8 ก.ค. 2020 เวลา 02:00 • สุขภาพ
เป็นไฮโซจึงเจ็บปวด! ย้อนอดีต 'โรคเกาต์' โรคร้ายที่เคยถูกเรียกว่า โรคประจำตัวของคนรวย
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โรคเกาต์(Gout) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสังเคราะห์กรดยูริกในปริมาณมากจนทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูงจนเกลือในกรดยูริกไปสะสมที่ข้อส่งผลให้เกิดอาการปวด แล้วอาการเจ็บป่วยอย่างนี้ทำไมในอดีตจึงถูกเรียกว่า "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย"
ผู้หญิงในวัยมีประจำเดือนจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกายทำให้ไม่เป็นโรคนี้ ส่วนผู้ชายที่เป็นชนชั้นปกครอง กษัตริย์ ขุนนาง นักการเมือง มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่ามันจึงถูกเรียกว่าโรคของราชา ส่วนที่มาของชื่อโรคของคนรวยก็เพราะพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเนื้อสัตว์ อาหารทะเลและแอลกอฮอล์ที่มากจนเกินไปก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ และคนที่สามารถบริโภคได้โดยไม่จำกัดจะมีก็เพียงผู้ที่มีฐานะดีอย่างเศรษฐีและชนชั้นสูงเท่านั้น ชื่อโรคของคนรวยถูกใช้ครั้งแรกโดยฮิปโปเครติส บิดาแห่งการแพทย์ เมื่อมันถูกขนานนามว่าโรคของคนรวยหรือโรคของราชาทำให้ผู้คนในอดีตที่ยังไม่มีความรู้ทางการแพทย์ที่ดีนักสร้างค่านิยมผิดๆ ให้กับโรคว่ามันคือสิ่งที่ดี แสดงสถานะทางสังคมได้
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษก็ทรงเป็นโรคเกาต์จากการบริโภคเนื้อสัตว์และดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป พระองค์มีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ซึ่งก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงเข้าไปอีก พระองค์ทรงทรมานกับอาการปวดที่เรื้อรังและฉับพลันจนทำให้มีอารมณ์ที่แปรปรวน ถึงขนาดที่มีทูตฝรั่งเศสเขียนบันทึกเอาไว้ในปี ค.ศ. 1541 ว่า “ชีวิตของกษัตริย์พระองค์นี้ค่อนข้างอยู่ในอันตราย มิใช่จากอาการไข้แต่เป็นเพราะอาการเจ็บปวดที่ขาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง”
WIKIPEDIA PD
พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปนเริ่มทรมานจากการปวดเกาต์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1568 มีบันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงเริ่มปวดเกาต์ที่บริเวณมือขวาถึงขนาดบวมตุ่ยเลยทีเดียว และยังมีรายงานว่าพระองค์น่าจะมีอาการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1562 แล้ว แต่พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 เองก็ไม่ทราบว่าที่ทรงเป็นอยู่นี้คืออาการปวดอันเนื่องมาจากโรคเกาต์ และการที่พระองค์ทรงบริโภคเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก อายุที่สูงและโรคทางพันธุกรรมทำให้พระองค์ทรงกลายเป็นบุคคลทุพพลภาพในวัย 65 พรรษา แม้พระองค์จะสวรรคตจากโรคมะเร็งแต่โรคเกาต์กลับสร้างความเจ็บปวดให้ยิ่งกว่า
WIKIPEDIA PD
เบนจามิน แฟรงคลิน หนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกาก็ทุกข์ทรมานจากโรคเกาต์ถึงขนาดที่เขียนบนสนทนาระหว่างตัวเขาและเกาต์ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1780 ว่า “Eh! Oh! eh! What have I done to merit these cruel sufferings?” “โอ้เกาต์เอ๋ย ฉันไปทำอะไรให้ถึงรับความเจ็บปวดทรมานถึงเพียงนี้?” ในบทสนทนาทั้งหมดได้กล่าวถึงวิถีการบริโภคที่มากเกินความจำเป็น รูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยจะได้เคลื่อนไหวเท่าไหร่เพราะเขาต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะเป็นเวลานานๆ และขาดการออกกำลังกาย
WIKIPEDIA PD
สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 4 ทรงรับตำแหน่งประมุขของคาทอลิกเมื่อปี ค.ศ. 1285 ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ 70 พรรษา ไม่มีประวัติช่วงชีวิตก่อนหน้านี้ของพระองค์มากนักแต่มีบันทึกว่าโรคเกาต์ของพระองค์เลวร้ายถึงขนาดที่ว่าไม่สามารถจะยืนหรือเดินได้เลย และทรงเกือบจะสูญเสียมือและเท้าด้วยซ้ำ พระองค์ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือในพิธีสมโภชตำแหน่ง หรืออุปกรณ์ช่วยเหลือขณะที่ทำพิธีบูชาต่างๆ
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA CC PHGCOM

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา