11 ก.ค. 2020 เวลา 03:44 • หนังสือ
คิมจียองเกิดปี 82
เขียน โชนัมจู
แปล ตรองสิริ ทองคำ
วรรณกรรมจากสถานการณ์ที่ผู้หญิงเกาหลีใต้ต้องเจอที่เกิดจากความเกลียดชังเพศหญิง (misogyny) ผู้หญิงในเกาหลีใต้มักเจอเงื่อนต่างๆ มากมาย ตรงกันข้ามกับผู้ชายที่ได้ข้อยกเว้นและสิทธิพิเศษต่างๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และปกคลุมทั้วมิติชีวิต และสถานที่ และถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ พิจารณาจากคำพูดของแม่คิมจียอง ซึ่งเป็นตัวละครเอกว่า “ก็เป็นแบบนี้กันหมดและเด็กผู้หญิงสมัยนั้น แม่ๆ สมัยนี้” เมื่อพูดถึงความลำบากที่ตนเองได้เจอมาเมื่อตอนเป็นเด็ก และสถานการณ์ที่ลูกสาว (จียอง) กำลังเผชิญอยู่
 
การถูกเลือกปฏิบัติระหว่างเพศเริ่มตั้งแต่การเป็นตัวอ่อนในครรภ์หากเป็นเพศชาย แม่จะได้รับการบำรุงอาหารที่ดีกว่า เมื่อเกิดมาหน้าที่การทำงานบ้าน ภาระรับผิดชอบต่างๆ ของครอบครัวจะตกเป็นของผู้หญิงเสมอ ไม่ว่าเธอจะเป็นพี่หรือน้อง
• ความสำเร็จที่ผู้หญิงเป็นฐานให้ผู้ชายเหยียบ
แม่ของคิมจียองเป็นหนึ่งในผู้หญิงหลายๆ คนที่ต้องออกจากการศึกษาเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เธอเรียนจบระดับชั้นประถม และเข้าไปทำงานโรงงานทอผ้าในกรุงโซล เพื่อนำเงินที่ได้ส่งไปจุนเจือครอบครัวและส่งพี่ชายน้องชายเรียนจนจบมีหน้าที่การงานที่ดี และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กรอบกู้ครอบครัว โดยไม่ได้เห็นความสำคัญของผู้ที่หาเงินส่งเสียเลยสักนิด
• สาเหตุการทำแท้งอันดับต้นๆ ของเกาหลีใต้ช่วงปี 1980
จียองเกิดมาเป็นลูกสาวคนกลางของครอบครัว เดิมทีเธอต้องมีน้องสาวที่อ่อนกว่าเพียง 1 ปี แต่ความเป็นจริงเธอมีน้องชายอายุห่างกัน 5 ปี เพราะเธอและพี่สาวไม่ได้เกิดมาเป็นเด็กผู้ชาย ปู่และย่าจึงคาดหวังต่อการตั้งท้องของลูกที่สามของลูกสะใภ้ เมื่อความคาดหวังไม่สมหวังและสถานการณ์ที่กดดันทำแม่ต้องจำใจทำแท้งเพื่อครอบครัวของฝ่ายชาย
ซึ่งแทบจะเป็นเรื่องปกติที่การทำแท้งในช่วงยุคนั้นเกิดจากการตัวอ่อนในครรภ์เป็นเพศหญิง ประหนึ่งเป็นสาเหตุทางสุขภาพที่เป็นสาเหตุสำคัญ
• กฎการแต่งกายที่มาพร้อมกับเพศ
โรงเรียนประถมในเกาหลีใต้เด็กนักเรียนผู้หญิงจะต้องใส่เสื้อทับในเพื่อป้องกันการเห็นเสื้อชั้นใน สวมถุงน่องสีเนื้อในช่วงฤดูร้อน สวมถุงน่องสีดำในช่วงฤดูหนาวและไม่ได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าพละ ซึ่งต่างจากเด็กผู้ชายที่สามารถใส่รองเท้าพละได้ด้วยเหตุผลเพราะชอบเล่นกีฬา แต่ไม่ได้พิจารณาเลยว่าที่เด็กผู้หญิงเล่นกีฬาระหว่างวันในโรงเรียนไม่ได้ เป็นเพราะข้อกำจัดเรื่องชุดแต่งกาย
• เพศมาพร้อมกับโอกาส
สมัยคิมจียองเรียนระดับมหาวิทยาลัย การคัดเลือกนักศึกษาฝึกงานผู้ชายมักเป็นผู้ที่ถูกเลือกเสมอ ลุกลามไปยังสถานที่ทำงาน ผู้ที่จะได้รับโอกาสในการทำหน้าที่สำคัญ หรือโปรเจ็คใหญ่ๆ ต้องเป็นคนที่ทำงานร่วมกันได้ในระยะยาว ดังนั้นผู้หญิงจึงไม่ใช่ผู้ถูกเลือกแม้ว่างผลงานหรือความสามารถจะดีเพียงใด เพราะพวกเธอมีโอกาสตั้งครรภ์และต้องลาเพื่อไปเลี้ยงลูก
สถานการณ์จริงปี 2005 จากการตอบแบบสอบถามพบว่า หากผู้สมัครงานมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันแต่ต่างกันที่เพศ สถานที่ทำงานจะเลือกรับผู้ชายมากกว่า ได้คำตอบว่าใช่ 44 %
• การคาดหวังกับผู้หญิงเรื่องการมีลูก
หลังจากการแต่งงานผ่านไปไม่นาน ครอบครัวฝ่ายสามีมักชอบถามเรื่องการตั้งครรภ์เสมอ เมื่อการตั้งครรภ์ยังไม่เกิด จียองมักถูกตำหนิว่า เพราะเธอสุขภาพไม่แข็งแรง ตัวผอมไป ฯลฯ จึงทำให้ไม่มีบุตร แต่ฝ่ายชายไม่ได้รับคำถามใดๆ
 
• การสูญเสียเพื่อแลกกับความเป็นแม่
คิมจียองเป็นเหมือนผู้หญิงอีกหลายๆคน ที่ลาออกจากงานมาเลี้ยงลูก และพึ่งพาด้านเศรษฐกิจจากสามี แต่ใช่ว่าผู้หญิงที่ลาออกมาเลี้ยงลูกจะไม่มีงานทำเสมอไป พวกเธอยังมีโอกาสดลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอยู่บ้าง ในลักษณะการทำงานแบบพาร์ทไทม์ เช่น พนักงานแคชเชียร์ พนักงานเสิร์ฟ ในช่วงที่นำลูกไปฝากเลี้ยงกับศูนย์รับเลี้ยงเด็ก** แต่ต่างตรงที่ว่าการจ้างงานเป็นเพียงสัญญาปากเปล่า ไม่มีสัญญาจ้างและสวัสดิการใดๆ.
** รัฐบาลเกาหลีใต้มีโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับกานฝากศูนย์รับเลี้ยงเด็กและค่าเล่าเรียนบุตร อายุไม่เกิน 5 ปี แก่ทุกครอบครัว
โฆษณา