7 ก.ค. 2020 เวลา 02:46 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
4 ธาตุเกิดใหม่ในตารางธาตุร่วมสมัยของดมิทรี อิวานา
หวิช เมนเดียเลเยฟ
เวลาดูตารางธาตุนอกจากจะปวดหัวกับชื่อธาตุนั้นๆที่ไม่รู้ว่ามันคือธาตุอะไรกันแน่ แล้วยังต้องปวดหัวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนรวมถึงสมบัติทางกายภาพของมัน ไม่ว่าจะเป็น
สมบัติทางเคมี สมบัติทางฟิสิกส์อีกต่างหาก โดยเฉพาะพวกธาตุหายาก (rare-earthelement) หรือกลุ่มแลนทาไนด์ (Lantanide) เช่น Nd = Neodymium = Неодим
(อ่านว่า เนียอาดิม) ที่ใช้ทำเลเซอร์ประเภท Nd:YAG เลเซอร์กำจัดขนที่สาวๆคุ้นเคย ธาตุหายากพวกนี้เป็นธาตุที่พวกเราอาจไม่ค่อยได้ยินเท่าไรในชีวิตประจำวัน
Nd:YAG laser
นอกจากนี้ยังมีธาตุกัมมันตรังสีที่มีเลขมวลเยอะอีก 37 ธาตุ ที่แต่ละธาตุมีชื่อเรียกเฉพาะตัว มีที่มาจากการค้นพบหรือการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ยกตัวอย่างเช่น Cm = Curium = Кюрий (อ่านว่า คิวรีย์) ที่ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ ปิแอร์และมารี คูรีย์, Cf = Californium = Калифорний (ภาษารัสเซียอ่านว่า คาลิโฟรนียย์) ที่ถูกค้นพบในห้อง
ปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นต้น ธาตุกัมมันตรังสีต่างๆเหล่านี้มีเลขมวลมาก และไม่เสถียร สามารถแตกตัวเป็นนิวเคลียสของธาตุต่างๆได้อีก ก่อเกิด
เป็นแหล่งพลังงานนิวเคลียร์ชนิดฟิชชัน
กลุ่มธาตุแลนทาไนด์
และจากการค้นพบธาตุใหม่ๆที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการนี้เอง เมื่อปีค.ศ. 2016 ได้มีธาตุใหม่ 4 ธาตุอุบัติขึ้นในโลกอย่างเป็นทางการ 4 ธาตุนั้นได้แก่
1.113Nh = Nihonium = Нихоний ที่ถูกค้นพบในห้องปฏิบัติการของสถาบันนิวเคลียร์เขตดุบนา (Дубна) เมืองมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย โดย นำทีมงานโดยนักฟิสิกส์
นิวเคลียร์ชาวรัสเซียแต่เป็นคนอาร์เมเนียโดยกำเนิด Yuri Tsolakovich Oganessian = Юрий Цолакович Оганесян = ยูริ ซาล่าคาหวิช อากาเนียสเซียน (ชื่อกลางอ่านยากเพราะบิดาเชื้อสายอาร์เมเนีย) ธาตุนี้มีสมบัติเป็นโลหะที่อุณหภูมิห้อง แต่ชื่อ “นิโฮเนียม” นี้ตั้งขึ้นตามนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น (แรกเริ่มตอนค้นพบธาตุนี้ยังเป็น “Unknown element”) อยู่
2.115Mc = Moscovium = Московий ภาษาอังกษอ่านว่า “มอสโคเวียม” ภาษารัสเซียอ่านว่า “มัสโควี่” ชื่อแบบนี้แน่นอนที่สุดต้องถูกสังเคราะห์หรือถูกค้นพบที่เมือง
มอสโคว์ ประเทศรัสเซีย ซึ่งห้องปฏิบัติการที่สังเคราะห์ก็คือที่เดียวกับห้องปฏิบัติการของสถาบันดุบนานั่นเอง และหัวหน้าทีมของนักฟิสิกส์นี้ก็คือ ท่านอากาเนียสเซียน เช่น
เดียวกัน การค้นพบมอสโคเวียมหรือมัสโควี่นี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างทีมนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ของรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ไอโซโทปของมอสโคเวียมมีสมบัติเป็นธาตุ
กัมมันตรังสี แต่มันก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม post-transition metal เพราะมีสถานะเป็นของแข็งคือ โลหะ ที่อุณหภูมิห้อง (Quick quiz: อุณหภูมิห้องมีค่าประมาณกี่องศาเซลเซียส กี่เคลวินเอ่ย ?)
3.117Ts = Tennessine = Теннессин ภาษารัสเซียอ่านว่า “ทินเนียสซิน” ภาษาอังกฤษอ่านว่า “เทนเนสไซน์” เทนเนสไซน์ถูกค้นพบโดยทีมนักฟิสิกส์อเมริกันและ
รัสเซียเมื่อปีค.ศ. 2010 ต่อมาทีมนักฟิสิกส์เยอรมันและอเมริกันก็ยืนยันการทดลองที่สอดคล้องกับสมบัติของเทนเนสไซน์นี้ แต่ชื่อ “เทนเนสไซน์” นี้ถูกตั้งขึ้นโดยทีมนักฟิสิกส์รัสเซียจากดุบนาอีกเช่นเคยและนักฟิสิกส์อเมริกันที่ห้องปฏิบัติการโอ๊คริดจ์ (Oak Ridge National Laboratory ที่เมืองเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา) ถ้าเราดูที่ตารางธาตุร่วมสมัย เราจะพบว่า117Ts มีสมบัติคล้ายกับพวกธาตุฮาโลเจนทั้งหลาย แต่ในความเป็นจริง 117Ts
เป็นผลึกของแข็งที่อุณหภูมิห้องและมีจุดหลอมเหลวสูง ดังนั้นมันจึงมีสมบัติทางฟิสิกส์แบบโลหะ ทั้งยังเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สามารถเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิต จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ 117Ts ถูกใช้เฉพาะในห้องปฏิบัติการเท่านั้น
4.และธาตุใหม่ล่าสุดที่เพิ่งอุบัติขึ้นในโลกนี้ก็คือ 118Og = Oganesson = Оганесон ภาษาอังกฤษคือ “โอกาเนสซอน” ภาษารัสเซียคือ “อากาเนียสซัน” ถูกค้น
พบโดยทีมนักฟิสิกส์จากดุบนานำโดยท่านอากาเนียสเซียนอีกเช่นเคย จริงๆแล้วธาตุนี้สามารถตั้งชื่อเป็นธาตุ “อากาเนียสเซียน” ตามนามสกุลของ ยูริ อากาเนียสเซียนก็ได้ แต่เนื่องจากสมบัติของ 118Og คล้ายกับสมบัติของแก๊สเฉื่อย ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงเห็นตรงกันว่าต้องลงท้ายชื่อธาตุด้วย “on” ตามธาตุต่างๆในหมู่แก๊สเฉื่อย
รูปนี้น่ารัก ฮ่าๆๆ ธาตุโอกาเนสซอนที่มีสมบัติเป็นธาตุกัมมันตรังสีในหมู่แก๊สเฉื่อย
จะเห็นได้ว่าท่านอากาเนียสเซียน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้นพบธาตุเกิดใหม่ทั้ง 4 ธาตุ ท่านจึงเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงที่ชาวอาร์เมนียและชาวรัสเซียต่างภาคภูมิใจ และในปี ค.ศ. 2017 ได้มีการนำรูปของท่านและนิวเคลียสของธาตุ “โอกาเนสซอน(Og)” มาตีพิมพ์เป็นอากรแสตมป์ของประเทศอาร์เมเนียเพื่อเป็นเกียรติแค่ท่านด้วย
อาการแสตมป์ของประเทศอาร์เมเนีย
โฆษณา