12 ก.ค. 2020 เวลา 02:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#การใช้ #Droop Control Mode และ #Isochronous Control Mode ใช้ต่างกันอย่างไร?
#การใช้ Droop Control Mode และ Isochronous Control Mode จะเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าโดยตรง ซึ่งโรงไฟฟ้าที่ศูนย์ต้องสั่งการและควบคุมเพื่อให้การจ่ายโหลดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกชนิดโรงไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับสภาพโหลดให้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งตัวชี้วัดในการควบคุมก็คือความถี่ระบบโดยรวม จากที่ผมเคยได้นำเสนอไปแล้วนั้น ความถี่ระบบเราควบคุมที่โรงไฟฟ้าเป็นหลัก สำหรับแรงดันมีหลายอุปกรณ์ซึ่งได้นำเสนอไปบทความที่ผ่านมา
เรามาเริ่มที่ประเด็นเพื่อนๆถามมาเลยดีกว่า ว่า #เราเลือกใช้อย่างไร?
ความแตกต่างของ #Droop กับ #Isochronous คือ ถ้าเป็นการควบคุมแบบ Droop จะยอมให้ความถี่เปลี่ยนแปลงได้ ตามเงื่อนไขที่ตั้งค่า Droop ไว้ แต่ในกรณีของ Isochronous จะรักษาความถี่ให้คงถี่ตลอดเวลาไม่ว่าโหลดจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง
แล้วเราเลือกใช้แบบไหนดี จริงๆแล้ว ทั้งสองระบบก็มีข้อดีแตกต่างกัน แต่ที่นิยมคือแบบ Droop เพราะในระบบจ่ายไฟฟ้าทั่วไปโรงไฟฟ้ามีขนาดแตกต่างกันประสิทธิภาพก็แตกต่างกัน เมื่อมาร่วมจ่ายโหลดพร้อมกันการแบ่งภาระโหลดจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการใช้ไฟฟ้า เราจึงเห็นว่าบางครั้งความถี่ระบบจะมีค่าสูงบ้างต่ำบ้าง แต่การตอบสนองหรือรักษาเสถียรภาพความถี่อยู่ที่ศูนย์ควบคุมในการเลือกโรงไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโหลดแบบทันทีทันใด ความถี่จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงมาก ซึ่งตัวที่ทำหน้าที่ตรงนั้นคือระบบสั่งการโรงไฟฟ้าคือ Droop แต่ละโรงไฟฟ้านั้นเอง แล้วแบบ Isochronous ไม่เหมาะหรือเปล่า โดยทั่วไปถ้าเราเดินจ่ายภายในที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ การควบคุมแบบ Isochronous จะดีที่สุดเพราะความถี่จะคงที่ตลอดเวลา ซึ่งจริงๆ อาจหาได้อยากที่จะตอบสนองได้รวดเร็วถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโหลดเป็นจำนวนมาก ( ถ้าทำได้จะเหมือนเรา run ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ระบบเลย ค่าความถี่คงที่ตลอดเวลา ) ดังนั้นถ้าในระบบเชื่อมโยงมีการใช้การควบคุมแบบ Isochronous มากกว่า 1 โรงไฟฟ้า และถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้ง 2 แห่ง ผลที่อาจไปในทางดีกลับอาจทำให้ความถี่สวิงไปมาได้ เพราะทั้ง 2 แห่งจะพยามปรับให้ความถี่ให้คงที่ แต่เนื่องจากความไวอาจแตกต่างกันทำให้ ความถี่ระบบแกว่งได้ ดังนั้นความนิยมจึงใช้แบบ Droop มากกว่า
แล้วค่า Droop เราคิดอย่างไร ซึ่งเราเห็นเป็นเปอร์เซ็นต์ หลักการคิดผมได้ลงรูปไว้ให้ในโพสนี้โดยขออนุญาต นำมาจากเวปนะครับ ซึ่งเพื่อนๆสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ เช่นโรงไฟฟ้ามี Droop ที่ 5% หมายความว่า สภาพการจ่ายโหลดของโรงไฟฟ้าแห่งนั้นค่าความถี่จะเปลี่ยนแปลงจากช่วงไม่มีโหลด ไปยังตอนรับภาระโหลดเต็มที่ ความถี่จะตกลง 5% ดังนั้นเมื่อโรงไฟฟ้ามีหลายแห่ง การตอบสนองจึงมีความแตกต่างกันไปตามชนิดและประสิทธิภาพในการสั่งการของระบบควบคุมโรงไฟฟ้า
****หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์เพื่อให้ทราบว่าทั้งสองแบบใช้งานแตกต่างกันอย่างไร ถ้าชอบและถูกใจ ช่วยกด ชอบ และแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ****
#ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ
#การใช้ #Droop Control Mode และ #Isochronous Control Mode
โฆษณา