8 ก.ค. 2020 เวลา 18:36 • ข่าว
คนไทยใจบุญต้องรู้ทัน! บทเรียนจากเคส "ฌอน บูรณะหิรัญ"
คลิปวิดีโอ “ผมไปปลูกป่ากับท่านประวิตร” บานปลายกลายเป็นเรื่องรับเงินบริจาคช่วยดับไฟป่า แต่ปรากฎว่าไฟดับไปนานแล้วแต่เงินยังไม่ถึงมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนวันนี้ทัวร์ลง “ฌอน” ยังไม่หยุด แม้ว่าเจ้าตัวจะอัดคลิปโชว์แจงละเอียดยิบ หลายคนฟังแล้วก็ยังส่ายหัว รู้สึกแหม่งๆ ไม่เนียนหลายประเด็น ทั้งคลิปที่ตัดต่อถี่ยิบ รายละเอียดของเงินบริจาคบางส่วนที่ถูกใช้ไป ดูเหมือนจะไม่ได้ใช้เพื่อประโยชน์สังคมจริงๆ แต่เอาเข้ากระเป๋าตัวเองมากกว่า เรื่องนี้ถูกผิดอย่างไรก็คงต้องว่ากันไปตามกระบวนการตามกฎหมาย
1
จะไปว่าไปแล้ว เคสของ “ฌอน” เป็นภาพสะท้อนบริบทของสังคมไทยชัดเจนเกี่ยวกับการเรี่ยไรและบริจาค ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสิ่งของ เพราะมีคนไทยสายบุญจำนวนไม่น้อย ที่อยากจะแบ่งปันความช่วยเหลือเผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนมนุษย์ ช่วยแก้ปัญหาภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศผ่านการมีส่วนร่วมบริจาคในรูปแบบต่างๆ ให้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น
“อินฟลูเอนเซอร์” ใช้ความรัก ศรัทธาวางกลลวงหลอกเหยื่อ?
จุดนี้เองทำให้เกิดบรรดาจิตอาสา มาในรูปแบบตัวแทนรับบริจาค ทั้งทรัพย์สิน เงินทอง เพื่อส่งมอบสิ่งดีๆสู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นเหล่าดารา คนดัง หรือแม้แต่ “อินฟลูเอนเซอร์” ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์ อาศัยความรัก ความศรัทธาจากฐานแฟนคลับ และผู้ติดตามจำนวนมาก จูงใจให้มาบริจาคเงินและสิ่งของบรรเทาทุกข์ แต่ความรักและความศรัทธาที่ว่านี้ บางครั้งอาจจะกลายเป็นกลลวงหลอกเหยื่อให้หลงเชื่อโดยที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีของการบริจาคให้เข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์
1
ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม รองอธิการฝ่ายวิชาการ นิด้า ซึ่งเคยศึกษาวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจการบริหารเงินบริจาคอธิบายว่า...
ปัจจุบันรูปแบบของการบริจาคเงินเปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อระบบการชำระเงินมากขึ้น แตกต่างจากยุคก่อน ที่การเรี่ยรายเงินบริจาคจะมีรูปแบบรับบริจาคตามที่สาธารณะหรือไม่ก็ใช้วิธีเรี่ยรายเงินและสิ่งของผ่านสื่อกระแสหลักเท่านั้น อย่างเช่น ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ จนกระทั่งโซเชียลมีเดียเริ่มเข้ามา ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนทำให้มีพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น โซเชียลกลายเป็นพลังช่วยดึงความสนใจให้คนเข้ามารวมตัวกัน และบริจาคเงิน ทำบุญผ่านระบบอีเพยเม้นท์ได้ง่ายมากๆในเวลาไม่กี่วินาที จุดนี้เองจึงกลายเป็นช่องโหว่ของการรับบริจาคที่อาจทำให้มิฉาชีพ อาศัยช่องทางนี้แฝงตัวหลอกเหยื่อโดยอาศัยความง่ายและความศรัทธาของผู้คน
ดร.ณดา อธิบายว่า ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจพฤติกรรมการบริจาคก่อน อย่างในมุมของคนให้วัตถุประสงค์ คือ ทำเพื่อประโยชน์เป็นที่ตั้ง ความเชื่อคนไทยที่สืบทอดกันมาคือการให้ทำความดี เมื่อก่อนเราจะเห็นบริจาคผ่านวัด ทีนี้มาถึงปัจจุบันการบริจาคผ่านวัด รูปแบบเดิมๆยังมีอยู่ แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ ออนไลน์ ทุกวันนี้เราจะเห็นว่ามีเคมเปญ กิจกรรมทางสังคมเกิดขึ้นมากมาย เช่น กิจกรรมของคุณบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ช่วยน้ำท่วม คุณตูน บอดีสแลมป์ หาเงินช่วยโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งเคสของคุณฌอน ทั้งหมดนี้มันขึ้นจากความรัก ความศรัทธาทั้งสิ่ง เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่า คนดังหรืออินฟลูเอนเซอร์ เขาสามารถโน้มน้าวใจผู้คนให้เข้ามาบริจาคเงินจำนวนมากๆได้ไม่ยากเลย
ติง “พ.ร.บ.เรี่ยไร” ล้าหลัง กลไกตรวจสอบหย่อนยาน
เมื่อการบริจาคเกิดปัญหา เพราะบุคคลมีชื่อเสียงบางคน นำความศรัทธาของผู้คนแปรเปลี่ยนไปใช้ในทางที่ผิด เราต้องถอยมาดูกฎหมายที่เราใช้ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487 หากดูสาระสำคัญของกฎหมาย แม้ว่าหลักเกณฑ์การเรี่ยไรบริจาคจะเขียนเอาไว้ชัดเจน เช่น ต้องขออนุญาตก่อนเรี่ยไร มีคณะกรรมการในการตรวจสอบ มีใบอนุโมทนาบัตรให้ แต่ในทางปฎิบัติพอกลายเป็นออนไลน์ ทำแบบเดิมไม่ได้แล้ว อย่างใบอนุโมทนาออนไลน์มันไม่มี มีแค่สลิปกับข้อความขอบคุณ จะตรวจสอบกันอย่างไร ตรงนี้ชัดเจนเพราะเนื้อหาล้าสมัย ไม่ไปถึงไหน ไม่ครอบคลุมการเรี่ยไรของบริบทสังคมไทยในปัจจุบัน ถ้าใช้ก็ต้องใช้กฎหมายอื่นมาเทียบเคียง เช่น พ.ร.บ.คอมพ์ ยิ่งลงลึกไปดูบทลงโทษ ก็เบามาก ปรับไม่ถึงพัน จำคุกไม่ถึงปี พอกฎหมายและกลไกการตรวจสอบหย่อนยาน กิจกรรมเหล่านี้ยิ่งเกิดขึ้นได้โดยง่าย จึงเป็นกลายเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้บริจาคตกเป็นเหยื่อยถูกหลอกจำนวนมาก
1
แนะใช้ระบบ“อินโดเนชั่น” สร้างฐานข้อมูลตรวจสอบการใช้เงิน
ถามว่าที่ผ่านมารัฐบาลเคยพยายามแก้ปัญหาหรือไม่ เคยมีความพยายามทำโมเดลชักชวนให้องค์กรต่างๆทำโครงการชื่อว่า “อีโดเนชั่น” คือ การดึงองค์กร มูลนิธิต่างๆที่จะเรี่ยไรเงินให้มาอยู่ในระบบเดียวกัน เพื่อให้มีฐานข้อมูล มีหลักฐานทั้งการบริจาค การใช้เงินของผู้เรี่ยไร ให้ผู้บริจาคตรวจสอบย้อนกลับได้ว่า เงินหรือสิ่งของที่เขาให้ถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ตอนนี้เราบริจาคไป เราก็ไม่ทราบว่า เงินไปอยู่ตรงไหนแล้ว นี่คือปัญหากลไกในการตรวจสอบ
“คนให้” ใช้ศรัทธาอย่างมีสติ
กลับมาที่ผู้ให้ ถ้าอยากบริจาคจะมีวิธีดูอย่างไร เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ดร.ณดา บอกว่า เราต้องยอมรับก่อน เวลาเรารักใครเชื่อใจใคร เราคงไม่ขอดูหรอกว่าเขามีใบอนุญาตหรือไม่ คนรับบริจาคควรต้องแสดงความรับผิดชอบ มีหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้คนให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเอาเงิน สิ่งของที่ได้มาไปทำอะไรบ้าง เช่น แสดงใบอนุญาต มีรายงานข้อมูลเป็นรอบๆ 3 เดือน 6 เดือน แสดงความโปร่งใส ส่วนคนให้ก็อย่าใจดีเกินไป ต้องศรัทธาอย่างมีสติ เพราะทั้งสองฝ่ายถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสียทั้งคู่
“ฌอน” อัดคลิปแจงปมเงินบริจาค
โฆษณา