12 ก.ค. 2020 เวลา 05:53 • การศึกษา
Cognitive science&Class design
จากหนังสือ Fluent forever แต่งโดย Gabrial Wyner ได้เสนอ 5 หลักการที่จะหยุดกระบวนการหลงลืมสิ่งที่ต้องการจำ
1. Make memories more memorable
2. Maximize laziness
3. Don't review. Recall
4. Wait, wait! Don't tell me.
5. Rewrite the past
วันนี้จะยกมาพูดเฉพาะ Don't review. Recall. โดยผู้เขียน เริ่มด้วยประโยคของ Admon Israel ที่ว่า "In school we learn things then take the test, In every life we take the test then we learn things.."
รูปปกหนังสือ
คราวนี้ลองมาจำตัวหนังสือจีน 6 ตัว ด้านล่าง โดยมีทางเลือกให้ 2 ทาง คือ
1. ให้เวลาจำตัวอักษร 30 วินาที
2. ให้เวลาจำตัวหนังสือเพียง 15 วินาที
จากนั้น ให้กระดาษเปล่า 1 แผ่น เพื่อเขียน ตัวอักษรที่นึกได้ลงไป จากนั้น อีก 5 นาที หลังจากจดจำตัวอักษรให้คนที่ทำการทดลองแต่ละอย่างเขียนตัวหนังสือที่สามารถจำได้ลงไป ในกระดาษทดสอบแผ่นใหม่
ตัวอักษรจีนทั้ง 6
อธิบาย
วิธีแรก เรียกว่า Review คล้ายเวลาเรานั่งอ่านหนังสือหน้าเดิมซ้ำๆ
วิธีหลัง เรียกว่า Recall พยายามนึกสิ่งที่พึ่งจดจำมา ซึ่งมีการศึกษาวิจัยพบว่า
วิธีหลังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำได้มากกว่าวิธีแรก เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น
กราฟเปรียบเทียบ สีเข้ม แทน Review สีอ่อน แทน Recall
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม เวลาเราฝึกทำข้อสอบ หรือแบบฝึกหัดจึงทำให้เราจำเนื้อหาได้ดีกว่าเดิม เมื่อเทียบกับเราอ่านกนังสือเพียงอย่างเดียว.
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทุกครั้งที่เราถูกทดสอบ หรือถูกตัดสินร่างกายเราจะกระตุ้นการหลั่งสารเคมีซึ่งทำให้ความจำเก่าถูกกระตุ้นขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และในทุกๆ ครั้งที่เราจำได้ สารเคมีที่แสดงถึงรางวัลเมื่อเราทำสำเร็จจะถูกหลั่งออกมา ทำให้ความจำที่ถูกเก็ยในระยะสั้นๆ ค่อยๆ เปลี่ยนไปอยู่ในส่วนของความจำระยะยาว...และนั่นคือบทบาทของกระดาษเปล่า
ลองเอาวิธีนี้ไปออกแบบเกมให้เด็กๆ เล่น เพื่อค่อยๆ ให้เด็กจำเนื้อหาโดยที่ไม่ใช่การยัดเยียด เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต้องจำข้อมูลบางอย่าง เพราะสมองเราคงไม่สามารถประมวลผลโดยนั่งเปิดอากู๋ โดยความรู้แยกออกเป็นส่วนๆ แล้วจะสามารถ synthesis องค์ความรู้นั้นขึ้นมา ลองปรับวิธี เปลี่ยนมุมมอง ปล. ไพ่ยูกิที่เด็กๆ จำ บางทีเนื้อหาจำยากกว่าวิชาชีวะซะอีก lol
โฆษณา