7 ก.ค. 2020 เวลา 11:43 • ธุรกิจ
เขียนแผนธุรกิจภายใน 20 นาทีด้วย “Business Model Canvas”
9
ถ้าคุณจะทำธุรกิจ แผนธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันจะเป็นเสมือนหางเสือที่ช่วยกำหนดทิศทางให้กับคุณ อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยบอกว่าคุณควรจะทำหรือไม่ควรทำอะไร
ซึ่งแผนธุรกิจที่ดีนั้นไม่ควรอยู่เพียงแค่ในสมองของคุณ เพราะพอเวลาผ่านไป คุณอาจจะลืมแผนที่คุณวางไว้ได้ หรือทีมงานของคุณอาจจะเห็นภาพธุรกิจไม่ตรงกันกับคุณ
เพราะฉะนั้นมันเลยเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องเขียนแผนธุรกิจขึ้นมา
แต่การจะเขียนแผนธุรกิจแบบลงรายละเอียดนั้นต้องใช้เวลา วันนี้ผมก็เลยมีทางเลือกที่ทำได้เร็วกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า มาแนะนำให้กับคุณ
ซึ่งก็คือการเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas ที่สามารถเขียนแผนธุรกิจได้จบภายใน 1 แผ่น และถ้าคุณมีแผนในหัวอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าคุณจะใช้เวลาไม่นานในการเขียนมันออกมาแน่ๆ ครับ
Business Model Canvas คืออะไร? มีวิธีการเขียนยังไง? และจะเขียนออกมาให้ดีได้ยังไง? เดี๋ยวผมจะเอามาขยายความในบทความนี้ครับ 😃
อ่านบนเว็บ อ่านง่าย สบายตากว่าได้ที่ https://sitthinunt.com/entrepreneurship/write-business-plan/
1
ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ Entrepreneurship, Self-Development, Talent Management & Productivity เป็นประจำ
ไม่พลาดบทความดีๆ ที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพียงเลือกติดตามผ่านทางช่องทางด้านล่าง :)
4. LINE: https://lin.ee/ac2WqRU หรือแอด LINE ID: @sitthinunt
หรือเข้าไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในเว็บไซต์อื่นของผมได้ที่ https://magnetolabs.com/blog/ และ https://contentshifu.com/author/bank/
Business Model Canvas คืออะไร?
Business Model Canvas คือเทมเพลตการเขียนแผนธุรกิจขนาดกะทัดรัดจำนวน 1 หน้า ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดยบริษัทที่ชื่อว่า Strategyzer (https://www.strategyzer.com/) ประกอบไปด้วยช่อง 9 ช่องที่ครอบคลุมทุกมิติในการวางแผนสำหรับธุรกิจของคุณ
Note: หลักการและเหตุผลต่างๆ แทบจะทั้งหมดในบทความนี้ผมอ้างอิงมาจาก Strategyzer นะครับ สิ่งที่ผมทำในบทความนี้คือยกตัวอย่างและให้ความเห็นจากประสบการณ์ของตัวเองนะครับ 🙂
โดยที่รูปครึ่งซ้ายหมายความรวมถึงแผนในการบริหารจัดการ Back Stage ของคุณ (พวก Finance, HR และ Operation) และในรูปครึ่งขวาหมายถึงการบริหารจัดการ Front Stage (พวก Marketing, Sales และ Service)
ซึ่งถ้าลงรายเอียดเพิ่มเติม ทั้ง 9 ช่องนี้ประกอบไปด้วย
Infrastructure
1
1. Key Activities (กิจกรรมหลักที่ต้องทำ)
2
สิ่งที่คุณต้องตอบได้ในข้อนี้คือกิจกรรมหลักที่คุณจะต้องทำเพื่อส่งมอบคุณค่า (Key Activities) ของสินค้าหรือบริการของคุณมีอะไรบ้าง
ตัวอย่างของกิจกรรมหลักที่ต้องทำมีหลายอย่างเช่น
- Production
เช่นการออกแบบ การผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือการซ่อมบำรุง เป็นต้น
- Research & Development
เช่นการพัฒนาสินค้า การพัฒนาขั้นตอนการทำงาน หรือการสร้างสรรค์นวัติกรรมใหม่ๆ เป็นต้น
- Marketing
เช่นการวางแผนการตลาด การทำแคมเปญ การซื้อสื่อ หรือการวิเคราะห์คู่แข่ง เป็นต้น
- Sales & Customer Service
เช่นการขาย การให้บริการลูกค้า เป็นต้น
2. Key Resources (ทรัพยากรหลักที่ต้องใช้)
การจะทำของออกมาขาย คุณจะต้องมีทรัพยากรที่ใช้เพื่อสร้างหรือทำของขึ้นมา
ซึ่งคำว่าทรัพยากร หรือ Resource นั้นแบ่งง่ายๆ ออกเป็น 4 อย่างด้วยกันได้แก่
- Physical Resources (ทรัพยากรที่จับต้องได้) เช่นวัตถุดิบ สินค้า หรือพวก Raw Materials ต่างๆ
- Human Resources (ทรัพยากรบุคคล) เช่นพนักงานในบริษัทของคุณ หรือฟรีแลนซ์ เป็นต้น
- Intellectual Resources (ทรัพยากรทางปัญญา) เช่นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือข้อมูล เป็นต้น
- Financial Resources (ทรัพยากรทางการเงิน) เช่นลงเงินทุน
3. Key Partners (พันธมิตรทางธุรกิจหลักที่ร่วมมือด้วย)
แน่นอนว่าคุณคงจะไม่ได้ทำงานเพียงแค่คนเดียว (หรือบริษัทเดียว) โดยที่ไม่มีความร่วมมือกับใคร
ข้อมูลที่คุณต้องใส่ในข้อนี้เป็นข้อมูลของคน/บริษัทที่คุณจะทำธุรกิจด้วย (หรือคน/บริษัทที่คุณต้องพึ่งพาอาศัย) โดยปกติแล้ว Key Partners จะแบ่งออกได้เป็น 4 แบบด้วยกัน ได้แก่
- Strategic alliances between non-competitors
การร่วมมือกับคนหรือบริษัทที่ไม่ใช่คู่แข่ง เช่นการที่บริการ Delivery จับมือกับธนาคารเพื่อปล่อยเงินกู้
- Coopetition
การร่วมมือกับคู่แข่ง เช่นสายการบินต่างๆ ร่วมมือเป็นพันธมิตรธุรกิจ (ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ ก็ Star Alliance)
- Joint Ventures to develop new businesses
การร่วมมือเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ เช่น Wongnai + LINE + Lalamove = LINE Man
- Buyer-supplier relationships
ความสัมพันธ์แบบผู้ซื้อ-ผู้ขาย เช่นบริษัทเครื่องดื่มเป็นพันธมิตรกับโรงงานบรรจุขวด
Offerings
1
4. Value Proposition (คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า)
การทำธุรกิจคือการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าเพราะฉะนั้นคุณต้องตอบตัวเองถึงการมีอยู่ของธุรกิจของคุณให้ได้
ผมคิดว่า Format ด้านล่างนี้ของ Steve Blank เป็นตัวเริ่มต้นที่ดีในการเขียน Value Proposition ครับ
“We help X do Y by doing Z” หรือแปลเป็นไทยว่า เราช่วย X ทำ Y โดยที่เราทำ Z
โดยที่ X คือกลุ่มลูกค้าที่คุณหมายตา Y คือสิ่งที่เขาจะได้รับและ Z คือสิ่งที่คุณส่งมอบ
ถ้าคุณอยากระดมไอเดียและตกผลึกเรื่องนี้มากขึ้น คุณสามารถลองไปใช้ Value Proposition Canvas ได้ครับ
https://steveblank.com/2011/09/22/how-to-build-a-web-startup-lean-launchpad-edition/
ตัวอย่างทางด้านบนคือตัวอย่างของ Value Proposition Canvas ซึ่งคุณสามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมและดูตัวอย่างการเขียนได้ที่นี่ครับ
Customers
5. Customer Segments (กลุ่มลูกค้า)
โดยปกติแล้ว Custom Segment จะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มได้แก่
- Mass Market
กลุ่มเป้าหมายกว้างๆ แบบที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากนัก โดยมากแล้วกลุ่มลูกค้าแบบนี้จะเป็นกลุ่มลูกค้าของสินค้าที่เป็น Consumer Product (สินค้าอุปโภคบริโภค) เช่นอาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ภายในบ้าน เป็นต้น
- Niche Market
กลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง โดยมากแล้วกลุ่มลูกค้าแบบนี้จะเป็นกลุ่มลูกค้าของสินค้าหรือบริการที่เป็น High-involvement (คนต้องคิดและพิจารณาก่อนตัดสินใจ) เช่นบริการที่ปรึกษาสำหรับผู้บริหารระดับสูง บริการทางด้านกฏหมายสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นต้น
- Segmented
กลุ่มเป้าหมายแบบแบ่งส่วน โดยที่คุณมีกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการหรือปัญหาที่แตกต่างกันมากกว่า 1 กลุ่ม ซึ่งสินค้าหรือบริการสามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือปัญหาได้กับทุกกลุ่ม เพียงแต่ต้องบิดมุมในการนำเสนอ ตัวอย่างเช่นบริการทางกฏหมายสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ และบริการทางกฏหมายมรดก (คุณยังคงส่งมอบบริการทางกฏหมายอยู่ เพียงแต่ความต้องการของทั้ง 2 กลุ่มจะต่างกัน)
1
- Diversify
กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน โดยที่คุณใช้ความสามารถหรือทรัพยากรที่คุณมีในการสร้างสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกันเพื่อกลุ่มคนที่แตกต่างกัน เช่นบริษัทของคุณเป็นบริษัทรับจ้างทำเว็บไซต์ให้กับองค์กรใหญ่ ในขณะเดียวกันคุณอาจจะมีลูกค้าอีกกลุ่มที่มาใช้งานระบบ Delivery สำหรับร้านอาหารที่คุณสร้างไว้ (ทรัพยากรที่คุณมีอยู่คือทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ในการพัฒนาโปรแกรม)
1
- Multi-sided
กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยที่คุณเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อทั้ง 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่นคุณเป็น Marketplace Platform ในการขายของเกี่ยวกับบ้าน กลุ่มเป้าหมายของคุณจะมีทั้งคนที่ขายของเกี่ยวกับบ้าน และคนซื้อของเกี่ยวกับบ้าน
Note: ไม่ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณเป็นแบบไหน สิ่งที่คุณควรทำขึ้นมาคือ Buyer Persona
6. Channels (ช่องทาง)
สินค้าหรือบริการของคุณจะส่งไปไม่ถึงลูกค้าเลยถ้าคุณไม่มี “ช่องทาง”
ช่องทางสามารถแบ่งง่ายๆ ออกมาได้ 3 รูปแบบได้แก่ Owned, Earned และ Paid
- Owned – ช่องทางที่คุณเป็นเจ้าของเช่นเว็บไซต์ หน้าร้านของคุณเอง แอคเคาท์ Social Media ต่างๆ (ตรงส่วนนี้จริงๆ แล้วเป็นกึ่ง Owned กึ่ง Rented คือคุณเพจเป็นของคุณนั่นแหละ แต่เจ้าของสุดท้ายจริงๆ คือเจ้าของ Social Media Platform)
อ่านเพิ่มเติม: ทำไมต้องมีเว็บไซต์? ในเมื่อการทำธุรกิจบนบนโซเชียล หรือช่องทางอื่นๆ ก็ดีอยู่แล้ว (https://contentshifu.com/blog/why-website/) และ รู้ก่อน รอดก่อน! เหตุผลที่คุณไม่ควรพึ่งแต่ Social Media ในการทำธุรกิจ (https://contentshifu.com/blog/why-you-should-no-rely-on-social-media/)
1
- Earned – การที่คนอื่นไม่ว่าจะเป็น Media, Key Opinion Leader หรือ Influencer ช่วยโปรโมตธุรกิจ สินค้าหรือบริการของคุณโดยที่คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
อ่านเพิ่มเติม: Influencer Marketing: จับมือคนดัง สร้างแคมเปญออนไลน์ (https://contentshifu.com/blog/influencer-marketing/)
- Paid – การจ่ายเงินให้ Media (เช่นการซื้อโฆษณาบน Social Media, Search Engine, TV หรือสื่อออฟไลน์อื่นๆ), Key Opinion Leader หรือ Influencer ช่วยโปรโมตแบรนด์ สินค้าหรือบริการของคุณ
อ่านเพิ่มเติม: 5 เรื่องง่าย ๆ ที่คนมักจะเข้าใจผิดในการเริ่มทำ Facebook Ads (https://contentshifu.com/blog/facebook-ads-beginners-mistakes/), Google Ads / Google AdWords 101: สอนมือใหม่หัดลงโฆษณากับ Google (https://contentshifu.com/google-ads-adwords-101/) และ SEM คืออะไร เรียนรู้การทำ SEM ง่ายๆ ได้ในบทความเดียว (https://contentshifu.com/what-is-sem/)
7. Customer Relationship (ความสัมพันธ์กับลูกค้า)
ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจของคุณกับลูกค้าเป็นอย่างไร?
โดยปกติแล้วความสัมพันธ์กับลูกค้าสามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 อย่างด้วยกัน (ใน 1 ธุรกิจสามารถมีความสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากกว่า 1 แบบ) ได้แก่
- Personal Assistance
ความสัมพันธ์แบบผู้ช่วยส่วนบุคคล ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะมีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแบบรายบุคคล ตัวอย่างของธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้เช่นร้านตัดผม ร้านสูทแบบสั่งตัด
- Dedicated Personal Assistance
ความสัมพันธ์แบบผู้ช่วยส่วนตัว ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้เป็นการขายสินค้าหรือบริการแบบบุคคลเช่นเดียวกับแบบก่อนหน้า แต่จะมีความลึกซึ้งกว่าเช่นจะต้องจำชื่อ หน้า รสนิยม และความชอบของลูกค้าได้ ตัวอย่างของธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้เช่น Digital Agency ที่ให้บริการลูกค้าเจ้าใหญ่ หรือหลักทรัพย์ให้บริการบริหาร Porfolio ส่วนบุคคลสำหรับคนที่ลงทุนเป็นจำนวนมาก
- Self-Service & Automated Services
ความสัมพันธ์แบบที่ลูกค้าช่วยตัวเอง ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง โดยที่ถ้าเป็น Self Service คือการที่ลูกค้าบริการตัวเองเช่นการหยิบของที่ต้องการใน Supermarket แล้วทำการจ่ายเงินที่ Self-Service Checkout ส่วนถ้าเป็น Automated Services คือการที่ลูกค้าแทบจะไม่ต้องทำอะไรด้วยตัวเองเลย ตัวอย่างเช่นบริการ Streaming ที่แนะนำหนังที่น่าสนใจให้กับลูกค้าโดยอัตโนมัติ
- Communities
ความสัมพันธ์แบบเครือข่าย ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Social Network ต่างๆ หรือเครือข่ายสำหรับคนออกกำลังกาย เป็นต้น
- Co-Creation
ความสัมพันธ์แบบช่วยกันสร้าง ธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แบบนี้มักจะนำเอาลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ตัวอย่างเช่นการเว็บขายหนังสือเปิดให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการรีวิวและกำหนดความนิยมของหนังสือ หรือร้านไอศครีมเปิดให้ลูกค้าโหวตว่าอยากจะกินไอศครีมรสใหม่รสไหน เป็นต้น
Finances
8. Cost Structure
โครงสร้างต้นทุนเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ธุรกิจของคุณไปต่อได้ ถ้าต้นทุนคุณสูง คุณก็อาจจะทำราคาแข่งกับคนอื่นยาก ถ้าต้นทุนคุณต่ำ มันอาจจะเป็นหนึ่งในจุดแข็งของธุรกิจของคุณ
โดยปกติแล้วการแบ่งประเภทต้นทุนมีหลากหลายแบบมาก (ถ้าอยากรู้เรื่องการแบ่งประเภทต้นทุนเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่ครับ)
สำหรับตัว Business Model Canvas ปกติเวลาผมเขียนเรื่อง Cost Structure ผมจะชอบใช้วิธีการจำแนกต้นทุนตามหน้าที่งานในกิจการ (Functions or Operations of a Business) เช่น Marketing Cost, Production Cost, Administrative Cost และอื่นๆ ตามสายงาน สาเหตุนั้นเป็นเพราะการแบ่งอย่างนี้ทำให้ผมเห็นภาพรวมถึงต้นทุนที่ผมมีสำหรับธุรกิจนั้นๆ ได้ง่าย เช่นถ้าผมจะทำธุรกิจซอฟต์แวร์ให้บริการทำบัญชีออนไลน์ ต้นทุนหลักๆ ผมก็คงจะมีเงินเดือนพนักงานสำหรับฝ่ายต่างๆ (เช่น Developer, Designer หรือ Marketer เป็นต้น) ค่าเซอร์เวอร์ ค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาธุรกิจ ค่าเช่าออฟฟิศ
สำหรับ Cost Structure รูปแบบอื่นนั้นอาจจะเหมาะสำหรับการใช้งานตอนที่คุณวิเคราะห์ตัวเลข หรือทำบัญชีมากกว่า
Note: ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านต้นทุนนะครับ ถ้าบังเอิญว่ามีใครที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้แล้วคิดว่ามีวิธีการที่ง่ายและเห็นภาพมากกว่าในตอนที่เขียน Business Model Canvas สามารถแนะนำผมและผู้อ่านคนอื่นๆ ได้นะครับ 🙂
9. Revenue Streams
รายได้เป็นเหมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงธุรกิจของคุณ ถ้าคุณมีรายได้เยอะ (เยอะกว่ารายจ่ายมากๆ) คุณก็จะมีโอกาสในการนำรายได้ที่ได้มาไปพัฒนาด้านต่างๆ ของธุรกิจของคุณและทำให้มันเติบโต
ซึ่งแหล่งที่มาของรายได้มีหลากหลายเช่น
- Asset Sales
การขายสินค้าที่จับต้องได้ (Tangible product) เช่นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ อาหาร หรือเครื่องดื่ม เป็นต้น
- Service Fee
การขายบริการ (Intangible product) เช่นการให้บริการที่ปรึกษาทางกฏหมาย หรือการให้บริการการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
- Usage Fee
การขายตามการใช้งานของลูกค้า (ใช้น้อยจ่ายน้อย ใช้มากจ่ายมาก)เช่นแพ็คเกจอินเตอร์เน็ต
1
- Subscription Fee
การขายค่าใช้บริการเป็นรายเดือน/รายปีแบบเหมาๆ เช่นบริการ Streaming หนังที่ให้คุณจ่ายเดือนละหลักร้อยบาทแต่ดูได้แบบไม่จำกัด
2
- Lending/Renting/Leasing
การให้ยืมหรือให้เช่าเช่าธุรกิจชุดแต่งงานที่จ่ายค่าเช่าชุด พอเอาไปใช้เสร็จแล้วต้องเอาชุดมาคืน
1
- Licensing
การให้ลิขสิทธิ์ เช่นบริษัทผลิตภาพยนตร์ขายสิทธิ์ตัวละครเพื่อให้บริษัทอื่นนำไปสร้างเป็น Model Fiction
- Brokerage fees
ค่าธรรมเนียมนายหน้า เช่นคุณจ้างโบรกเกอร์ในบริษัทหลักทรัพย์ให้ซื้อขายหุ้นให้กับคุณ เมื่อมี Transaction เกิดขึ้น โบรกเกอร์จะได้เงินจากการซื้อขายหลักทรัพย์
- Advertising
การจ่ายค่าโฆษณา เช่นการที่คุณจ่ายเงินซื้อ Facebook Ads, Google Ads หรือโฆษณาในโทรทัศน์ เป็นต้น
ในความเห็นของผม ตอนที่คุณเขียนแผนธุรกิจ ผมแนะนำให้คุณลิสต์แหล่งรายได้ที่เป็นไปได้ออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน จากนั้นค่อยเลือกตัดให้เหลือเฉพาะตัวที่คุณคิดว่าน่าสนใจหรือตัวที่คิดว่าเป็นไปได้
การทำแบบนี้จะทำให้คุณคิดถึงทุกๆ ความเป็นไปได้ในการหารายได้ให้กับธุรกิจของคุณครับ
คำแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจโดยใช้ Business Model Canvas
1. ค่อยๆ เขียนทีละข้อ เป็นลำดับไป
การเขียน Business Model Canvas ที่ดีนั้นไม่ได้เขียนจากซ้ายไปขวา ขวามาซ้าย แต่เป็นการเขียนโดยอ้างอิงจาก “ตลาด” ก่อน
เพราะฉะนั้นข้อมูลช่องแรกที่คุณควรใส่คือกลุ่มลูกค้า (Customer Segments) คุณต้องเห็นก่อนว่าใครคือกลุ่มลูกค้าของคุณ เมื่อทราบแล้วว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร สิ่งถัดมาที่คุณควรคิดคือคุณมีคุณค่า (Value Proposition) อะไรที่จะส่งมอบให้คนกลุ่มเหล่านี้ จากนั้นก็มาดูต่อว่าจะส่งมอบคุณค่าของคุณให้กลุ่มคนเหล่านี้ผ่านช่องทาง (Channel) ไหนและด้วยความสัมพันธ์ (Customer Relationship) แบบไหน
จากนั้นมาดูต่อว่าคุณจะหารายได้ (Revenue Streams) ยังไง และจะต้องใช้ทรัพยากร (Key Resources) กิจกรรม (Key Activities) และพันธมิตร (Key Partners) อะไรบ้างเพื่อทำให้คุณส่งมอบสินค้าหรือบริการได้
และค่อยมาดูต่อว่าค่าใช้จ่าย (Cost Structure) ที่ทำให้คุณดำเนินธุรกิจได้มีอะไรบ้าง
การเขียนแผนธุรกิจ Business Model Canvas ด้วยลำดับขั้นตอนแบบนี้จะทำให้คุณไล่เรียงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
2. หลายหัวดีกว่าหัวเดียว
ถ้าคุณมีหุ้นส่วนทางธุรกิจ การชวนหุ้นส่วนของคุณมาสุมหัวช่วยกันคิดแผนธุรกิจจะทำให้ครอบคลุมกว่าการที่คุณคิดคนเดียว
คำแนะนำของผมเวลาระดมสมองกับหุ้นส่วนของคุณให้พิมพ์ตาราง Business Model Canvas ออกมาและใช้ “Post It” ในการระดมสมอง
สาเหตุนั้นเป็นเพราะทุกครั้งที่เกิดการแชร์ไอเดีย มีโอกาสสูงมากที่คุณและหุ้นส่วนธุรกิจจะมีมุมมองไม่เหมือนกัน และเมื่อออกความเห็นมาแล้ว จะต้องมีการถกเถียงกัน
การใช้ Post It จะทำให้คุณสามารถดึงมันเข้าออก ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจโดยอิงจากข้อสรุปของคุณและหุ้นส่วนธุรกิจได้อย่างง่ายๆ
Note: ถ้าคุณเป็นคนที่คิด Business Model Canvas คนเดียว ผมแนะนำให้คุณไปลองใช้เครื่องมือออนไลน์อย่าง Canvanizer หรือ Leanstack ซึ่งจะมีระบบที่ช่วยให้คุณสามารถเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas ออนไลน์ได้อย่างง่ายๆ ครับ
3. ศึกษาตัวอย่างจากคนอื่น
ถ้าคุณพึ่งเคยเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas เป็นครั้งแรก คุณอาจจะรู้สึกงงงวยและเขียนมันออกมาไม่ได้
วิธีแก้เรื่องนี้คือให้คุณลองไปหาตัวอย่างการเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas จากที่อื่นมาเป็นตัวอย่างครับ
วิธีการง่ายๆ เลยให้คุณเข้า Google แล้วค้นหาคำว่า “Business Model Canvas Example”, “Business Model Canvas ตัวอย่าง” หรือไม่ก็ “Business Model Canvas + รูปแบบธุรกิจของคุณ” ครับ
จากรูปทางด้านบนที่ผมลองไปค้นหาใน Google ดู จะเห็นได้ว่ามีตัวอย่างให้คุณดูค่อนข้างหลากหลายครับ
สรุป
และนี่คือวิธีการเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas นะครับ
ถ้าคุณอ่านบทความนี้จบและพยายามทำความเข้าใจในแต่ละหัวข้อที่ผมเขียนถึง และถ้าคุณมีภาพของธุรกิจของคุณในหัวที่ชัดเจนอยู่แล้ว คุณจะสามารถสร้างแผนธุรกิจออกมาได้โดยใช้เวลาไม่ถึง 20 นาทีแน่ๆ ครับ
สิ่งที่อยากฝากไว้คือ อย่างที่เกริ่นไปในตอนแรกว่าการเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas นั้นเป็นการเริ่มต้นเขียนแผนธุรกิจอย่างง่ายๆ
ซึ่งถ้าคุณตัดสินใจที่จะต้องทำธุรกิจอะไรอย่างจริงจังแล้ว ผมแนะนำให้คุณลงรายละเอียดในแต่ละส่วนเพิ่มเติมด้วยนะครับ
สุดท้ายผมขออวยพรให้ธุรกิจใหม่ของคุณที่เกิดจากการเขียนแผนธุรกิจด้วย Business Model Canvas ประสบความสำเร็จนะครับ 🙂
ผมทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ Entrepreneurship, Self-Development, Talent Management & Productivity เป็นประจำ
ไม่พลาดบทความดีๆ ที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพียงเลือกติดตามผ่านทางช่องทางด้านล่าง :)
หรือเข้าไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในเว็บไซต์อื่นของผมได้ที่ https://magnetolabs.com/blog/ และ https://contentshifu.com/author/bank/
โฆษณา