17 ก.ค. 2020 เวลา 03:21 • การศึกษา
🔥จิตวิทยากลลวงกับข้อสอบTOEIC
ไม่อยากโดนข้อสอบหลอกต้องรู้!!🔥
🌸 จิตวิทยาเป็นเรื่องที่อยู่รอบตัวเราและถือได้ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก ๆ หากจะพูดถึงหลักจิตวิทยากับการออกข้อสอบ TOEIC หลาย ๆ คน คงจะตั้งข้อสัยว่ามันเกี่ยวอะไรกัน ดังนั้นวันนี้ The Eng Academy จึงหยิบยกประเด็นนี้มาบอกกล่าวน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ TOEIC เพื่อทราบถึงหลักจิตวิทยากลลวงในการออกข้อสอบ และจะได้ไม่หลงกลข้อสอบนะจ๊ะ
🌸 อย่างที่เราทราบกันว่าข้อสอบ TOEIC แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Listening (การฟัง) และ Reading (การอ่าน) โดยมีอย่างละ 100 ข้อ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 200 ข้อ แต่วันนี้พี่จะมาพูดถึงพาร์ทการฟังกับหลักจิตวิทยากับการออกข้อสอบ เพื่อที่จะให้เด็ก ๆ ไม่หลงกลข้อสอบและคว้าคะแนนได้ตามที่หวัง
🌸 ข้อสอบการฟัง TOEIC จะมีกลลวงในหลาย ๆ รูปแบบ หนึ่งในกลลวงที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยามากที่สุดซึ่งส่งผลให้ผู้ทำข้อสอบโดนหลอกให้ตอบคำตอบที่ผิดมากที่สุด ได้แก่ Repetition Words (คำซ้ำ), Similar sounding Words (คำที่ออกเสียงคล้ายกัน/เหมือนกัน) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า Homonyms โดยเราจะพบได้จำนวนมากข้อสอบพาร์ทการฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Part2: Question and Response จำนวน 16 ข้อ
🌸 ในข้อสอบส่วนของการฟัง (Listening) จะมีการใช้คำซ้ำหรือการใช้คำพ้องเสียงอยู่จำนวนมาก เพื่อเป็นกลลวงให้ผู้สอบเลือกคำตอบที่มีคำซ้ำ หรือคำที่ออกเสียงคล้ายกับคำถาม แต่เป็นคำตอบที่ผิดอย่างแน่นอน เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน เรามาดูตัวอย่างกันค่ะ
➡️ ตัวอย่างที่มีคำพ้องเสียง
⏸ คุณได้ยินคำถามที่ว่า: Can I ask you something before you leave?
⏸ คุณจะได้ยินคำตอบที่ว่า:
(A) Okay, but you'll have to make it quick.
(B) I live near the store.
(C) Usually at about six o'clock.
ลองสังเกตดูว่าในประโยคคำถามจะมีคำพ้องเสียง (Homonyms) ในคำตอบ ดังนี้
ในคำถามมีคำว่า leave : ลีฟ (v.) ออกไป ออกจาก
ในคำตอบมีคำว่า live : ลีฟ (v.) อาศัยอยู่
พี่มั่นใจเลยว่าหากน้อง ๆ จะเลือกตอบ น้อง ๆส่วนใหญ่จะเลือกตอบข้อ (B) I live near the store. ด้วยความจริงที่ว่าเราได้ยินคำว่า ลีฟ ซ้ำกับในคำถาม แต่ที่จริงแล้วนั้นกลับเป็นคำตอบที่ผิดเพราะผู้ออกข้อสอบ (ETS) ใช้หลักจิตวิทยามาเป็นกลลวงให้ผู้ทำข้อสอบมีโอกาสตอบผิด
หรืออีกตัวอย่างที่มีคำซ้ำ
⏸ คุณจะได้ยินคำถามที่ว่า: How do you intend to change the menu?
⏸ คุณจะได้ยินคำตอบที่ว่า:
(A) Everything is delicious. Thank you.
(B) By adding more seasonal dishes.
(C) Yes, here is the menu.
คุณจะสังเกตว่าจะมีการใช้คำซ้ำในคำถาม คือ คำว่า menu (เมนู) และในตัวเลือกข้อ (C) เราก็พบว่ามีการใช้คำว่า menu เฉกเช่นเดียวกัน เอ๊ะ อย่าเผลอตอบหละ เพราะมันเป็นกลลวง
🌸 ซึ่งโดยปกติของผู้สอบพบว่า มากกว่า 80% หากข้อนั้นฟังไม่เข้าใจหรือฟังไม่ทัน มักจะเลือกตอบตัวเลือกที่มีคำซ้ำหรือคำพ้องเสียง เพราะคิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ถูก
🔥 หากคุณต้องเดาใน Part2: Question and Response เราแนะนำให้คุณเดาโดยการไม่ตอบตัวเลือกที่มีคำซ้ำหรือคำพ้องเสียงที่ออกเสียงคล้ายกันกับคำถาม คุณก็จะเหลือตัวเลือกแค่ 2 ตัว เพราะ Part2 จะมีแค่ 3 ตัวเลือก
⭐ กล่าวสรุปแล้วนั้น ข้อสอบการฟัง (Listening) คุณไม่ควรเลือกคำตอบที่มีคำซ้ำกันทั้งในคำถามและตัวเลือก อีกทั้งไม่ควรเลือกคำตอบที่มีคำพ้องเสียงที่เหมือนกันกับในคำถาม ดังตัวอย่างที่ยกไปข้างต้น เพราะนี่คือหลักจิตวิทยากลลวงในการออกข้อสอบ TOEIC ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณต้องเดา ก็ต้องเดาแบบมีหลักการ กล่าวคือ ไม่ควรเดาโดยการตอบตัวเลือกที่มีคำซ้ำหรือคำพ้องเสียงนั่นเอง เพื่อลดโอกาสการตอบผิดค่ะ
🏷The Eng Academy หวังว่าคุณจะไม่หลงกลกับหลักจิตวิทยานี้ในการออกข้อสอบของ TOEIC ลองนำไปใช้ระหว่างคุณฝึกซ้อมดูนะคะ🏷
โฆษณา