7 ก.ค. 2020 เวลา 03:30 • ประวัติศาสตร์
การปฏิวัติฝรั่งเศส ตอนที่ 2(ตอนจบ) : รัชสมัยแห่งความหวาดกลัวและการสถาปนา
เมื่อกลับมาถึงปารีส
พระเจ้าหลุยส์ที่16 และภรรยาของเขา พระนางมารีย์ อองตัวแน็ต(Marie Antoinette)ได้ถูกบังคับให้อยู่ภายในพระราชวังตุล์เลอรีย์(Tuileries Palace)
สมัชชาแห่งชาติได้อนุมัติ"สิทธิมนุษยชนและพลเมือง"
ซึ่งเป็นการขีดเส้นจำกัดให้กับพระเจ้าหลุยส์ที่16 และพรรคพวก
การที่เห็นอำนาจของตัวเองด้อยลง และความกลัวที่เหล่านักปฏิวัติจะยิ่งก่อตัวขยายใหญ่ขึ้น พระเจ้าหลุยส์ที่16 และครอบครัวจึงตั้งใจที่จะหนีออกจากประเทศ
ในคืนวันที่20 มิถุนายน1791 พระเจ้าหลุยส์ที่16 พระนางมารีย์ อองตัวแน็ตต์ และลูกของพวกเขาหลบหนีออกจากพระราชวังตุล์เลอรีย์ และพยายามจะหนีไปให้ถึงออสเตรีย เพื่อรับความช่วยเหลือจากบ้านเกิดของพระนางมารีย์ อองตัวแน็ตต์
ครอบครัวได้แอบหนีออกจากพระราชวังในปารีส ปลอมตัวเป็นคนใช้ และนำรถม้าออกมาทางชนบทของประเทศฝรั่งเศส มุ่งสู่ชายแดนที่ติดกับออสเตรีย
รถม้าได้มาถึงยังเมืองเล็กๆในจังหวัด”วาร็องเนซ์ “(Varennes)ประเทศฝรั่งเศส แต่รถม้าถูกหยุดลงโดยข้าราชการของจังหวัด ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ถูกจับได้
พวกนักปฏิวัติบังคับให้พระเจ้าหลุยส์ที่16 กับครอบครัวของเขากลับไปยังปารีส และปลดอำนาจอันน้อยนิดที่เขายังมีเหลืออยู่
พระเจ้าหลุยส์ที่16 ในตอนนี้ถูกมองเป็นเป็นกบฏของการฏิวัติแล้ว
"สภากงวองซิองแห่งชาติ"(Convention Nationale) ยึดอำนาจของสภานิติบัญญัติ และในตอนนี้สถานการณ์ก็ได้เริ่มดุเดือดขึ้นมาก
การประชุมแห่งชาติได้นำพระเจ้าหลุยส์ที่16 ขึ้นศาลอย่างรวดเร็ว เขาถูกตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏ และมีความพยายามที่จะหลบหนีการตัดสินโทษออกจากประเทศ จึงโดนต้องโทษประหารชีวิต
สมาชิกสภากงวอองซิอง "แมกซิมิเลียง โรแบ็สปีแยร์"(Maximilien Robespierre) หนึ่งในนักปฏิวัติที่มีชื่อเสียง ได้แสดงความคิดเห็นว่า “หลุยส์ต้องตาย เพื่อประเทศชาติจะได้อยู่ต่อไป”
ในวันที่ 21 มกราคม 1793 พระเจ้าหลุยส์ที่16 ถูกตัดศรีษะด้วยกิลโยตีน
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Hinrichtung_Ludwig_des_XVI.png
ไม่กี่เดือนต่อมา สภากงวองซิองประกาศอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับประเทศในแถบยุโรป รวมไปถึงสหราชอาณาจักรอังกฤษ สาธารณรัฐดัตช์(เนเธอร์แลนด์) และสเปน
ทำให้สภากงวอองซิองได้สร้างคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ(Committee of Public Safety) ในเดือนเมษายยน 1793
ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องสาธารณรัฐฝรั่งเศส จากการโจมตีของต่างประเทศ และการโจมตีจากภายใน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะนี้ได้มีบทบาทอย่างมากใน”รัชสมัยแห่งความหวาดกลัว”(Reign of Terror)
รัชสมัยแห่งความหวาดกลัวเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน1793 ถึงกรกฏาคม1794
ช่วงรัชสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่เกิดความรุนแรง และความหวั่นวิตกอย่างหนักหน่วง
ยิ่งนักปฏิวัติหัวรุนแรงมีมากขึ้นเท่าไหร่ พวก"ฌากอแบงส์" (Jacobins เป็นชื่อของพรรคหัวรุนแรงในสมัยนั้น) ก็กังวลว่าจะเกิดการคุกคามจากภายนอกและภายในประเทศ
พวกเขาจึงใช้อำนาจของตัวเองจัดการสิ่งที่ดูเป็นภัยคุกคาม
ความวิตกกังวลนี้นั่นเองที่เป็นสาเหตุในบั่นคอของผู้คนนับพันด้วยกิลโยตีน
และช่วงนี้ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการประหารของพระนางมารีย์ อองตัวแน็ตต์
พระนางมารีย์ อองตัวแนตต์ เดิมทีเป็นชาวออสเตรีย
เธอได้แต่งงานกับพระเจ้าหลุยส์ที่16 ตั้งแต่ที่อายุยังน้อย
ในช่วงเวลาที่เธอได้ขึ้นเป็นราชินีของฝรั่งเศส ผู้คนมักจะโทษว่าเป็นความผิดของเธอ ที่ทำให้เศรษฐกิจแย่ลง
ในเดือนตุลาคมปี1793 เหล่านักปฏิวัติจับเธอคุมขังด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏในวันที่12 ตุลาคม 1793
และถูกตัดศรีษะด้วยกิลโยตีนในวันที่ 16 ตุลาคมปีเดียวกันนั้น
หลังจากการประหารพระนางมารีย์ อองตัวแน็ตต์ การปฏิวัติฝรั่งเศสยังคงดำเนินต่อ ด้านความรุนแรงอย่างที่รัชสมัยแห่งความหวาดกลัวได้เพิ่มความน่าหวาดกลัวอย่างสุดขีด
มันเป็นช่วงเวลาที่แม็กซิมิเลียง โรแบ็สปีแยร์ เริ่มที่จะมีอำนาจมากขึ้นในช่วงการปฏิวัติ
ในเวลาหลายเดือนตลอดปี1794 โรแบ็สปีแยร์ ได้ต่อสู้กับเหล่านักปฏิวัติทั้งหลายในสภากงวอองซิองเกี่ยวกับความภักดีในการปฏิวัติ
มันเป็นช่วงเวลาที่นักปฏิวัติผู้โดดเด่นหลายคนในสภากงวอองซิองถูกตัดคอด้วยข้อหาว่าเป็นผู้ทรยศหรือกบฏต่อการปฏิวัติ
ท้ายที่สุดโรแบ็สปิแยร์ได้รับเลือกเป็นประธานสภากงวองซิองในวันที่ 4 มิถุนายน 1794
https://en.wikipedia.org/wiki/Maximilien_Robespierre
หลังจากการกระทำของโรแบ็สปีแยร์ และช่วงรัชสมัยแห่งความหวาดกลัว
สภากงวอองซีองถูกแทนที่โดยดิแร็กตัวร์(Directoire / The Directory)
https://www.wikiwand.com/en/Coup_of_18_Brumaire
โดยดิแรกตัวร์เป็นชื่อของกลุ่มคณะกรรมการห้าคนที่ปกครองใน “สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งแรก” ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2338
จนถึงวันที่นโปเลียน โบนาปาร์ทโค่นล้มลง ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342
ในเหตุการณ์รัฐประหาร18 Brumaire ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ทำให้นโปเลียนกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในฝรั่งเศส ด้วยตำแหน่งกงสุลเอก
และหลังรัฐประหาร มีการสถาปนาคณะรัฐบาลใหม่ที่เรียกว่คณะกงสุลฝรั่งเศสขึ้นมาแทนคณะดิแร็กตัวร์ถือเป็นจุดสิ้นสุดสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
https://napoleonbonaparte.fandom.com/wiki/Napoleon_I
เกร็ดความรู้! : สภากงวองซีออง หรือ Convention Nationale (National Convention ในภาษาอังกฤษ) คือคณะการปกครองประเทศฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเริ่มทำการปกครองตั้งแต่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 ถึง 26 ตุลาคม ค.ศ. 1795 โดยทำหน้าที่บริหารประเทศและควบคุมอำนาจบริหารในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
เกร็ดความรู้! :"The Jacobins" หรือ"ฌากอแบงส์"มีชื่อเดิมว่า "สมาคมเหล่าสหายของรัฐธรรมนูญ" (Société des amis de la Constitution) จนมีการเปลี่ยนชื่อในปี 1792 เป็น "สมาคมฌากอแบ็ง สหายของเสรีภาพและความเสมอภาค" (Société des Jacobins, amis de la liberté et de l'égalité) หรือเรียกอีกอย่างว่า "สโมสรฌากอแบ็ง" (Club des Jacobins) เป็นสโมสรทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
ก่อตั้งในช่วงการประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789
จากการรวมกลุ่มของพวกผู้แทนจากดัชชีเบรอตาญ อันเป็นพวกต่อต้านระบอบกษัตริย์
เริ่มแรกมีสมาชิกไม่กี่คนและเป็นการรวมตัวอย่างลับๆ
ก่อนที่ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นขบวนการระดับชาติ ที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้จัดตั้งสาธารณรัฐซึ่งมีสมาชิกมากกว่าครึ่งล้านคน อย่างไรก็ตาม หลังจากโค่นล้มระบบกษัตริย์สำเร็จและจัดตั้งสาธารณรัฐแล้ว สโมสรฌากอแบ็งได้มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายออกเป็นสองขั้วหลัก คือ ฝ่ายลามงตาญ (La Montagne) และฝ่ายฌีรงแด็ง (Girondin) ต่างฝ่ายต่างพยายามแย่งชิงอำนาจทางการเมือง
เกร็ดความรู้! : ดิแร็กตัวร์ (Directoire หรือ The Directory) เป็นคณะกรรมการห้าคนที่ปกครองใน “สาธารณรัฐฝรั่งเศสแห่งแรก”ตั้งแต่วันที่2 พฤศจิกายน1795
จนถึงวันที่"นโปเลียน โบนาร์ปาร์ท" ได้โค่นล้มดิแร็กตัวร์ลง ในวันที่9 พฤศจิกายน1799 ในเหตุการณ์"รัฐประหาร18 Brumaire"
เกร็ดความรู้! : รัฐประหาร18 Brumaire (Coup d'État du 18 brumaire)
เป็นแผนรัฐประหารของนายพล"นโปเลียน โบนาปาร์ท"
เริ่มขึ้นในวันที่9 พฤศจิกายน1799 ซึ่งตรงกับวันที่18 เดือนบรูว์แมร์ ปีที่8 ตามหลักปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นรัฐประหารซ้อนรัฐประหาร(ในขณะที่สภากำลังทำรัฐประหารยึดอำนาจคณะดีแร็กตัวร์ ก็ถูกนโปเลียนทำรัฐประหารซ้อน)
รัฐประหารครั้งนี้ทำให้นโปเลียนกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในฝรั่งเศส
และถือเป็นจุดสิ้นสุดสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
รัฐประหารครั้งนี้ไม่มีการหลั่งเลือด
หลังรัฐประหาร มีการสถาปนาคณะรัฐบาลใหม่ที่เรียกว่า"คณะกงสุลฝรั่งเศส"ขึ้นมาแทนคณะดีแร็กตัวร์
เอาล่ะค่ะ จบไปแล้วกับเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส มหากาพย์ล้มล้างระบอบกษัตริย์
แต่ แต่ เดี๋ยวก่อน! ฝรั่งเศสน่ะเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการปฏิวัติเลยนะคะ
นั่นหมายความว่ายังมีเรื่องราวมากกว่านี้อีกน่ะสิคะ
ทุกคนเคยได้ยินเรื่อง Les Misérables กันหรือเปล่า? นิยายสุดโด่งดังของ"วิคตอร์ อูโก้" นั่งประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ผู้แต่งคนเดียวกันกับผลงานสุดคลาสสิคอย่าง"The Hunchback of Notre-Dame" ที่ถูกสร้างเป็นการ์ตูนของดิสนีย์นั่นเอง
โดยใน Les Misérables เนี่ย จะเป็นเรื่องราวชีวิตของประชาชนที่ลำบากยากเข็นในช่วงการฏิวัติฝรั่งเศส....
แต่มันไม่ใช่การปฏิวัติครั้งนี้ในบทความนี้หรอกนะ!
เอาไว้ในบทความต่อไป จะมาเล่าให้ฟังกันนะคะ อิอิ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.historycrunch.com/french-revolution-overview.html#/
โฆษณา