9 ก.ค. 2020 เวลา 04:50 • ธุรกิจ
"อาณาจักรเทคจีนผู้ยิ่งใหญ่"ด้วยคูเมือง
อย่างที่เรารู้กันว่า จีนเป็นประเทศที่เลือกพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศตัวเองขึ้นมาใช้เอง
แทนที่จะปล่อยให้ยักษ์ใหญ่ของโลกเข้ามาให้บริการคนของประเทศตัวเอง
จะมองว่าปิดกั้น จะมองว่า ผูกขาด หรือส่งเสริมชาติเดียวกัน ป้องกันต่างชาติมารุกราน ก็มองได้ทั้งนั้น แต่นับว่าเป็นคูเมืองทางกลยุทธ์ ที่กว้าง ลึก เรียกว่าปิดตายสำหรับข้าศึกนอกกำแพงเลยจะชัดกว่า
บริษัทเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ เมื่อเติบโตได้ระดับนึงจนไปทำให้ยักษ์ใหญ่เริ่มสังเกตเห็น ก็จะมีทางเลือกว่าจะเข้าไปอยู่กับพี่ใหญ่คนไหน
ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Tencent หรือ Ant (ที่มีสายสัมพันธ์จาก Alibana เพราะคุมโดยเฮีย Jack Ma นั่นเองโดยที่ Alibaba ยังถือสัดส่วนหุ้นของ Ant 37.5%)
เพราะลำพังสู้ไปคนเดียว มีความเสี่ยงที่จะถูกเจ้าใหญ่เลือกที่ สร้าง Platform ขึ้นมาแข่ง แล้วอาจถูกบดขยี้ ตายเอาง่ายๆ เพราะในช่วงเริ่มต้น เกมจะเป็นไปในแง่ของการแข่งกันลดราคาเพื่อสร้างฐานผู้ใช้
บริษัทเทคโนโลยีในจีน เมื่อสืบค้นลำดับญาติจึงค้นพบว่า มักมีผู้ยิ่งใหญ่อยู่เบื้องหลังแทบทั้งนั้นดังภาพนี้
China Duopoly
China Duopoly
มีข้อสังเกตคือ จะมี "Didi Chuxing" ที่เป็นบริการคล้ายกับ Uber,Grab ที่มีเจ้าของร่วมกันทั้ง 3 เจ้า โดยสถานการณ์ล่าสุดหลังเกิดโรคระบาด มียอดการเรียกใช้บริการ 30 ล้ายครั้ง/วัน โดยแบ่งเป็น Bike-Sharing 10 ล้านครั้ง
นอกจากจีนแล้ว Didi ยังมีบริการที่ประเทศ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และแถบละตินอเมริกาด้วย แต่การฟื้นตัวในประเทศดังกล่าวยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับจีน
Didi Chuxing
ZhongAn Insurance นอกจากจะมีเจ้าของร่วมกันคือ Tencent,Alibaba แล้วยังมี Ping An ร่วมด้วยตั้งแต่ปี 2013 โดนเป็นประกันออนไลน์แห่งแรกของจีน โดยล่าสุดมีประกันคุ้มครองกว่า 630 ล้านฉบับ คุ้มครอง 150 ล้านคน
ZhongAn Insurance
โดยประกันที่ขายดีที่สุดคือ กรมธรรม์ที่ออกค่าใช้จ่ายสำหรับส่งของคืนกลับผู้ขายใน Alibaba กับ Taobao ซึ่งปกติลูกค้าจะเป็นคนจ่าย
Hello TransTech (Bike-Rental)
อีกตัวที่มีพี่ใหญ่ร่วมกันคือ "Hello TransTech" ที่ทำ Sharing Economy จักรยานให้คนใช้ร่วมกัน โดยมี Alibaba กับ Ant ถือหุ้นร่วมกัน
การเลือกที่จะอยู่กับพี่ใหญ่ แก้ปัญหาไปได้ 2 ข้อ คือเรื่องเงินทุน และเรื่องคู่แข่งยักษ์ใหญ่ แต่ก็แลกกับการสูญเสียความเป็นเจ้าของไป
ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เหมือนได้ไปกระโดดบนสปริงบอร์ดเพราะ พี่ใหญ่มีฐานคนใช้เดิมอยู่แล้ว การที่จะโยนลูกค้าใหม่ข้ามมาให้ใช้จึงเป็นทางที่ทำให้โตได้อย่างรวดเร็ว
แต่ก็มีบางเจ้าที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ 2 อาณาจักรนี้ ที่รู้จักกันดี ก็เจ้าของอารยธรรม Xiaomi และ Huawei
ซึ่งเป็น 2 ผู้นำที่มีสินค้าไปขายนอกจีน และยึดหัวหาดในหลายประเทศ จนโดนสะกัดดาวรุ่งอย่างที่รู้กันสำหรับกรณี 5G และการตัด GMS (Google Mobile Service) ของหัวเหว่ย
ถ้ามองว่า อเมริกา เห็นแล้วว่าถ้าปล่อยไปง่ายๆ แย่แน่ในระยะยาว แล้วก็อ้างนู้นนี้ ชวนชาวบ้านให้ไม่ใช้ด้วย แบบนี้อเมริกาปิดกั้นมั้ย ก็น่าคิด
เจ้าแห่งการสั่งของผ่านมือถืออย่าง Meituan Dianping ก็สามารถยืนหยัดอยู่ได้ และแข็งแกร่งซะด้วย (แต่ก็ไม่รู้ว่า ลึกๆมีคนของรัฐบาลเข้ามาอิทธิพล หรืออาจจะขอความร่วมมืออยู่อย่างห่างๆแต่ใกล้ชิดหรือเปล่า)
ผู้เขียนคิดเอาว่า มันถึงยุคที่ "เปิดแต่ปิด ปิดแต่เปิด" แล้วแต่บ้านใคร สนามใคร หรือตอมีอะไรมาแลกเปลี่ยนกันมั้ย เป็นสถานะชั่วคราวที่ถาวร
เขียนและเรียบเรียงโดย "มองกรรไกร"
ปล อาจเขียนบ.ลูกที่น่าสนใจในตอนต่อๆไปครับ
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ครับ ^^
อ้างอิง Bloomberg,Blognone
โฆษณา