21 ก.ค. 2020 เวลา 02:57
#ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ Spinning Reserve และ ระบบ Automatic Generation Control (AGC) (ตอนที่2)
1
มาเล่าเรื่อง Spinning Reserve ต่อจากเรื่อง AGC ครั้งที่แล้วนะครับ Spinning Reserve เป็นปริมาณกําลังผลิตของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่เหลือจากปริมาณ #กําลังผลิตที่พร้อมจ่าย (Spinning Reserve = Daily Maximum Availability – Actual MW Output) ปริมาณดังกล่าวจะถูกนํามาใช้ในช่วงการทํางานของ Primary Control ในช่วง คาบเวลา 30 วินาที และ Secondary Control ในช่วงคาบเวลา 15 นาที
สําหรับ #Standby Reserve เป็น ปริมาณกําลังผลิตที่พร้อมใช้งานของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าที่ยังไม่ได้เดินเครื่องอยู่ ในระบบและเมื่อมีการใช้งานจะต้องคํานึงถึงระยะเวลา Start Up ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของโรงไฟฟ้า ในทางปฏิบัติจะ #พิจารณาโรงไฟฟ้าที่มีระยะเวลา Start Up ระหว่าง 5 ถึง 30 นาที เพื่อให้สามารถทดแทนกําลังผลิตได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว กรณีที่มี #เครื่องกําเนิดไฟฟ้าบางส่วนต้องปลด / Trip ออกไป หรือเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานการบริหารจัดการ Spinning Reserve กรณีที่การใช้ไฟฟ้ามีค่ามากกว่าแผน ในสภาวะปกติ ศูนย์ควบคุมระบบกําลังไฟฟ้าจะมีการบริหารจัดการ Spinning Reserve โดยพิจารณาจากปริมาณกําลังผลิตไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้ในขณะนั้นและจากการกระจายการ รับภาระของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ (Reserve Distribution) #เพื่อให้สามารถรองรับเหตุการณ์ N-1 (เครื่องกําเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดที่เดินเครื่องอยู่ในระบบขณะนั้น Trip หรือ #รองรับเหตุการณ์สายส่ง Trip แล้วทําให้กลุ่มของเครื่องกําเนิดไฟฟ้หายไป) รวมทั้ง #รองรับปริมาณการเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาในสภาวะปกติ
กําลังผลิตสํารอง #Tertiary Reserve จะได้จากโรงไฟฟ้า ซึ่งไม่ได้เดินเครื่องอยู่แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะทําให้ขาดกําลังผลิตสํารอง โรงไฟฟ้านี้จะสามารถเครื่องขนานเข้าระบบเพื่อทดแทน #Secondary Reserve และ #Primary Reserve ภายในเวลาที่กําหนด
- การสํารอง Tertiary Reserve จะต้องเพียงพอเพื่อทดแทน Secondary Reserve เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยจะต้องไม่ต่ํากว่ากําลังผลิตสูงสุดที่ อาจเกิดขึ้นในระบบ
- ในการพิจารณาสั่งเดินเครื่อง Tertiary Reserve ศูนย์ควบคุมฯ อาจพิจารณาข้อมูลประกอบ คือ เวลาที่สามารถแก้ไขเหตุฉุกเฉินช่วงเวลาการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของความต้องการไฟฟ้า ปริมาณเชื้อเพลิงสํารอง และความเสี่ยง จากการเกิดไฟดับ
- ในกรณีที่ Tertiary Reserve ในระบบมีปัญหาอาจขอสํารองบางส่วนจาก ประเทศข้างเคียงได้ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาความสามารถในการส่งไฟฟ้า ผ่านระบบ Inter-Connector ด้วย
- ในกรณีทีมีการตกลงแลกเปลี่ยนไฟฟ้าสํารองระหว่างประเทศจะต้องแจ้งให้ประเทศสมาชิกทราบเพื่อกําหนดการสํารองในการสั่งไฟผ่านระบบส่งเชื่อมโยง (ข้อมูลจาก #มาตรฐานการควบคุมความถี่และกําลังไฟฟ้าระหว่างประเทศ)
หน้าที่ของ #ศูนย์ควบคุมระบบกําลังไฟฟ้า จะต้องดูแลให้ Automatic Generation Control System มีการทํางานที่ครอบคลุมถึง การเชื่อมโยงระบบระหว่างประเทศ การบริหารจัดการ Spinning Reserve และ Standby Reserve การบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้ากรณีกําลังผลิตมีไม่เพียงพอ และระบบป้องกันพิเศษ (Special Scheme Protection) สําหรับระบบกําลังไฟฟ้าในสภาวะฉุกเฉิน
หวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ และเป็นพื้นฐานในการค้นคว้าต่อไปครับ ช่วยกดถูกใจและ กดติดตาม และแชร์ให้เพื่อนได้แลกเปลี่ยนความรู้กันด้วยนะครับ
#ระบบส่งไฟฟ้าและการควบคุมการจ่ายไฟ
#ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ Spinning Reserve และ ระบบ Automatic Generation Control (AGC)
โฆษณา