Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Econ 101 เศรษฐศาสตร์ฉบับย่อ
•
ติดตาม
11 ก.ค. 2020 เวลา 09:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
พลิกตำราการตลาด 4P ให้อยู่รอดในยุค New Normal
ผลของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจหดตัว การจับจ่ายใช้สอยและกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงอย่างน่าใจหาย หลายธุรกิจในภาคการผลิตที่แท้จริง (Real Sector) อย่างภาคอุตสาหกรรมและการบริการชะงักตัวลง ถึงแม้ว่าได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้มีภาระหนี้สินลดลง แต่เป็นมาตรการเพียงระยะสั้นเท่านั้น ผู้ประกอบการทั้งหลายต่างต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้ธุรกิจอยู่รอด ทันกับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค New Normal ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
1.ผลิตภัณฑ์ (Product)
ถึงแม้ว่ามาตการล็อกดาวน์เริ่มผ่อนคลาย แต่ผู้ขายโดยเฉพาะธุรกิจประเภทร้านอาหารต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคัม (Social Distancing) อย่างเช่น การสร้างฉากกั้นโต๊ะอาหาร นอกจากนี้พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป นิยมสั่งอาหารมาทานที่บ้านมากกว่า การปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จึงเป็นเรื่องจำเป็น อย่างเช่น เจ้าของกิจการร้านชาบูได้ปรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัภณฑ์ที่แถมหม้อต้มชาบูให้กับลูกค้า
2. ราคา (Price)
ราคาเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอน ผู้บริโภคต้องการถือเงินสดไว้กับตัว ซื้อเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ดังนั้นผู้ขายที่ขายสินค้าฟุ่มเฟือยจึงต้องงัดกลยุทธ์ด้านราคามาใช้เพื่อกระตุ้นยอดขาย อย่างเช่น กลยุทธ์ Flash Sale ของสินค้าประเภท IT ที่ลดราคาในระยะเวลาอันสั้นและมีสินค้าจำนวนจัด โปรโมชั่น ตั๋วบุฟเฟต์ของสายการบิน AirAsia ที่ให้ผู้ซื้อบินภายในประเทศได้ไม่อั้น ในราคา 2,999 บาท จำกัดไว้ที่จำนวน 1 แสนใบ การใช้กลยุทธ์ลักษณะนี้ที่จำกัดทั้งจำนวนสินค้าและระยะเวลา ทำให้การตัดสินใจของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล อย่างไรก็ตามการใช้กลยุทธ์นี้ต้องใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ ถ้าผู้ขายใช้กลยุทธ์ Flash Sale มากเกินไปอาจจะประสบภาวะขาดทุนได้
3. สถานที่และการจัดจำหน่าย (Place)
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจ e-commerce เติบโตอย่างรวดเร็ว คนไทยหันมาใช้บริการ e-payment มากขึ้นและจากรายงาน Coronavirus in Thailand – Trends & Implications for Brands and Marketers พบว่า ผลกระทบของโควิด-19 ทำให้คนไทยสั่งอาหารทางออนไลน์ ใช้บริการ Food Delivery เพิ่มขึ้นถึง 44% แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป และถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลายลง แต่พฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์เป็นพฤติกรรมที่เคยชินของผู้บริโภคไปแล้ว ช่องทางจำหน่ายหลักของผู้ขายจะไม่ใช่หน้าร้านอีกต่อไป แต่ถูกแทนที่ด้วยการขายของทางออนไลน์ ผ่านทางสื่อ Social Media แทน นอกจากนี้การส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า ต้องสะดวกและทันเวลา
4. การส่งเสริมการขาย (Promotion)
ปัจจุบันผู้บริโภคในยุคใหม่สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าที่ตัวเองสนใจในโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ผู้ขายต้องให้ข้อมูลสินค้าที่เป็นจริง สร้างความน่าเชื่อถือในระยะยาว การขายสินค้าที่ไม่ตรงกับที่โฆษณาไว้ อาจจะทำให้ผู้ขายถึงขั้นปิดกิจการได้
ทั้งหมดนี้ คือ ตัวอย่างการนำกลยุทธ์การตลาด 4 P แบบดั้งเดิมมาปรับใช้ในยุค New Normal ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ลักษณะของสินค้า และกลุ่มผู้ซื้อของสินค้าแต่ละประเภท แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม คือ ความจริงใจและความน่าเชื่อถือผู้ขาย ที่ใช้เวลาในการสร้างนาน แต่ถูกทำลายได้ในชั่วพริบตา ขณะที่ผู้บริโภคต้องศึกษาเงื่อนไขการซื้อสินค้าให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ อย่าใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
30 บันทึก
67
9
41
30
67
9
41
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย