8 ก.ค. 2020 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
“การทิ้งระเบิดที่นางาซากิ” การทิ้งระเบิดที่เกือบจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง
ทุกคนทราบดีว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงยังเมืองในญี่ปุ่นจำนวนสองเมือง นั่นคือฮิโรชิม่าและนางาซากิ
แต่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าการทิ้งระเบิดที่นางาซากินั้น เกือบจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว
สำหรับรายละเอียดของการทิ้งระเบิดยังฮิโรชิม่า ที่มานั้น สามารถอ่านได้ในซีรีส์ฮิโรชิม่าที่ผมเคยเขียนเอาไว้แล้ว แต่เรามาดูกันว่าปัจจัยในการเลือกเมืองที่จะทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกาคืออะไร และมีเมืองอะไรที่เคยถูกเลือกบ้าง
ปัจจัยหลักๆ ของสหรัฐอเมริกาก็คือเมืองที่เลือกนั้น ต้องเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการทหาร เช่น มีโรงงานผลิตกระสุน โรงงานเครื่องบิน โรงกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมต่างๆ และต้องเป็นเมืองที่สำคัญต่อญี่ปุ่น
นางาซากิในปัจจุบัน
ในทีแรก นางาซากิไม่ได้อยู่ในตัวเลือกเลย โดยตัวเลือกแรกๆ คือคิตะกิวชู ฮิโรชิม่า โยโกฮาม่า นิอิงาตะ และเกียวโต
สำหรับเกียวโตนั้น สาเหตุที่เลือกเกียวโตก็เนื่องจากเป็นเมืองเก่าแก่ มีความสำคัญทางวัฒนธรรม แต่ก็เป็นเมืองแรกที่ตกไป เนื่องจาก “Henry L. Stimson” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้เคยมาฮันนีมูนที่เกียวโต และเขาก็ชอบเมืองนี้มาก ทำให้เกียวโตรอดจากการโดนระเบิด
เรียกได้ว่า Stimson เป็นผู้ที่ช่วยเกียวโตไว้ก็ว่าได้
Henry L. Stimson
ภายหลังจากการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิม่า สหรัฐอเมริกาก็มองหาเมืองใหม่ที่จะทิ้งระเบิด นั่นก็คือคิตะกิวชู
นางาซากินั้นถึงจะเป็นเมืองสำคัญ แต่ก็ยากต่อการตรวจสอบหนทางด้วยเรดาร์ในเวลากลางคืน
ในทีแรก ทีมนักบินที่นำระเบิดไปปล่อยนั้นไม่ได้มุ่งไปยังนางาซากิ แต่มุ่งไปคิตะกิวชู
แต่ขณะกำลังบินนั้น อยู่ๆ ระเบิดก็เกิดติดขึ้นมาเอง สร้างความตกใจให้คนบนเครื่องที่พยายามเปิดคู่มือ ตรวจดูว่าเกิดอะไรขึ้น
นักบินเองก็เป็นกังวล เนื่องจากเกรงว่าจะบินไปไม่ทันถึงคิตะกิวชู ระเบิดอาจจะระเบิดซะก่อน น้ำมันก็ไม่พอ จึงต้องเปลี่ยนแผน บินไปนางาซากิแทน
ระเบิดที่ปล่อยยังนางาซากิ ทำให้ชาวเมืองเสียชีวิตระหว่าง 22,000-75,000 คน บาดเจ็บอีกกว่า 70,000 คน และผู้ที่รอดชีวิตก็ต้องพบเจอกับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี ทำให้เป็นมะเร็งในเวลาต่อมา
แต่การทิ้งระเบิดนี้ก็ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้และเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทิ้งไว้เพียงบาดแผลให้ญี่ปุ่นและประวัติศาสตร์
1
โฆษณา