13 ก.ค. 2020 เวลา 14:32
TIME - เวลานั้น สำคัญไฉน เมื่อถึงวันที่อยากขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิต
เพราะเวลาไม่ใช่ "ปริมาณ" เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง "จังหวะ" และ "จะโคน" ในการใช้งานที่แยกกันไม่ออก
Time & Timing & Tempo เข้าใจถูก ใช้เป็น เห็นผลลัพธ์
กติกาที่ไม่เคยเปลี่ยน บนเกมส์การผลิตแบบ Productive คือการสร้างการส่งต่อระหว่างกันไม่ให้ขาดสะบั้น (No disconnect) และรักษาความเร็ว (Speed)ในการผลิตให้อยู่ภายใต้ Takt Time ได้อย่างต่อเนื่อง (Consistent) มีเท่านั้นจริงๆครับ
ปัญหาคาใจของทุกสายการผลิต คงไม่พ้น output ออกไม่ได้ดั่งใจ หรือพูดง่ายๆว่าออกน้อยกว่าแผน ออกกระปริบกระปอย หรือออกแบบสลับฟันปลา ทุกอาการที่ว่ามากำลังบอกว่ากระบวนการของเราที่จุดใดจุดหนึ่งมีปัญหาขึ้นแล้ว เพราะความผิดแผกไปจากกติกาข้างต้นข้อใดข้อหนึ่งเป็นแน่
แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Takt Time หรือ TT กันก่อนว่าคืออะไร เหตุใดจึงมาความสำคัญกับการดำเนินงานในการเพิ่มผลผลิตที่ต้องถูกหยิบยกขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
Takt Time คือดัชนีที่ใช้อธิบายความต้องการของลูกค้า "Demand" โดยใช้ตัวเลขเสมือน เพื่อเป็นตัวแทนในการชี้ชัดลงไปว่า "ในการบรรลุความต้องการของลูกค้าได้นั้น สายการผลิตต้องใช้เวลาอย่างช้าที่สุดเท่าไรในการก่อให้เกิดชิ้นงานที่ดีขึ้นมาที่ปลายทาง 1 ชิ้น" และแน่นอนที่สุด TT ช่วยให้ทุกคนมองเห็นและวัดได้ อย่างชัดเจนจนไม่สามารถปฏิเสธความจริงนั้น และ
ในที่สุด TT ก็จะกลายมาเป็นเป้าหมายให้เราหันกลับมามองกระบวนการเพื่อดำเนินการใดๆให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า "Supply" ภายใต้ TT นั้น
การคำนวน TT = (Available Working Time) / (Demand)
ลองคิดกันเล่นๆ เมื่อเรามีเวลาในการทำงานใน 1 วัน คือ 8 ชม. หรือ 480 นาที หากลูกค้าต้องการของวันละ 48 ชิ้น แสดงว่า TT = 480/48 = 10 นาที
TT = 10 นาที/ชิ้น หรือกำลังจะบอกเราว่า เสมือนทุกๆ 10 นาทีหากเราไม่สามารถมองเห็นชิ้นงานสำเร็จพร้อมส่ง 1 ชิ้นแล้วละก็... เรามีโอกาสสูงมากที่เราจะไม่สามารถส่งของทั้งหมด 48 ชิ้นในเวลาที่มี คุณคิดว่าจริงไหมละ
แต่ผมใช้คำว่า "เสมือน" ที่พยายามจะสื่อให้เข้าใจว่า ในสัดส่วนของทุกๆ 10 นาทีมีชิ้นงานออกมา 1 ชิ้น แต่หากเราทำงานแบบ batch เช่นงานจากตู้อบอาจใช้เวลา 1 รอบ /200 นาที แต่ภายในตู้อบมีชิ้นงานอยู่ 40 ชิ้น เมื่อสิ้นรอบการทำงาน ก็เสมือนว่าเราสามารถสร้างชิ้นงาน 5 นาทีต่อชิ้น แสดงให้เห็นว่าเราสามารถสร้างผลงานให้อยู่ภายใต้ TT คือ 10 นาทีนั่นเอง
และหากเราไม่สนใจ Takt Time จะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนครับ
1. คุณอาจส่งของไม่ทัน เกิดความล่าช้า เพราะคุณไม่รู้ได้อย่างแน่ชัดว่าคุณช้าตรงไหน มากน้อยเท่าไร หรือ
2. คุณอาจส่งของทัน จนคุณคิดว่า Takt Time ไม่มีค่าใดๆสำหรับคุณ แต่คุณอาจลืมไปว่า คุณอาจจะสูญเสียบางอย่างเกินความจำเป็น โดยคุณมองไม่ออกเลยว่าแท้จริงแล้วคุณช้ากว่านี้ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรที่เกินจำเป็นได้อีกมากมาย
ใช่ครับ ในการเพิ่มผลผลิต ไม่ใช่หมายถึงทำให้เร็วที่สุด ในสิ่งที่อยากทำ แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือทำให้ทัน ทำให้ดี ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการครับ
ติดตามต่อในโพสต์หน้า กับเวลาที่ชื่อ Cycle Time
โฆษณา