ระบบจำนวนเต็ม
เปิดเทอมแล้วจ้า .. ปีนี้ถือเป็นปีที่ปิดเทอมน้านนาน เด็กๆคงรู้สึกตื่นเต้นสำหรับเด็กนักเรียนที่จะได้ขึ้น ม.1 วันเลยมีความคันไม้คันมืออยากทำเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ระดับ ม.1 ซึ่งถึงว่าเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างก้าวกระโดดมาไกลมากสำหรับเด็ก ป. 6 มา ม.1 ขอนำเสนอเรื่องแรกก็คือ ระบบจำนวนเต็ม ไปดูกันเลยจ้า
ระบบจำนวนเต็ม
ต้องรู้จักก่อนว่าจำนวนเต็ม คือ เลขที่ไม่มีทศนิยมนั่นเอง แล้วแบ่งออก ออกได้ 3 แบบ
1. จำนวนเต็มบวก หรือบางครั้งถูกเรียกว่าจำนวนนับ มีตั้งแต่ 1 2 3 ไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นเราจะไม่สามารถหาจำนวนเต็มบวกที่มากที่สุด แต่หาจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุดได้นะ นั่นก็คือ 1
2. จำนวนเต็ม 0 ซึ่งไม่ใช่จำนวนนับนะ อย่าสับสนซะล่ะ มีตัวเดียวคือ 0 อยู่ตรงกลางเส้นจำนวน นะจ๊ะ อีกอย่าง 0 เป็นเลขคู่นะ
3. จำนวนเต็มลบ ลองคิดง่ายๆถ้า มีหนี้ 1 บาท คือ -1 มีหนี้ 2 บาทคือ -2 พอเข้าใจไหม ยิ่งติดลบมากค่ายิ่งน้อยยยย ดังนั้นเราจะหาจำนวนเต็มลบที่น้อยที่สุดไม่ได้เด้อ แต่หาจำนวนเต็มลบที่มากที่สุดได้ก็คือเลข -1 นั่นเอง
ลองคิดแบบเป็นเรื่องแล้วกัน ถ้าติดลบคือเป็นหนี้ ถ้าบวกคือเงินสด
มาดูโจทย์ง่ายๆกันเลยจ้า
1+2 =3 เหตุผลคือบวกเลขปกติ
1-2 =-1 เหตุผลคือ เรามีเงิน 1 บาท ไปซื้อของ 2 บาท ดังนั้น เงินไม่พอจ่ายยังมีหนี้อยู่ -1 บาท
1-(-2)=3 เหตุผลคือ หากลบ 2 ตัวเจอกัน มันจะกลายเป็นบวก นั่นเองจ้า 1-(-2)=1+2
-1+2=1 เหตุผลคือ เป็นหนี้ตั้งแต่ครั้งก่อนอยู่ – 1 บาท ยายให้เงินมา 2 บาท ไปใช้หนี้ เงินเลยเหลือ 1 บาท
-1+(-2)=-3 เหตุผล คือ เป็นหนี้อีกแล้ว – 1 บาท ขอเซ็นของเพิ่มอีก -2 บาท เลยมีหนี้รวม – 3 บาท
-1-2=-3 เหตุผล -1-2 มาจาก -1+(-2) นั่นเองคำตอบจึงอันเดียวกัน
เป็นยังไงสำหรับการอธิบายแบบเป็นภาพหรือเปล่านะ
ทีนี้ขอแบบทางคณิตศาสตร์กัน
จริงๆแล้วจำนวนเต็มเราจะต้องเรียนเรื่องเส้นจำนวนเป็นเรื่องแรก หน้าตาประมาณนี้
ฝั่งซ้ายจำนวนเต็มลบ ตรงกลางจำนวนเต็มศูนย์ ฝั่งขวาจำนวนเต็มบวก
ขออธิบายเพียงเท่านี้สำหรับเส้นจำนวนเพราะยิ่งลึกยิ่งไม่ได้ใช้ 5555 ขอข้ามไป
แล้วมีหลักการว่าอย่างไร ดูกันเลย
จำนวนเต็มบวกเหมือนกันให้นำมาบวกกัน คำตอบเป็นจำนวนเต็มบวก +
จำนวนเต็มลบเหมือนกันให้นำมาบวกกัน คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบ -
แต่ถ้าต่างกันให้นำมาลบกัน แล้วใส่เครื่องหมายตามตัวเลขมาก
ตัวอย่างจ้า
-3-3 = -6 เครื่องหมายเหมือนกันบวกกันจ้า
3+3= 6 (3 ที่ไม่มีเครื่องหมายข้างหน้าคือจำนวนเต็มบวก)
หากมีเครื่องหมายซ้อนกันล่ะ
-(-3)+2=?
-(-(-3)+2 =?
ถ้าเครื่องเหมายเป็นเครื่องหมายต่างกันก็จะกลายเป็นลบจ้า
แต่ถ้าเหมือนกันเป็นและเป็นเครื่องเหมายบวกก็จะเป็นบวก
แต่ถ้าเหมือนกันเป็นลบให้ดูว่ามีเครื่องหมายจำนวนคู่หรือคี่
ตัวอย่าง
-(-3)+2= 3+2=5 ลบ 2 อันเป็นคู่จึงเป็น + 3
-(-(-3)+2 =-3+2=-1 ลบ 3 อันเป็นคี่จึงเป็น – 3
3+(-2)=3-2 =1 เครื่องหมายต่างกันจึงเป็น -2
2-15= -8 2 เป็นจำนวนเต็มบวก -15 เป็นจำนวนเต็มลบ ต่างกันจึงลบกัน เลข 15 มากกว่า 2 เลยตอบเป็นจำนวนเต็มลบตามเลข 15 นั่นเอง
มีประมาณนี้สำหรับการบวกลบ
แต่ถ้าเป็นการคูณหารล่ะ เราก็ใช้การคูณหารปกติเลย แล้วใส่เครื่องหมายโดยนับจำนวนลบที่มีหากมีเป็นคู่คำตอบจะเป็นจำนวนเต็มบวก หากมีเป็นคี่คำตอบจะเป็นจำนวนเต็มลบ
ตัวอย่างเช่น
(-3)x2x(-7)=42 มีลบ 2 อันเป็นคู่ คำตอบเลยเป็นจำนวนเต็มบวกนั่นเอง
-3x4x1x(-1)x(-1)x2= -24 มีลบ 3 อันเป็นคี่ คำตอบเป็นจำนวนเต็มลบ
โฆษณา