14 ก.ค. 2020 เวลา 13:24 • การศึกษา
"วาทกรรมในการศึกษาการพัฒนา และ การวิเคราะห์วาทกรรม"
สวัสดีครับ วันนี้เราเข้ามาสู่ในตอนที่ 3.1 กันแล้ว สาเหตุที่ต้องแบ่งพาร์ทเพราะมีความละเอียดมาก ผู้อ่านท่านใดที่ต้องการอ่านตอนที่ 1 และ 2 สามารถเลื่อนลงไปอ่านได้เลยนะครับ สำหรับผู้ที่อ่านแล้ว มาอ่านตอนต่อไปกันเลย
ผู้เขียนจะไม่พูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา”โดยตรง แต่เป็นการพุดถึงการพัฒนาในต่างระดับและต่างมุมมอง ที่ชี้ให้เห็นถึงความยุ่งยาก ความสลับซับซ้อนของการพัฒนา โดยใช้แนวคิดหลักในการวิเคราะห์วาทกรรม ของมิเชล ฟูโก เป็นหลักเพื่อทำความเข้าใจให้เห็นวาทกรรมของสิ่งที่เรียกว่า การพัฒนา ได้ให้ความสนใจในประเด็นคำถามเกี่ยวกับ ความเป็นอื่นของการพัฒนา พูดถึงรายละเอียดและกระบวนการสร้างเอกลักษณ์ ตัวตนของสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ? โดยมองการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรม ที่เกิดขึ้นมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างเอกลักษณ์ที่เรียกว่า ความด้อยพัฒนา เป็นคู่ตรงข้ามกับ การพัฒนา ซึ่งเป็นการนิยามโดยมหาอำนาจตะวันตก ดังนั้นการพัฒนาก็คือ การเปลี่ยนทิศทางให้เป็นแบบสังคมตะวันตก จึงถูกเรียกว่า “ทฤษฎีทำให้ทันสมัย” แต่ก็ได้ปรากฏให้เห็นว่าการทำให้ทันสมัย ได้นำไปสู่ปัญหามากมายสู่สังคมของประเทศด้อย พัฒนา โดยผู้เขียน จะทำการวิเคราะห์ในเนื้อหาดังนี้
1. ทำการวิเคราะห์วาทกรรม
2. วิเคราะห์การพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรม
วาทกรรมว่าด้วยการพัฒนา เป็นตัวกำหนดหรือสร้างความหมายให้กับสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา” และคำว่า “ด้อยพัฒนา" อีกอย่างหนึ่งคือ การจัดประเภทของประเทศ ว่าพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยกตามสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เท่าเทียมกัน เมื่อมีความเท่าเทียมที่เกิดจากวาทกรรมว่าด้วยการเรื่องอำนาจและความรุนแรง ทีมีการบังคับ ยัดเหยียด ด้วยการปฏิบัติของวาทกรรม ฟูโก ได้กล่าวว่าการผลิตวาทกรรม จะถูกควบคุม คัดสรร จัดระบบ และแจกจ่ายภายใต้กฎเกณฑ์ โดยผู้คนมองไม่เห็นถึงอำนาจและอันตราย
1.การวิเคราะห์วาทกรรม
การวิเคราะห์วาทกรรม คือ การพยายามศึกษาและสืบค้นถึงกระบวนการ ขั้นตอน ลำดับเหตุการณ์และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ในการสร้างเอกลักษณ์และการต่อสู้เพื่อช่วงชิงการนำ และความสัมพันธ์ที่มีความสลับซับซ้อนในสังคม ที่เป็นตัวกำหนด เช่น สถาบันต่างๆ ในสังคมรวมถึงระบบเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม แบบแผนพฤติกรรม จารีตประเพณี ดังที่ ฟูโก ได้ให้ความสำคัญกับวาทกรรมที่เป็นเฉพาะด้านที่สำคัญในสังคมนั้นๆ เช่นวาทกรรมของบรรดาผู้เชี่ยวชาญในแขนงวิชาต่างๆ ที่ทำการกำหนดขอบเขตสิ่งที่พูด สิ่งที่ศึกษา จะพูดอย่างไร พูดเรื่องอะไร ใครเป็นผู้พูด เช่น แพทย์มีอำนาจ ความชอบธรรมในการพูดถึงความเจ็บป่วย สุขภาพอนามัย
ในเรื่องกระบวนการ ขั้นตอน ในการวิเคราะห์วาทกรรม เริ่มด้วยการตั้งคำถามที่ง่ายๆ ว่าอะไรคือสิ่งที่เรียกว่า การพัฒนา เป็นการตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบค้นหาเอกลักษณ์ ของคำว่า การพัฒนา ไม่ใช่เป็นการค้นหา เจาะลึกความหมาย แต่เป็นการทำให้เราเห็นถึงความโยงใยของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม และยังทำให้เราเห็นถึงความเลื่อนไหล เปลี่ยนแปลงมากกว่าความเป็นเอกภาพ คำถามดังกล่าวนี้ทำให้เราเห็นว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจ ความชอบธรรมในการพูดถึงเรื่องการพัฒนา และพูดว่าอย่างไร ใช้วิธีการใด
โดยผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างวาทกรรมชุดหนึ่งที่ บอร์โด ได้กล่าวถึง“เรือนร่างของสตรี” ในสังคมตะวันตก ว่ามีกระบานการสร้างสิ่งที่เรียกว่า เรือนร่างสตรีที่สวยอย่างไร ทำไมเรือนร่างสตรีที่ถือกันว่าสวยจึงต้องเป็นแบบ เช่น ผอม สูง มีส่วนเว้าส่วนโค้งเฉพาะที่ จนทำให้สตรีตะวันตกต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รวมถึงการศัลยกรรม เพื่อให้ดูสวย และกลายเป็นตัวตนใหม่ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนั่นเองครับ
ติดตามต่อในตอนที่ 3.2 นะครับ ถ้าหากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัย สามารถคอมเม้นเข้ามาได้เลยนะครับ และอย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเพจกันด้วยนะครับ แล้วเจอกันในตอนต่อไปครับ ขอบคุณครับ
โฆษณา