14 ก.ค. 2020 เวลา 14:30 • การศึกษา
ความล้มเหลว คือ การเรียนรู้
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หุยได้มีโอกาสไปเข้าสัมมนา Master Facilitator Program ของ Blair Singer
เป็น ปรมาจารย์โค้ชที่เป็นหนึ่งในระดับ ซึ่งสอนโค้ชธุรกิจ ท่านเป็นเพื่อนสนิทกับ Robert Kiyozaki ผู้แต่งหนังสือเรื่อง พ่อรวยสอนลูก
ถ้าใครได้อ่านหนังสือของ Robert Kiyozaki หลายๆเล่ม จะเห็นว่า เขาไม่ได้มีความชื่นชมหรือนิยมชมชอบระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือ โรงเรียน Blair เองก็เช่นกัน ในสัมมนา และ Workshop 4 วันนี้ เป็นเรื่องเทคนิค การสอน โดยไม่สอน ทั้งสิ้น
Blair ได้นำบทความหนึ่ง มาให้เราได้ศึกษา เป็นบทความ R. Buckminster Fuller ได้พูดถึงกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ลึกซึ้งมาก และทำให้หุยเองได้ตกผลึกมากขึ้น เรื่องแนวทางในการพัฒนาลูก ว่า ที่ผ่านมานั้น เราค่อนข้างมาถูกทางแล้ว
จากโค้นการเรียนรู้ (ตามรูป) ตามโมเดลของ Edgar Dale, 1969 แสดงให้เห็นชัดว่า
การเรียนรู้ของคนเรานั้น ถ้าเรา
- "อ่าน" เราจะเรียนรู้ได้แค่ 10%
- "ฟัง" เราจะเรียนรู้ได้แค้ 20%
- "การเห็นภาพ" เราจะเรียนรู้ได้ 30%
- ถ้าเราได้เห็นภาพเคลื่อนไหว เราจะได้เรียนรู้ 50% (เช่นการสาธิตวิธีทำ การดูหนัง การมองการจัดแสดงการสาธิต เป็นต้น และอาจจะรวมถึงวีดีโอด้วย)
สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ซึ่งห้องเรียนขนาดใหญ่ และนักเรียน นั่งเรียนหน้ากระดาน ห้ามพูดคุย และตั้งใจฟังครูพูด เชื่อฟังครู และ การให้อ่านหนังสือ ตำรา
แต่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่านั้น คือ
- การพูด หรือภิปราย จะทำให้การเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 70%
- การลงมือทำจริง การแสดงเป็นละครบทบาทสมมุติ (Role play) จะทำให้การเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น 90%
ในการเรียนการสอนของมนุษย์ของเรา มักจะมาจากการอ่าน และการฟัง ซึ่ง เป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลน้อยมาก
การเรียนรู้ที่จะเกิดผลลัพธ์มากๆ คือ การลงมือทำ ให้สัมผัส "ประสบการณ์จริง" ไม่ว่า จะสำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จ จะมีความผิดพลาดล้มเหลวแค่ไหน มันคือ บทเรียนล้ำค่า ที่จะจดจำได้ชั่วชีวิต
แต่ระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน และสถาบันการศึกษา หรือ แม้แต่การสั่งสอนตั้งแต่อดีตมา เป็นการสอนให้อ่านหนังสือ จดจำ ว่าตามกันว่า สังคมเห็นว่า ยังไง ก็ว่าตามกัน ทำตามกัน
ห้ามผิดพลาด ห้ามล้มเหลว
ไม่งั้น
จะดูโง่ ดูน่าอับอาย อาจจะโดนประนาม หรือโดนซ้ำเติม
แต่ที่แท้จริงนั้น มนุษยชาติ ถูกออกแบบมาให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง
เหตุการณ์เดียวกัน
แต่เกิดขึ้นกับคนต่างกัน
ก็อาจจะเรียนรู้ต่างกันได้
1
ได้ข้อคิดต่างกันได้
ดังนั้น การคิดต่าง ทำต่าง ไม่ควรมีประเด็นมาทะเลาะกัน
ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตัดสินว่า ใครผิดหรือถูก
ใครโง่ ใครฉลาด หรือความเห็นไม่เหมือนใคร
เพราะส่งที่เรียนรู้ของแต่ละคน ไม่เหมือกนัน
ถ้าจะมีบางสิ่ง ที่ทุกคนเห็นเหมือนๆกัน และเป็นเช่นนั้นเสมอ จึงจะเรียกว่าเป็นกฎสากล
เช่น การที่สิ่งของต่างๆ ย่อมตกบนพื้นโลกเสมอ
หรือ พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
พอมาถึงจุดนี้ อยากชี้ให้เห็นค่ะ
ว่าปัญหาสังคมปัจจุบัน ที่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
มันเป็นความจริงแท้ หรือ มันมาจากการไม่ยอมรับ ไม่ให้เกียรติกัน กันแน่
ความคิดเห็นที่แตกต่าง ความเชื่อที่แตกต่าง
ทำให้เกิด อารมรณ์ที่ขัดแย้ง
ต้องต่อว่า ต่อขาน ประจานกันใหญ่โต วิพากยวิจารณ์
จากมุมมองของตัวเอง
น่าเศร้าค่ะ
โลกวุ่นวาย เพราะการไม่ยอมรับความแตกต่าง
ตัดสินผู้คน จากมาตรฐานของตัวเอง หรือ กระแสสังคมที่ผิดๆ
เป็นเรื่องที่ทำร้ายโลกมาก
โฆษณา