Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โลกของสมอง
•
ติดตาม
7 ก.ค. 2020 เวลา 01:50 • สุขภาพ
คำถามเกี่ยวกับโรคลมชัก
ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์
คำถามเกี่ยวกับโรคลมชัก Q&A in Epilepsy
1. โรคลมชักสามารถรักษาหายได้หรือไม่
คำตอบ คือ สามารถรักษาให้หายขาดได้ในโรคลมชักในเฉพาะกลุ่ม และตาม ลักษณะอาการชักนั้นฯ ยกตัวอย่าง เช่น โรคลมชักที่มีลักษณะชักแบบที่มีไฟฟ้าออกมาทั้งสองข้าง (Generalized epilepsy) ซึ่งมีลักษณะจำเพาะ และการรักษาทานยาเป็นระยะเวลาสองปีและไม่มีอาการชักอีกเลย ก็จะมีโอกาสสูงที่จะหยุดยากันชักและไม่มีอาการชักอีก ส่วนอาการของโรคลมชักที่มี. กำเนิดไฟฟ้าเป็นจุด ก็มีโอกาสที่จะหยุดยากันชักได้เมื่อได้รับการรักษาทางยาเป็นเวลาอย่างน้อยสามถึงห้าปี แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องมีเงื่อนไข เช่น มักจะไม่ตรวจพบว่ามีรอยโรคในสมองจากการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง มีการรักษาโดยการทานยากันชักเพียงตัวเดียวก็สามารถคุมอาการชักได้ ไม่มีความผิดปกติของการพัฒนาการทางสมอง ไม่มีความผิดปกติของการควบคุมระบบประสาทของสมอง หรือ มีผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นปกติหลังจากได้ทานยาครบตามกำหนดเวลา เป็นต้น ดังนั้นแล้วมีข้อแนะนำว่าเมื่อจะมีการพิจารณาว่าจะมีการลดยาหรือหยุดยากันชักได้หรือไม่จะต้องมีการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อน หรือมีการตรวจเช็คขึ้นไฟฟ้าสมอง ก่อนจะพิจารณาที่จะหยุดยากันชัก
2. การรักษาโรคลมชักโดยการกระตุ้นไฟฟ้าสมองด้วยอุปกรณ์มีกี่ชนิด
คำตอบ ปัจจุบันมีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าสมองอยู่สามชนิด แต่ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทยไม่อยู่แค่สองชนิดเท่านั้น
Vagal nerve stimulation (VNS)
1. ชนิดแรก คือ Vagal nerve stimulation (VNS) เป็นการกระตุ้นเส้นประสาท Vagaus nerve. โดยการฝังด้วยลวดที่เส้นประสาทนี้บริเวณลำคอทางซ้าย และเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ที่อยู่ตรงบริเวณใต้หน้าอกบริเวณรักแร้ข้างซ้าย อุปกรณ์ทุกอย่างจะฝังอยู่ใต้ผิวหนัง หลักการก็คือจะมีการตั้ง โปรแกรมกระตุ้นเส้นประสาท vagus nerve ที่บริเวณลำคอเพื่อทำให้อาการชักลดลง โดยผ่านทางกลไกที่ยังไม่ทราบชัดเจน วิธีการนี้อาจจะทำให้อาการชักลดลงได้ถึง 50% แต่โอกาสที่จะทำให้หายขาดจากชักเลยมีได้น้อยกว่า 5% ถือเป็นการผ่าตัดที่ไม่ใช่เป็นการผ่าตัดใหญ่ ข้อเสียก็คืออุปกรณ์มีราคาแพง การตอบสนอง ไปผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมีความแตกต่างกัน ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้ เช่น มีการติดเชื้อในช่วงการผ่าตัดใหม่ฯ อาจจะมีอาการเสียงแหบหรือไอขณะที่มีการกระตุ้นไฟฟ้าที่เส้นประสาทนี้
Deep brain stimulation: DBS
2. ชนิดที่สอง คือ การกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนลึกของสมอง (Deep brain stimulation: DBS) เป็นการกระตุ้นไฟฟ้าโดยผ่านลวด ที่ฟังลึกเข้าไปในสมองส่วนลึกเฉพาะส่วน เช่น โดยสมองส่วน Thalamus ซึ่งเป็น ส่วนของสมองที่ถือว่าเป็นเกทเวย์ที่ก่อให้เกิดการชัก และมีการเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ที่อยู่ใต้หน้าอกตรงกลางอุปกรณ์ทุกอย่างจะซ่อนอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้การรักษาโดยการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนนี้สามารถที่จะทำให้มีการยับยั้งไม่ให้เกิดการชักได้ในสมองโดยตรง วิธีการนี้ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องรู้ว่าจุดกำเหนิดที่ก่อให้เกิดการชักมาจากตำแหน่งไหน แต่การรักษาเราเหมือนเป็นการกระตุ้นไฟฟ้าในส่วนสมองที่เป็นเกทเวย์เพื่อยับยั้งให้เกิดการชักเกิดขึ้น การรักษาชนิดนี้สามารถที่จะทำให้อาการชักลดลงดีขึ้นได้ถึง 68% มีผู้ป่วยบางกลุ่มที่หายขาดจากชักได้สูงถึงเกีอบ 10%. ข้อเสียของการกระตุ้นไฟฟ้าโดยวิธีนี้ก็คือ อุปกรณ์มีราคาแพง จะต้องมีการผ่าตัดโดยการสำรวจในสมองแต่ไม่ต้องมีการเปิดกะโหลกเหมือนการผ่าตัดโรคลมชักทั่วไป ผลข้างเคียงที่อาจจะพบได้เช่น ภาวะติดเชื้อจากการฟังลวดในสมอง หรืออาจจะจะมีเลือดออกจากการฝังลวดในสมองได้แต่อุบัติการณ์การการเกิดน้อยมากและมักจะไม่รุนแรง ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ มีรายงานผู้ป่วยบางรายอาจจะมีความจำทดถอยได้เช่นกัน
Responsive neuronal stimulation (RNS)
3. ชนิดที่สาม คือการกระตุ้นไฟฟ้า โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Responsive neuronal stimulation (RNS) การกระตุ้นไฟฟ้าโดยวิธีนี้จะต้องรู้ตำแหน่งของจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดอาการชักบนผิวสมมอง วิธีการรักษาชนิดนี้จะมีการฝังอุปกรณ์ที่เป็นขั้วไฟฟ้า บริเวณผิวสมอง อาจจะเป็นหนึ่งถึงสองตำแหน่ง ซึ่งการฝังอุปกรณ์ที่ขั้วไฟฟ้า จะต้องมีการผ่าตัดที่มีการเปิดกะโหลก แต่ไม่ต้องเปิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่เหมือนการผ่าตัดโรคลมชักทั่วไป หลังจากนั้นจะมีการเชื่อมต่อจากขั้วไฟฟ้า มาที่แบตเตอรี่จะอยู่ที่บริเวณกระโหลกศีรษะของผู้ป่วยอุปกรณ์ทุกอย่างจะอยู่ภายในกระโหลกศีรษะของผู้ป่วย การกระตุ้นไฟฟ้าโดยวิธีนี้ถ้าเราสามารถกำหนดหรือรู้ถึงจุดกำเนิดที่ก่อให้เกิดการชักอย่างถูกต้องก็จะทำให้ประสิทธิผลจากการรักษาได้สูงถึง 60-70% ได้แต่ถ้ามีการวางใน. ตำแหน่งที่ไม่ถูกต้องก็จะไม่ได้ผลดี ข้อเสียของวิธีการนี้คือจะต้องมีการผ่าตัดใหญ่อาจจะมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเหมือนการผ่าตัดโรคลมชักทั่วไป อาจจะจะมีเลือดออกจากการผ่าตัดในสมองได้แต่อุบัติการณ์การการเกิดน้อย วิธีการนี้ยังไม่ได้มีการใช้ในประเทศไทยเนื่องจากอุปกรณ์นี้มีใช้ในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
3. โรคลมชักในกลุ่มที่มีความผิดปกติของไมโตคอนเดียสามมารถรักษาให้หายขาดได้ไหม
โรคลมชักในกลุ่มที่มีความผิดปกติของไมโตคอนเดีย
โรคลมชักในกลุ่มที่มีความผิดปกติของไมโตคอนเดียซึ่งมักจะทำให้มีอาการชักแบบสะดุ้ง (Myoclonic epilepsy)และหรืออาจจะมีอาการความผิดปกติของการทรงตัวหรือทำประสาทตาหรือกล้ามเนื้อ มากถ่ายทอดทาง พันธุกรรมได้ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ แต่มีการใช้ยากันชักตัวใหม่ร่วมกับยากันชักตัวเก่าสามารถที่ทำให้กลุ่มอาการชักได้ดีขึ้น ส่วนการรักษาโดยใช้วิธีการรักษาโดยการเปลี่ยนยีนส์ ซึ่งจะเป็นความหวังในการรักษาให้หายขาดได้ในอนาคต แต่ก็คงต้องรออีกหลายปี
4. การทานยากันชักจะปรับขึ้นฯลงฯจะได้ไหม
ยากันชัก
การทานยากันชักจะต้องทานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและเป็นเวลานานตามชนิดของโรคลมชักยกตัวอย่าง เช่น โรคลมชักแบบไฟฟ้าเป็นจุด ต้องทานยากันชักอย่างน้อยสามถึงห้าปี ส่วนโรคลมชักแบบไฟฟ้าสองข้าง จะต้องทานยากันชัก อย่างน้อยสองปี ในขณะที่ทานยาแล้วสามารถคุมอาการชักได้ดีและไม่มีอาการผลข้างเคียง ควรจะต้องคงยากันชักไว้เหมือนเดิมไม่ควรจะไปปรับลดยาโดยไม่จำเป็นเพราะมีโอกาสที่จะกระตุ้นทำให้มีอาการชักซ้ำทำให้การรักษาโรคลมชักไม่ต่อเนื่องและจะมีผลทำให้ไม่หายขาด ต้องทานยากันชักนานขึ้น
5. ปัญหาเรื่องกระดูกบางจากการทานยากันชัก
กระดูกบางจากการทานยากันชัก
คำตอบ ยากันชักบางชนิดโดยเฉพาะยากันชักในกลุ่มแรก เช่น Phenytoin, Carbamazepine Phenobarbital อาจจะมีผลทำให้เกิดภาวะกระดูกบางได้ การศึกษาพบว่า ยากันชักกลุ่มนี้ อาจจะมีผลทำให้มีกระดูกบางได้สูงถึง 70% ในผู้ป่วยที่ทานยากันชักเหล่านี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจจะมีปัจจัยอย่างอื่นเป็นตัวเสริมด้วยเช่นผู้ป่วยโรคลมชักมักจะมีการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายที่น้อยซึ่งจะเป็นผลทำให้เกิดภาวะกระดูกบางได้ง่ายอยู่แล้ว ในกรณีนี้ควรจะต้องมี ความจำเป็นจะต้องปรึกษา กับแพทย์ที่ดูแลรักษาว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนยากันชักหรือไม่ ในผู้ป่วยบางคนอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้ยากันชักกลุ่มใหม่ที่ ไม่มีผลก่อให้เกิดภาวะกระดูกบาง แต่ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ยากันชักกลุ่มใหม่ได้การใช้ยากันชักในกลุ่มเก่าที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกบางอาจจะมีการป้องกันเพื่อให้มีความเสี่ยงต่อกระดูกบางลดลงเช่น ทานอาหารที่มีแคนเซี่ยมสูงร่วมกับไวตามินดี และมีการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ
บันทึก
4
4
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย