20 ก.ค. 2020 เวลา 07:40 • ท่องเที่ยว
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก บุรีรัมย์ ยิ่งนานวันยิ่งทรงคุณค่า
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก & ดินดิบ คาเฟ่ ภายในสถานที่เป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก เชื่อว่าหลายท่านเคยผ่าน หลายท่านเคยได้อ่านข่าวสารเรื่องราว ผู้เขียนต้องยอมรับเช่นกันเพิ่งมีโอกาสได้เข้ามาสัมผัส ความรู้สึกแรกตื่นตาตื่นใจ มองไปทางไหนก็ล้วนแสดงถึงความมีคุณค่า ทางศิลปะ วิถีชีวิตถิ่น การได้นำของใกล้ตัวมาประยุกต์ตกแต่งได้อย่างสวยงาม ยิ่งเดินเข้าไปก็ยิ่งสัมผัสลึกถึงสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ในส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์
เอาเป็นว่าใครยังไม่เคยแวะเข้ามาต้องรีบมา และส่วนท่านที่เคยมา ให้แนะนำให้คนรอบข้างได้มาที่นี่ เชื่อว่าในวันนี้ หากใครจะสร้างหรือมาเลียนแบบสถานที่ท่องเที่ยวแนวนี้เป็นไปได้ยากมาก สิ่งของเก่าพร้อมตำนานที่ถูกสร้างขึ้นจาก อาจารย์ที่มีความชื่นชอบ ที่ทุ่มเทแรงกาย แรงความคิด ตลอดชีวิตในการทำงานสร้างขึ้นมา
เป็นสถานที่ ทรงคุณค่า และมีค่าควรหวงแหนของชาวบุรีรัมย์ ต้องขอยกย่อง ด้วยหัวใจ รวมถึงคนรุ่นต่อมาได้สืบทอดอนุรักษ์ให้คงอยู่แม้ต้องไปรับสถาพบางส่วน เพื่อปรับตามวิถีชีวิตในปัจจุบัน มาที่นี่นอกจากสิ่งที่กล่าวมา ขอแนะนำเลย มาทานอาหารที่นี่สักมื้อใหญ่ เมนูอาหารทุกเมนูล้วนเลือกสรร และบรรจงในการปรุงแต่งรสชาติอาหารถูกปาก พร้อมบริการเครื่องดื่มในราคาเริ่ม 35 บาท หากมาเป็นครอบครัวให้เด็กๆ ได้ซึมซับของโบราณ การรักศิลปะ ที่ปัจจุบันกาสถานที่สมบูรณ์แบบนี้ยากมาก
ปิดทุกวันพุธ ที่ตั้ง : ถนนบุรีรัมย์-ลำปลายมาศ(เส้น226) ช่วงตำบลหนองบัวโคก อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จากแยกบ้านกระสังไปประมาณ 16 กิโลเมตร
เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 08:30-20:30 น. Tel 085-7748-773
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์
อาจารย์ทำนุ วรธงไชย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี 2531 เกิดจากแรงบันดาลใจในความรักในวิถีชีวิตชุมชนอีสาน ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี จึงได้รวมรวมจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น และยีงเป็นแหล่งผลิตงานดินเผาหลากหลายรูปแบบ ภายในบริเวณมาอาคารรวมรวมสิ่งของเครื่องใช้ของชาวอีสานหลายหลัง ร่มรื่นสวยงามด้วยพรรณไม้นานาชนิด และมีสินค้าที่ระลึก เครื่องใช้จากดินเผาหลายหลายรูปแบบให้เลือกชมเลือกซื้อ
อาจารย์ทำนุ วรธงไชย มีแรงบันดาลใจในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เริ่มมาปี 2531 สมัยที่อาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ที่เน้นศึกษาวิถีชีวิตชุมชนอีสาน ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ด้วยความสนใจในศิลปหัตถกรรมของชาวอีสาน จึงเลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “เครื่องมือดักสัตว์ของชาวชนบท ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์”
การที่เป็นอาจารย์ต้องสอนศิลปะพื้นบ้าน ทำให้สนใจเสาะหาเครื่องใช้พื้นบ้านมาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเรียนรู้ นำไปสู่การเก็บสะสมรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านอีสาน ที่ชาวบ้านทำขึ้นใช้เองในชีวิตประจำวัน ทั้งขอซื้อ บริจาค หรือแลกกับสิ่งของ โดยอาจารย์เห็นว่าเครื่องมือดังกล่าวมีหลากหลายชนิด หลายรูปแบบ ที่ใช้ทักษะเชิงช่างประดิษฐ์ขึ้น มีทั้งหน้าที่ใช้สอยและความงดงามในเชิงศิลปะ ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจารย์ได้ลงเก็บข้อมูลภาคสนาม บันทึกภาพ ร่างภาพเขียนภาพ สัมภาษณ์สอบถามผู้ใช้ รวมทั้งนำเครื่องมือเหล่านั้นมาทดลองการใช้งาน การศึกษาดังกล่าวทำให้อาจารย์พบเห็นวิถีชีวิตและเครื่องมือเครื่องใช้ชนิดอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก
ขอบคุณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก จ.บุรีรัมย์/ ดินดิบ คาเฟ่ อาหาร และเครื่องดื่มอร่อยๆ ราคาคุ้มค่า
โฆษณา