19 ก.ค. 2020 เวลา 02:00 • สิ่งแวดล้อม
องค์การอวกาศยุโรป ESA เผยภาพดวงอาทิตย์ในระยะ 77 ล้านกิโลเมตรจากพื้นผิว ซึ่งเป็นภาพที่ใกล้ที่สุด และละเอียดที่สุดเท่าที่เคยถ่ายได้โดยกล้อง ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายจากยาน Solar Orbiter
ภาพที่ทุกท่านเห็นคือภาพที่ความละเอียดสูงและใกล้ที่สุดของดวงอาทิตย์เท่าที่เคยถ่ายบันทึกไว้ ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งอยู่บนยานโคจรของสำนักงานอวกาศยุโรป ESA ที่เข้าใกล้และเผยให้เห็นพื้นผิวของดวงอาทิตย์
โดยยานดังกล่าวคือ Solar Obiter ที่ออกทะยานสู่ห้วงอวกาศจากสหรัฐอเมริกาเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมาเพื่อไปศึกษาดาวฤกษ์ดวงนี้
ซึ่งยานดวงนี้ได้เข้าสู่วงโคจรดวงอาทิตย์ในระยะประชิดเพื่อทำงานสนับสนุนด้านการศึกษาและเก็บข้อมูล รวมทั้งถ่ายภาพขั้วเหนือ และขั้วใต้ของดวงอาทิตย์ และส่งกลับให้มนุษย์ได้เห็น
ดวงอาทิตย์นั้นอยู่ห่างจากโลกประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร ซึ่งยานโคจรนี้เข้าได้ถึง 75 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะครึ่งหนึ่งระหว่างโลกและดวงอาทิตย์
โดยภาพที่เผยแพร่ในวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมาถ่ายเมื่อยานเข้าไปในระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 77 ล้านกิโลเมตร ซึ่งไม่ใช่ระยะที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อเทียบกับสถิติของยาน Parker Solar Probe แต่เพราะยาน Parker ไม่มีกล้องสำหรับสำรวจดวงอาทิตย์นั่นเอง
Eภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นเปลวไฟ flare อยู่ทั่วพื้นผิวของดวงอาทิตย์ โดยมีขนาดเล็กราว 1 ใน 1,000,000 ของเปลวสุริยะ Solar Flare จากปกติที่กล้องโทรทรรศน์บนโลกสามารถจับภาพได้
โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกเปลวไฟนี้ว่า Campfire ที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไรแต่คาดว่าอาจมีบทบาทสำคัญในปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Coronal heating ที่ทำให้ชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นผิวชั้นล่าง 200-500 เท่า คาดว่าการตรวจอุณหภูมิของ Campfire จะทำให้ทราบข้อมูลมากขึ้น
ภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์นี้คาดว่าจะใช้เวลา 10 ปี โดยสำนักงานอวกาศยุโรปเป็นแกนนำของโครงการดังกล่าวที่ได้รับการสนับสนุนจาก NASA
นักวิทยาศาสตร์จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ ที่ส่งผลต่อโลก อย่างเช่นการพยากรณ์พายุสุริยะ หรือสภาพอากาศในอวกาศที่เกิดขึ้นในอนาคตได้
ที่มา
โฆษณา