21 ก.ค. 2020 เวลา 12:30
พืชก็สามารถใช้เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับระเบิดได้
ทีมวิจัยจาก MITใช้อนุภาคระดับนาโนเชื่อมต่อกับโปรตีนชื่อว่า Bombolitin II ที่สามารถจับกับสารไนโตรอะโรมาติก (Nitroaromatic)ซึ่งเป็นสารที่พบในวัตถุระเบิดได้ โดยการจับกันดังกล่าวทำให้เกิดการเรืองแสงอินฟาเรดที่สามารถตรวจจับได้ด้วยกล้องดิจิตอลของสมาร์ทโฟนธรรมดา
ทีมวิจัยได้ทำการทดลองฝังอนุภาคผสมลงในใบต้นผักโขมและพบว่าสามารถตรวจจับสารไนโตรอะโรมาติกที่อยู่ในน้ำที่ใช้ปลูกได้จริง แนวคิดนี้เรียกว่า “Plant nanobionic” ซึ่งเป็นการฝังอนุภาคระดับนาโนลงในพืชเพื่อให้พืชทำหน้าที่บางอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ
เขียนโดย: ผศ. ดร. สิริวัฒน์ สาครวาสี
แหล่งที่มาของรูปและข้อมูล: https://www.sciencedaily.com/releases/2016/11/161101104731.htm
โฆษณา