Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลินิกไตออนไลน์
•
ติดตาม
6 ก.ค. 2020 เวลา 22:39 • สุขภาพ
#อันตรายของ "#เก๊าฑ์"
การรักษาโรคเก๊าฑ์ ด้วยวิธีการใช้ยา
โดยทั่วไปจุดประสงค์ในการรักษาจะขึ้นอยู่
กับระยะของโรค ได้แก่ การรักษาระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน การรักษาเพื่อป้องกันข้ออักเสบกำเริบ
ซ้ำ และการให้ยาลดกรดยูริก
1. #การให้ยาเพื่อรักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันและป้องกันข้ออักเสบกำเริบ ยาแต่ละกลุ่มมีที่ใช้แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยเป็นหลัก ได้แก่
1.1 ยาโคลชิซิน (Colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะข้ออักเสบเฉียบพลันและใช้ในการป้องกันข้ออักเสบกำเริบซ้ำจากเกาต์ ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาคือ ทำให้ถ่ายเหลวหรือท้องร่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ สำหรับผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องควรมีการปรับขนาดยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากยา นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคตับชนิดที่ไม่สามารถขับน้ำดีออกมาได้ และผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้
1.2 ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งกระบวนการอักเสบ ยากลุ่มนี้มีหลากหลายชนิดและหาซื้อได้ง่ายทั่วไป จึงเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบเฉียบพลันจากเกาต์ ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาคือ ทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยบางรายอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ และยาอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ จึงไม่นิยมใช้ในระยะยาวเพื่อป้องกันข้ออักเสบกำเริบซ้ำจากเกาต์ โดยผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้
1.3 ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาที่มีคุณสมบัติในกระบวนการต้านการอักเสบ ใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบเฉียบพลันโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามต่อการใช้ยาโคลชิซินหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แพทย์อาจพิจารณาให้เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหรือฉีดทางหลอดเลือดดำ หรือในบางรายแพทย์อาจจะใช้ในรูปแบบของยาฉีดเข้าบริเวณข้อในกรณีที่มีข้ออักเสบเฉียบพลันจากเกาต์ที่เป็นข้อใหญ่ 1-2 ข้อ ผลข้างเคียงที่พบได้คือ ทำให้ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยาสเตียรอยด์ยังมีที่ใช้ในการป้องกันข้ออักเสบกำเริบซ้ำจากเกาต์ในกรณีผู้ป่วยมีข้อห้ามต่อการใช้ยาโคลชิซิน โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาในขนาดต่ำๆ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ในระยะยาวจากการใช้ยา เช่น กระดูกบาง ผิวหนังบาง ตาเป็นต้อกระจก
กดการทำงานของต่อมหมวกไต เป็นต้น
2.#การให้ยาเพื่อลดระดับกรดยูริกในเลือด
ยามี 3 กลุ่ม คือ ยาเร่งการขับกรดยูริกทางไต ยายับยั้งการสร้างกรดยูริก และยาสลายกรดยูริก แต่ในขณะนี้ประเทศไทยมีเฉพาะยาใน 2 กลุ่มแรก โดยการตัดสินใจในการเลือกใช้ยาของแพทย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยของผู้ป่วยเป็นหลัก ดังนี้
2.1 กลุ่มยาเร่งการขับกรดยูริกออกทางไต (Uricosuric drugs) สำหรับในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด คือ Probenecid Sulfinpyrazone และ Benzbromarone ยากลุ่มนี้จะเร่งให้ไตขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะมากกว่าปกติ ถ้าผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยหรือมีปัสสาวะออกน้อยจะทำให้ความเข้มข้นของกรดยูริกในปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น เกิดการตกตะกอนเป็นนิ่วได้ง่ายขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยที่รับประทานยากลุ่มนี้จำเป็นต้องดื่มน้ำให้มากเพื่อป้องกันการตกตะกอนของนิ่วจากกรดยูริก ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจให้ยาเพื่อช่วยทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง เช่น โซดามิ้นท์ เพื่อทำให้กรดยูริกละลายในปัสสาวะได้ดีขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือมีการทำงานของไตบกพร่องอยู่เดิม
2.2 กลุ่มยายับยั้งการสร้างกรดยูริก (Xantine oxidase inhibitors) ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ Allopurinol และ Febuxostat ยากลุ่มนี้สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยโรคเกาต์ที่เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะหรือมีการทำงานของไตบกพร่อง ผลข้างเคียงของยาพบได้ไม่บ่อย แต่จะมีส่วนน้อยที่จะเกิดอาการแพ้ยารุนแรงในผู้ป่วยที่ได้รับยา Allopurinol โดยพบได้ร้อยละ 0.1-0.4 ซึ่งจะมีอาการทางคลินิกที่สำคัญที่พบได้คือ มีไข้สูง มีผื่นแดงทั่วตัวหรือผื่นลอกทั่วตัว ตับอักเสบรุนแรง ไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น ดังนั้นการเริ่มต้นใช้ยา Allopurinol จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยการเริ่มต้นใช้ยาในขนาดต่ำและค่อยๆ ปรับขนาดยาจนสามารถควบคุมระดับกรดยูริกได้ตามเป้าหมายจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้ยารุนแรงได้
#ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคเกาต์
1. เมื่อเกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน ไม่ควรบีบนวดข้อที่อักเสบ เพราะนอกจากจะทำให้ข้ออักเสบหายช้ากว่าเดิมแล้ว อาจทำให้ข้ออักเสบมีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยผู้ป่วยสามารถประคบเย็นข้อที่อักเสบได้ และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร
2.1 งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์
2.2 งดเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลฟรุกโตส ได้แก่ น้ำอัดลมทุกชนิด น้ำผลไม้เข้มข้น ซอสมะเขือเทศ แยมผลไม้ เป็นต้น
2.3 งดรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยอาหารที่มีสารพิวรีนสูง คือ อาหารที่มีพิวรีน 150-1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 100 กรัม ได้แก่ เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ไข่ปลาทุกชนิด ปลากระป๋อง กุ้งแห้ง กะปิ น้ำสต๊อก น้ำซุปเข้มข้น น้ำเกรวี่ ซุปก้อนปรุงรส เป็นต้น
2.4 ลดปริมาณอาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง เช่น เนื้อแดงทุกชนิด อาหารทะเล เป็นต้น
2.5 ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ซึ่งจะช่วยในการขับกรดยูริกทางไต เพิ่มการดื่มนมจืดไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย
3. ลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน
4. รักษาโรคร่วมและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และงดสูบบุหรี่
การป้องกันโรคเกาต์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
แม้ว่า “โรคเกาต์” จะเป็นโรคที่มีความอันตราย
และน่ากลัว แต่ก็สามารถรักษาได้ การรักษาโรคเกาต์ให้ได้ผลดีนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อสามารถลดระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากจะควบคุมอาหารแล้ว การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคเกาต์ได้ค่ะ
พบทุกเทคนิคดูแลสุขภาพ
กับออม แอดมินไตสายอินดี้ทุกวัน ที่นี่
คลินิกไตออนไลน์หมออลงกต
ปรึกษาปัญหาสุขภาพไตทุกวัน
คลินิกไตออนไลน์หมออลงกต1และ2
📲094-5291568, 📲063-9678678
Line:Oksystem, Line:Oksystem2
1 บันทึก
4
2
2
1
4
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย