17 ก.ค. 2020 เวลา 05:18 • ประวัติศาสตร์
“Robert Fortune” นักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อต ผู้ช่วยอังกฤษขโมยพืชและชาออกจากจีน
ในปีค.ศ.1842 (พ.ศ.2385) เมื่อสิ้นสุดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 “Robert Fortune” นักพฤกษศาสตร์ชาวก็อต ก็ได้รับมอบหมายจากสมาคมพืชสวนแห่งลอนดอน ให้เดินทางเข้าไปในจีน และทำการรวบรวมพันธุ์พืชต่างๆ มาเพื่อทำการศึกษา
การเดินทางเข้าไปในจีนครั้งนี้ จะใช้เวลาถึงสามปี
เมื่อ Fortune เดินทางไปจีน เขาก็ได้แวะชมสวนพฤกษศาสตร์และไร่ชาของจีน และนำประสบการณ์เดินทางที่ได้พบนั้นมาเขียนเป็นหนังสือในภายหลัง
Fortune ได้เดินทางลึกเข้าไปในจีน และสำรวจทั่วอยางที่ไม่เคยมีนักสำรวจตะวันตกคนไหนเคยทำมาก่อน และการสำรวจลึกของ Fortune นี้เอง ก็เกิดไปสะดุดความสนใจของบริษัท “East India Trading” บริษัทยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ
เรือสินค้าของ East India Trading
East India นั้นเกิดความคิดขึ้นมาว่า หากอังกฤษสามารถนำพันธุ์ชาและพันธุ์พืชต่างๆ กลับไปหาทางปลูกที่อังกฤษ หรือแม้แต่ปลูกในอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของตน
หากทำสำเร็จ อังกฤษก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งจีนอีกต่อไป
East India จึงได้ติดต่อ Fortune ขอให้ Fortune หาทางขโมยชาจากจีน ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นงานที่เสี่ยง แต่ East India ก็ให้ค่าจ้างอย่างงาม และยังมีผลประโยชน์ให้ Fortune อีกมาก
คุ้มที่จะเสี่ยง
ค.ศ.1848 (พ.ศ.2391) Fortune ได้เดินทางเข้ามาในจีนเป็นครั้งที่สอง แต่คราวนี้ไม่ได้มาเพื่อนำพันธุ์พืชกลับไปศึกษา แต่เข้ามาเพื่อขโมยชาตามคำสั่งของ East India
การทำชาในจีน
Fortune ได้ตัดผมให้เหมือนคนจีน อีกทั้งยังใส่เสื้อผ้าจีน เพื่อปลอมตัวเป็นพ่อค้าจีนและผ่านด่านตรวจมาได้
แต่เมื่อผ่านเข้ามาในจีนสำเร็จแล้ว Fortune ก็ต้องหาทางขนตัวอย่างชา ส่งไปยังอินเดีย
ด้วยความเก่งกาจของเขา Fortune สามารถรวบรวมพันธุ์ชาได้กว่า 13,000 สายพันธุ์ และเมล็ดชาอีกกว่า 10,000 เมล็ด และส่งข้ามชายแดนจีนไปได้
1
ในการขนส่งครั้งแรก เมล็ดชาต่างใช้ไม่ได้ ตายระหว่างการขนส่ง แต่ Fortune ก็หาทางเคลื่อนย้าย โดยการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ขนส่ง และในที่สุดก็สำเร็จ
ไร่ชาในจีน
เมื่อได้รับเมล็ดพันธุ์มา อังกฤษก็หาทางปลูกชาในอินเดียจนสำเร็จ ทำให้ความเป็นมหาอำนาจในด้านชาของจีนนั้น สิ้นสลายไปทันที
ปริมาณชาที่ผลิตในจีนลดลงเหลือ 41,000 ตัน และส่งออกเพียง 9,000 ตันเท่านั้น
จีนบอบช้ำอย่างหนัก และกว่าจะฟื้นตัว ก็ต้องใช้เวลานับร้อยปีทีเดียว
โฆษณา