Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
15 ก.ค. 2020 เวลา 12:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัตราส่วนทางการเงิน บอกอะไรได้บ้าง
หากพูดถึงอัตราส่วนทางการเงิน หลายอาจจะนึกถึงหุ้นตัวใดตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ หรือหุ้นที่มีในพอร์ตของตนเอง เพราะถ้าเป็นนักลงทุนในหลักทรัพย์ใดแล้ว ก็ย่อมต้องการทราบผลประกอบการว่าเป็นไปในแนวทางใด เหมาะที่จะลงทุนต่อหรือไม่ โดยการนำอัตราส่วนทางการเงินเข้ามาช่วย
อัตราส่วนทางการเงินแบบต่างๆ
ซึ่งอัตราส่วนทางการเงิน เป็นการนําข้อมูลในรายงานทางการเงินมาทําการวิเคราะห์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และตัวเลขในงบการเงินจะมีประโยชน์อย่างมาก ถ้าหากนำมาใช้เป็น
ยกเว้นแต่ กรณีถ้ากิจการมีการตกแต่งบัญชี เพื่อให้งบการเงินดูดีกว่าที่ควรจะเป็น จะทําให้ผลการวิเคราะห์ต่างไปจากความเป็นจริงและไม่ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ อย่างเช่น กรณีของ Enron , WorldCom หรือล่าสุด Luckin Coffee ในประเทศจีน ที่มีการตกแต่งบัญชี ทำยอดขายดีเกินจริง เป็นต้น
2
สำหรับอัตราส่วนทางการเงินที่มีความสำคัญนั้น ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท ค่อนข้างมีความหลากหลาย ซึ่งจะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป สามารถจำแนก ได้ดังนี้
1. วัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
2. วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
3. วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratios)
4. วัดความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratios)
1
1. วัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
สภาพคล่อง (Liquidity) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสภาพสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด เพื่อนําไปชําระหนี้สินระยะสั้น สินทรัพย์ใดที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายและรวดเร็วถือว่าสินทรัพย์นั้นมีสภาพคล่องสูง
กิจการที่มีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายเป็นจํานวนมาก กิจการนั้นจะมี
สภาพคล่องสูง
อัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่อง มีดังนี้
1.1 อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
1.3 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
1.4 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)
1.5 อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ (Account Payable Turnover)
1.6 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน คํานวณโดยนําสินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วยหนี้สินหมุนเวียน เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัด ความสามารถในการชําระหนี้ระยะสั้น
1
สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ในเวลาอันรวดเร็วและมีค่าใกล้เคียงเงินสด ได้แก่เงินสด เงินฝากธนาคาร หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ
หนี้สินหมุนเวียน คือ หนี้สินที่มีกําหนดชําระคืนภายในระยะเวลา 1 ปี ได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่าย หนี้สินระยะยาวที่ครบกําหนดไถ่ถอน
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน บอกให้ทราบว่า กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นกี่เท่าของหนี้สินหมุนเวียน และเมื่อกิจการจ่ายชําระหนี้ระยะสั้นแล้ว ยังมีสินทรัพย์หมุนเวียนเหลือสําหรับใช้ในการหมุนเวียนในการดําเนินงานหรือไม่
ถ้าค่าที่คํานวณได้สูงเท่าใด แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทําให้คล่องตัวในการชําระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก
1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
เป็นอัตราส่วนที่คล้ายกับอัตราส่วนทุนหมุนเวียน แต่ในการคํานวณสินทรัพย์หมุนเวียนนั้น รวมเฉพาะสินทรัพย์ที่ถือว่าเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายรวดเร็ว กล่าวคือ ไม่รวมสินค้าคงเหลือและไม่รวมค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
เนื่องจากสินค้าคงเหลืออาจเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า หรือขายไม่ออกในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา หรืออาจเป็นสินค้าตกรุ่นหรือล้าสมัย ส่วนค่าใช้จ่ายล่วงหน้าก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว บอกให้ทราบว่า ณวันที่วิเคราะห์งบการเงิน กิจการมีสินทรัพย์ทีเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดได้เร็วเป็นกี่เท่าของหนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนนี้ จะใช้ในการวัดความสามารถในการชําระหนี้ระยะสั้นได้ดีกว่าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
ในแง่ของเจ้าหนี้ชอบที่จะให้อัตราส่วนนี้สูง ๆ เพราะถ้าหากกิจการของลูกหนี้ต้องมีอันล้มเลิกกิจการไป เจ้าหนี้ก็ยังคงมีความมั่นใจได้ว่ากิจการยังมีสินทรัพย์เพียงพอที่จะชําระหนี้
1
แต่ในแง่ของการบริหารกิจการ ถือว่าถ้าหากอัตราส่วนนี้สูงไม่ใช่สัญญาณที่ดีนักแสดงถึงกิจการมีการถือเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดไว้มากเกินไป ทําให้กิจการเสียประโยชน์ในการนําไปลงทุนหาผลประโยชน์อื่นที่ควรจะได้
2
1.3 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่องของลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้กี่รอบ
1
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะแปรลูกหนี้เป็นเงินสดได้รวดเร็วเป็นกี่ครั้งเมื่อเทียบกับการขายเชื่อ (ขายสุทธิ)
อัตราส่วนนี้ บอกให้ทราบว่าในช่วงเวลาที่ทําการวิเคราะห์ ธุรกิจได้ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและสามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้กี่ครั้งในรอบระยะเวลาบัญชี
อัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงว่า ความสามารถในการบริหารลูกหนี้ได้ดี หรือลูกหนี้ของกิจการเป็นลูกหนี้ที่ดีในช่วงเวลาที่วิเคราะห์ธุรกิจมีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้เร็ว
นั่นคือ ลูกหนี้ของกิจการมีความคล่องตัวสูง ถ้าอัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้
น้อย แสดงว่า ช่วงเวลาที่วิเคราะห์นั้น ธุรกิจมีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ช้า
1.4 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)
อัตราส่วนนี้ยิ่งต่ํายิ่งดี แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ การเก็บเงินเร็วจากลูกหนี้ ทําให้มีเงินสดไว้ใช้ชําระหนี้ได้เร็ว
1
1.5 อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ (Account Payable Turnover)
อัตราส่วนนี้จะวัดสภาพคล่องของกิจการในการจ่ายชําระหนี้เจ้าหนี้ ถ้าอัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้สูง แสดงว่ากิจการมีการจ่ายชําระหนี้ทําได้เร็ว แสดงถึงกิจการมีสภาพคล่องในการจ่ายชําระหนี้เจ้าหนี้ได้ดี มีประสิทธิภาพสูง
กิจการที่มีประสิทธิภาพในการชําระหนี้ดี จะมีระยะเวลาในการชําระหนี้สั้น คือใช้เวลาในการชําระหนี้ที่น้อย เรียกได้ว่ามีสภาพคล่อง เจ้าหนี้จะพึงพอใจที่จะให้เครดิต แต่ถ้าอัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ ต่ํา หรือใช้ระยะเวลาในการชําระหนี้ที่นาน เจ้าหนี้ก็อาจไม่พิจารณาในการให้เครดิตต่อไป
1.6 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่องของสินค้าคงเหลือเป็นการวัดจํานวนครั้งที่ขายได้ของสินค้าในรอบระยะเวลาบัญชี
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือบอกให้ทราบว่าในงวดของการวิเคราะห์กิจการสามารถนําสินค้าคงเหลือขายไปได้กี่ครั้ง
หากอัตราส่วนสูงก็แสดงว่ามีสินค้าคงเหลือน้อย ประสิทธิภาพด้านการขายอยู่ในเกณฑ์ดีสินค้านั้น อยู่ในความต้องการของตลาดและอาจแสดงให้เห็นว่าสินค้าอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
และหากอัตราส่วนต่ําก็แสดงว่าสินค้าคงเหลือมีอยู่มาก ยังต้องปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการตลาด หรือสินค้าไม่อยู่ในความต้องการของตลาด หรือธุรกิจเก็บสินค้าไว้นานจนเกินไปและอาจชี้ให้เห็นว่ามีสินค้ามากเกินไป ควรจะไปลงทุนด้านอื่น
2. วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
อัตราส่วนเพื่อการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย
2.1 อัตรากําไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
2.2 อัตรากําไรจากการดําเนินงาน (Operating Profit Margin)
2.3 อัตรากําไรสุทธิ (Net Profit Margin)
2.4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Assets หรือ ROA)
2.5 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity หรือ ROE)
2.6 อัตรากำไรต่อหุ้น (Earnings per Share หรือ EPS)
2.1 อัตรากําไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่า กิจการมีกําไรขั้นต้นเป็นจํานวนเท่าใดเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิ
เป็นการชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการหากําไรขั้นต้น ซึ่งเป็นกําไรก่อนหักค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้
อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงนโยบายการตั้งราคา และการบริหารการผลิต
ค่าแสดงตัวเลขในอัตราส่วนนี้ควรจะสูง เพราะหมายถึงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการหากําไรขั้นต้นเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิได้ดี
หากค่าตัวเลขต่ำ หมายถึงกิจการไม่มีประสิทธิภาพในการทํากําไรขั้นต้น
2.2 อัตรากําไรจากการดําเนินงาน (Operating Profit Margin)
เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการหากําไร โดยการเปรียบเทียบกําไรจากการดําเนินงานกับยอดขายสุทธิ ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการหากําไรหลังจากหักค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานแล้ว
ค่าแสดงตัวเลขในอัตราส่วนนี้ควรจะสูง เพราะหมายถึงประสิทธิภาพในการหากําไรจากการดําเนินงานได้ดี
แต่ถ้าค่าอัตราส่วนนี้ต่ํา แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากําไรต่ํา กิจการอาจประสบปัญหามีค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานสูง จึงควรปรับลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง
2.3 อัตรากําไรสุทธิ (Net Profit Margin)
เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นผลกําไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้วว่ามีจํานวนเท่าใด เมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิ
อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่าธุรกิจบริหารงานมีประสิทธิภาพเพียงใด และธุรกิจสามารถดําเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้เพียงใด
ค่าแสดงตัวเลขในอัตราส่วนนี้ควรจะสูง เพราะหมายถึงประสิทธิภาพในการหากําไรสุทธิเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิได้ดี
หากค่าแสดงตัวเลขต่ํา หมายถึงกิจการไม่มีประสิทธิภาพในการหากําไรสุทธิ
อัตรากําไรขั้นต้น อัตรากําไรจากการดําเนินงานและอัตรากําไรสุทธิ ทั้ง 3 อัตรานี้ควรพิจารณาประกอบกัน เพื่อหาสาเหตุที่กระทบกับกําไรสุทธิ ทําให้กําไรสุทธิต่ํา หรือกําไรสุทธิลดลงว่าเกิดจากค่าใช้จ่ายใด จะเป็นที่ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน หรือ ต้นทุนทางการเงิน
1
เพื่อที่จะได้แก้ไขปรับปรุงค่าใช้จ่ายที่ทําให้กําไรสุทธิของกิจการต่ํา หรือทําให้กําไรสุทธิลดลงเมื่อเทียบกับข้อมูลในงบกําไรขาดทุนปีก่อน ๆ
2.4 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets หรือ ROA)
เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการนําเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ ว่าก่อให้เกิดผลกําไรมากน้อยเพียงใด
โดยสินทรัพย์ดังกล่าว หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งกิจการใช้งานอยู่เท่านั้น ไม่รวมถึงสินทรัพย์ที่กิจการไม่ได้ใช้งาน หรือสินทรัพย์ถาวรที่อยู่ระหว่างการสร้าง
อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนทั้งสิ้นหรือการใช้สินทรัพย์ว่า ได้ผลตอบแทนเพียงพอหรือไม่
อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนหนึ่งที่ฝ่ายบริหารใช้ควบคุมการดําเนินการหรือการวางแผนโดยตรง
อัตราส่วนนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment: ROI)
เป็นการชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการหากําไรสุทธิ เพื่อมาตอบแทนการลงทุนในส่วนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น
ค่าแสดงตัวเลขในอัตราส่วนนี้ควรสูง เพราะหมายถึงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการหากําไรสุทธิเพื่อมาตอบแทนส่วนของสินทรัพย์ทั้งสิ้นได้คุ้มค่ากับการลงทุน
หากค่าที่ได้ต่ํา หมายถึงกิจการไม่มีประสิทธิภาพในการหากําไรสุทธิ
2.5 อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity หรือ ROE)
เป็นอัตราส่วนที่จะแสดงให้ทราบว่าส่วนของเจ้าของที่มีอยู่นั้น จะทําให้เกิดผลกําไรเป็นจํานวนเท่าใด โดยส่วนของเจ้าของประกอบด้วย ส่วนทุน กําไรสะสม และเงินสํารองต่าง ๆ
1
อัตราส่วนนี้เป็นการวัดผลตอบแทนต่อเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะ
1
แสดงให้เห็นความสามารถของฝ่ายบริหารที่ใช้สินทรัพย์ให้มีประโยชน์ให้มากที่สุด และกู้เงินจากบุคคลภายนอกมาใช้ในการดําเนินงานให้ได้ผลประโยชน์มากกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายไป
ค่าแสดงตัวเลขในอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของควรจะสูง เพราะแสดงถึงประสิทธิภาพในการหากําไรสุทธิในการหากําไรสุทธิเพื่อมาตอบแทนส่วนของเจ้าของได้ดี
หากค่าแสดงตัวเลขต่ํา หมายถึง กิจการไม่มีประสิทธิภาพในการหากําไรสุทธิ
2.6 อัตรากำไรต่อหุ้น (Earnings per Share หรือ EPS)
เป็นการวัดความสามารถในการทํากําไร โดยพิจารณาผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับ
ถ้าอัตรากําไรต่อหุ้นสูง แสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการทํากําไรดี สามารถให้
ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสามัญในราคาที่สูง
ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่า ในการลงทุนหุ้นสามัญ 1 หุ้น ผู้ถือหุ้นจะได้กําไรกี่บาท
ถ้านํากําไรต่อหุ้นของบริษัทมาเปรียบเทียบกับกําไรต่อหุ้นของบริษัทในอดีต
ก็สามารถที่จะบอกถึงแนวโน้มการหากําไรสุทธิของบริษัทได้ว่า มีความสามารถหากําไรดีขึ้นหรือเลวลง หรืออาจจะนํากําไรต่อหุ้นของบริษัทมาเปรียบเทียบกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีขนาดเท่ากัน ก็สามารถบอกได้ว่า ธุรกิจใดมีความสามารถในการหากําไรดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร
3. วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Efficiency Ratios)
อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการดําเนินงาน ประกอบด้วย
3.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
3.2 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
3.3 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)
3.4 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
3.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้(Account Receivable Turnover)
อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดการลูกหนี้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ กิจการสามารถเก็บเงินจากลูกหนี้ได้หรือไม่ ถ้าอัตราส่วนนี้สูงหมายถึง กิจการมีประสิทธิภาพในการจัดการลูกหนี้ หรือลูกหนี้ของกิจการเป็นลูกหนี้ที่ดี มีคุณภาพ
3.2 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
อัตราส่วนนี้เป็นการวัดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงเหลือ ถ้าอัตราส่วนนี้สูงหมายถึง กิจการมีประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงเหลือได้ดี สินค้ามีการหมุนเวียนสูง
3.3 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)
อัตราส่วนนี้บอกให้ทราบว่า ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์ถาวร มีประสิทธิภาพเพียงใด หรือธุรกิจใช้สินทรัพย์ถาวรไป 1 บาท จะก่อให้เกิดยอดขายเท่าใด
ถ้าอัตราส่วนที่ได้มีค่ามาก แสดงว่า ธุรกิจมีการใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าอัตราส่วนที่ได้มีค่าน้อย แสดงว่า ธุรกิจใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างไม่มีประสิทธิภาพและถ้าธุรกิจมีการซื้อสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้น
และอัตราส่วนที่ได้น้อยลง ย่อมแสดงให้เห็นว่าธุรกิจนั้นมีสินทรัพย์ถาวรเกินความจําเป็น ธุรกิจนั้นจะต้องพยายามหาวิธีที่จะใช้สินทรัพย์ถาวรมากขึ้น หรืออาจจะขายสินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีความจําเป็นต้องใช้ออกไป
1
3.4 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
อัตราส่วนนี้บอกให้ทราบว่า ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์ทั้งสิ้นอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด หรืออาจกล่าวได้ว่าธุรกิจมีการใช้สินทรัพย์ไปและจะก่อให้เกิดยอดขายเท่าใด
ถ้าอัตราส่วนที่คํานวณได้มีจํานวนครั้งสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด เมื่อเทียบกับยอดขาย ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ํา แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ การใช้สินทรัพย์รวมไม่มีประสิทธิภาพ
4. วัดความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratios)
อัตราส่วนเพื่อการวิเคราะห์ความสามารถในการช าระหนี้ ประกอบด้วย
4.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset หรือ D/A)
4.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity หรือ D/E)
4.3 อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์(Long –Term Debt to Assets)
4.4 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Times Interest Earned)
4.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset หรือ D/A)
อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่าในจํานวนสินทรัพย์ทั้งหมดที่กิจการมีอยู่นั้น มีการใช้เงินทุนจากการกู้ยืมบุคคลภายนอกมากน้อยเพียงใด หรืออีกนัยหนึ่งทําให้ทราบว่ามีส่วนของเจ้าของมาลงทุนในสินทรัพย์มากน้อยเพียงใด
ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าเงินที่นํามาลงทุนในสินทรัพย์ส่วนมากมาจากการกู้ยืมซึ่งจะเป็นสิ่งบอกถึงความเสี่ยงทางด้านการเงิน
ฝ่ายเจ้าหนี้ พอใจในอัตราที่ปานกลางจนถึงต่ํา แสดงว่า กิจการมีสินทรัพย์รวมมากกว่าหนี้สินรวม เจ้าหนี้ของธุรกิจย่อมมีความเสี่ยงน้อย คือ ถ้าธุรกิจต้องเลิกกิจการ เจ้าหนี้มีโอกาสที่จะได้เงินคืน ที่ใกล้เคียงกับเงินต้นที่ให้กู้หรืออาจจะเท่ากันก็ได้แม้ว่าสินทรัพย์ที่ถูกนํามาขายทอดตลาดโดยปกติแล้วจะต่ํากว่าทุนก็ตาม
ฝ่ายเจ้าของกิจการ จะพอใจในอัตราส่วนที่สูง เนื่องจาก
📌 เจ้าของกิจการหลีกเลี่ยงการเพิ่มทุนของกิจการ ซึ่งการเพิ่มทุนอาจทําให้ต้องเพิ่มเจ้าของกิจการ เป็นการเสียสิทธิ์ในการบริหารบริษัท อาจจะทําให้เจ้าของกิจการมีหุ้นที่ต้องลงเพิ่ม เมื่อเทียบกับก่อนการเพิ่มทุน
📌 เป็นการนําเงินของเจ้าหนี้มาและให้ผลตอบแทนที่ต่ํา ส่วนเกินจากอัตราที่ลงทุน หักด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้คือ กําไรของเจ้าของกิจการ
📌 เป็นการลดความเสี่ยงในเงินลงทุนของเจ้าของกิจการ
4.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity หรือ D/E)
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างหนี้สินกับส่วนของเจ้าของ แสดงให้ทราบว่าเงินทุนที่กิจการใช้ในการดําเนินงานนั้นได้มาจากหนี้สินคิดเป็นอัตราส่วนเท่าใดเมื่อเทียบกับส่วนของเจ้าของ
หากอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ากิจการใช้เงินทุนจากหนี้สินสูงเมื่อเทียบกับการลงทุนของเจ้าของกิจการ ธุรกิจจะมีความเสี่ยงทางการเงินสูง โอกาสที่จะหาเงินทุนเพิ่มเติมจากเจ้าหนี้จะมีน้อยลง
ผลลัพธ์ที่ได้บอกให้ทราบว่า ธุรกิจมีแหล่งที่มาของเงินทุนจากหนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นเท่าไร
4.3) อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์ (Long –Term Debt to Assets)
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างหนี้สินระยะยาวกับสินทรัพย์ แสดงให้ทราบว่ามีการนําหนี้สินระยะยาวมาลงทุนในสินทรัพย์เท่าใด เพราะหนี้สินระยะยาวเป็น
หนี้สินที่มีกําหนดระยะเวลาในการชําระหนี้เกินกว่า 1 ปี แต่มีภาระที่ต้องจ่ายชําระ คือ ดอกเบี้ยจ่าย หากอัตราส่วนนี้สูง แสดงถึงกิจการมีความเสี่ยงสูง
4.4) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Times Interest Earned)
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างกําไรจากการดําเนินงาน หรือกําไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ หากอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการจ่ายชําระดอกเบี้ยได้มาก
ในแง่ของเจ้าหนี้ ถ้าอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง เจ้าหนี้จะมั่นใจได้ว่าจะได้รับชําระหนี้
ผลลัพธ์บอกให้ทราบว่ากิจการมีผลกําไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเงินได้เป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย แสดงถึงความสามารถในการชําระค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพันประจํางวด และแสดงให้เห็นว่ากิจการจะต้องทํากําไรเท่าใด จึงจะไม่เดือดร้อน
ในการจ่ายค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพัน มีผลกระทบต่อนโยบายของการจ่ายเงินปันผล และนโยบายอื่น ๆ ของบริษัท
ในแง่ของเจ้าหนี้ ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูงเช่นกัน เจ้าหนี้จึงมีความมั่นใจได้ว่าจะได้รับชําระหนี้เช่นกัน
ในทางตรงข้าม ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ําแสดงว่ากิจการมีความเสี่ยง แม้แต่การจ่ายชําระดอกเบี้ยก็ยังมีปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้การชําระเงินต้นก็อาจมีปัญหาเช่นกัน เจ้าหนี้ก็อาจไม่พิจารณาให้สินเชื่อต่อไป
💦.....ในการใช้อัตราส่วนทางการเงิน ผู้ทําการวิเคราะห์จะต้องระวังไว้ด้วยว่า อัตราส่วนเดียวไม่สามารถที่จะทําให้ผู้วิเคราะห์ชี้ได้ว่า ฐานะของกิจการเป็นอย่างไร
จึงต้องใช้อัตราส่วนอื่นประกอบกัน ซึ่งการนําผลการวิเคราะห์อัตราส่วนไปใช้นั้น ผู้ใช้ควรคํานึงถึงข้อจํากัดต่าง ๆ ของอัตราส่วนโดยมีการนําข้อมูลอื่น ที่ไม่ใช่ตัวเลขมาประกอบด้วย
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
83 บันทึก
55
18
87
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
งบการเงินเพื่อการลงทุน
83
55
18
87
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย