำไร
ได้เป็นกอบเป็นกำเลย อาจจะถึง 200% ได้ หุ้นโตเร็วนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตเร็วเสมอไปก็ได้ เช่น Cpall (เมื่อหลายปีก่อน) ตอนที่อยู่ในช่วงเร่งขยายสาขาจำนวนมากก็ถือเป็นหุ้นโตเร็ว หรือ หุ้นbeauty ในช่วงปี 2015-2017 ที่มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
*ข้อแนะนำสำหรับหุ้นโตเร็วคือ ไม่ใช่หุ้นโตเร็วทุกตัวจะเป็นของจริง พูดง่ายๆคือเนื่องจากเป็นหุ้นขนาดเล็ก มีประวัติการดำเนินธุรกิจไม่นาน ดังนั้นจึงไม่มีสถิติทางบัญชีหรือหลักฐานใดๆมารองรับว่าจะสามารถสร้างกำไรได้ดีอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
2. หุ้นโตช้า(The slow growers) หุ้นโตช้าก็คือหุ้นโตเร็วที่มาจนถึงจุดใกล้อิ่มตัว มันคือธุรกิจที่เติบโตเพียงปีละไม่กี่เปอร์เซ็นต์ (อาจจะแค่3-4%เท่านั้น) หรือมากว่าGDPเพียงเล็กน้อย ราคาของหุ้นมักไม่ค่อยไปไหนในหลายๆปี แต่หุ้นพวกนี้จะมีข้อดีตรงที่จ่ายเงินปันผลดีและสม่ำเสมอ เช่น หุ้น wacoal sabina sauce spc ttw เป็นต้น
3. หุ้นแข็งแกร่ง(The stalwarts) หุ้นแข็งแกร่งจะออกแนวคล้ายๆหุ้นโตช้าครับ แต่จะเติบโตได้ดีกว่า ประมาณ10-12% ราคาหุ้นจะค่อยๆขยับขึ้นตามเวลาแต่จะไม่ย่ำอยู่กับที่เหมือนหุ้นโตช้า เช่น bdms aot
4. หุ้นวัฏจักร(The cyclicals) ก็ตามชื่อเลยครับ หุ้นวัฏจักรคือหุ้นที่ขึ้น-ลงตามฤดูกาลหรือตามนโยบาลต่างๆ เช่น หุ้นในกลุ่มอาหาร-พลังงานน้ำมันอย่างcpf tvo pttเป็นต้น
หรือแม้แต่หุ้นพวกโรงแรมอย่าง centel erw ก็ออกจะเป็นแนวหุ้นจำพวกนี้ เพราะมีกำไรขึ้นลงตามเทศกาล บางไตรมาสสามารถคาดการณ์ได้ว่ากำไรจะมากหรือน้อยตามจำนวนนักท่องเที่ยว หุ้นจำพวกสายการบินและหุ้นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น
aav nok thai lh psh spali เป็นต้น
*ข้อแนะนำสำหรับหุ้นวัฏจักรคือไม่ควรเน้นสัดส่วนในการถือยาวมากนัก เพราะกำไรจะขึ้นๆลงๆตามช่วง ในช่วงขาลงกำไรบริษัทอาจลงได้50%หรือถ้าอยู่ในช่วงตกต่ำมากๆ
บริษัทอาจขาดทุนได้ ควรเน้นถือหุ้นตามรอบและขายทิ้งเมื่อราคาขึ้นไปสูงๆ จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า
5.หุ้นฟื้นตัว(Turnarounds) ต้องพูดแบบนี้ก่อนว่าหุ้นประเภทนี้ต่างจากหุ้นวัฏจักร เพราะหุ้นวัฏจักรจะขึ้นลงแบบเป็นรอบตามฤดูกาลของมันอยู่แล้ว แต่หุ้นฟื้นตัวจะหมายถึง
บริษัทที่ดำเนินกิจการมาจนพบเจอกับเหตุบางประการที่ทำให้กำไรหดหาย ขายสินค้า
หรือบริการได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย ทำให้เกิดการขาดทุนมาสักระยะ บริษัททำท่าจะไป
ไม่รอด แต่จนแล้วจนรอดบริษัทสามารถหาทางกลับมาได้ด้วยวิธีการต่างๆ ทำให้บริษัทกลับมามีกำไรและอยู่รอดได้อีกทั้ง(พูดแบบบ้านๆคือเหมือนจะตายแต่ก็รอดมาได้)
เช่น หุ้น thai (ซึ่งยังไม่แน่ว่าบริษัทจะไม่ล้มละลาย) แต่ถ้าสามารถฟื้นฟูกิจการได้ก็จะถือว่าเป็นหุ้นฟื้นตัวครับ
*ข้อแนะนำสำหรับหุ้นฟื้นตัวคือ อย่าไปยุ่งกับหุ้นจำพวกนี้ ถึงแม้ว่าถ้านักลงทุนถือไว้และสามารถฟื้นฟูกิจการขึ้นมาได้จะสามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลก็ตาม แต่โอกาสที่
จะขาดทุนก็มีมากเช่นกัน ถ้าไม่มีความรู้ในระดับสูงที่สามารถมองขาดว่าบริษัทจะรอดก็
ควรหลีกเลี่ยงเพราะดูจะออกแนวเป็นการพนันมากกว่าการลงทุนครับ
6. หุ้นสินทรัพย์มาก (The asset plays) หมายถึงหุ้นที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินบางอย่างที่มีมูลค่าสูงมาก โดยที่นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนนั้นมองข้ามและยังไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่
แท้จริงออกมาเท่าที่ควร ทรัพย์สินที่บริษัทเป็นเจ้าของอาจจะเป็นได้ทั้ง เงินสด อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ดิน อาคารในย่ามทำเลทอง เหมืองแร่ที่มีแร่ราคาสูงและยังไม่ได้คิดรวมในรายการบัญชี สิทธิบัตร เป็นต้น
*ข้อแนะนำสำหรับหุ้นสินทรัพย์มากคือ นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเชิงลึกเป็นอย่างมากเพื่อค้นหาหุ้นจำพวกนี้ และถึงแม้มูลค่าสินทรัพย์แฝงจะมีมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่ถูกตี
ราคาออกมาก็ไม่มีประโยชน์ รวมถึงมูลค่าสินทรัพย์แฝงยังไม่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทอีกด้วย
เหตุผลที่ผมต้องหยิบยกการแบ่งประเภทของหุ้นขึ้นมาพูดเพราะว่ามันสำคัญมากๆในการสร้างพอร์ตหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาว อยากให้ผู้อ่านลองจินตนาการดูว่าในพอร์ตหุ้นควรมีหุ้นอย่างน้อย3-5ตัวเพื่อกระจายความเสี่ยงไว้ในระดับหนึ่ง และหุ้นที่เราเลือกมาควรอยู่คนละอุตสาหกรรมกันครับ ใช่แล้ว เราไม่ควรลงทุนกระจุกตัวไว้ในอุตสาหกรรมเดียวมากเกินไปเพราะไม่ใช่ทุกอุตสาหกรรมจะเติบโตดี อีกทั้งถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เรายังมีหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นไว้ถ่วงพอร์ตและการทราบถึงประเภทของหุ้นด้วยก็จะช่วยให้เราแบ่งสัดส่วนในการจัดพอร์ตได้ดีขึ้นด้วย
เมื่อนานมาแล้วผมเคยเห็นผ่านๆทางเฟสบุ๊ค มีเพื่อนนักลงทุนท่านหนึ่งชื่นชอบในหุ้น
พลังงานมาก ซึ่งในพอร์ตประกอบด้วยหุ้น ptt pttep bcp และ irpc
โดยส่วนตัวผมมองว่าถึงเราจะมีความเข้าใจในตัวธุรกิจมากแค่ไหนก็ตาม แต่การจัดพอร์ตแบบนี้ถือว่าเสียงมากๆเพราะหุ้นแต่ละตัวมันอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถึงจะถือหลายตัวก็ไม่ได้ลดความเสี่ยงเท่าไหร่ครับ
อ้างอิง : หนังสือเหนือกว่าวอลสตรีท
โฆษณา