26 ก.ค. 2020 เวลา 04:34 • ประวัติศาสตร์
"เรื่องราวของชมพูทวีปหลังจากการล่มสลายของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ"
หลังจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุล่มสลายไป ก็ได้เข้าสู่อารยธรรมพระเวท (ราว 1500–500 ปีก่อนคริสตกาล)
การตั้งชื่อยุคนี้ถูกตั้งตามชื่อคัมภีร์ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดที่จะบ่งบอกความเป็นมาของยุคพระเวทนี้คือคัมภีร์พระเวท ซึ่งมีด้วยกัน4คัมภีร์คือ
1.ฤคเวท 2.ยชุรเวท 3.สามเวท 4.อถรรพเวท
เนื้อหาในคัมภีร์เหล่านี้บอกถึงพิธีกรรม บทสวดต่างๆ และยังสามารถใช้อ้างอิงในประวัติศาสตร์สมัยนั้น กระผมจะขอไม่ลงลึกในด้านนี้ จึงขอเข้าเรื่องเลยละกัน
คัมภีร์พระเวทยุคแรกๆ
ตัวละครที่สำคัญในยุคพระเวทนี้คือกลุ่มชาวอารยัน กระผมขออธิบายอย่างคร่าวๆว่าชนเผ่าอารยันคือใคร มาจากไหน
ชนเผ่าอารยันมีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาคอเคซัส ปัจจุบันอยู่บริเวณประเทศจอเจีย(ปัจจุบันแหล่งต้นตอของอารยันยังเป็นที่ถกเถียงกัน แต่ข้อมูลที่เขียนข้างต้นได้รับการยอมรับส่วนใหญ่)และได้อพยบออกเป็นสามกลุ่มโดยกลุ่มหนึ่งก็ได้กระจายตัวไปอยู่ในแถวยุโรปแถบกรีซและอิตาลีกลุ่มนี้เรียกว่า อินโดยูโรเปี้ยน(ซึ่งเป็น ต้นตอของบรรพบุรุษชนชาติโรมัน ชนชาติกรีกในยุโรป และเป็นต้นตอของพวกอียิปต์ในแอฟริกาเหนือ)
อีก2กลุ่มหลังคือพึ่งมาย้าย1500-600ปีก่อน ค.ศ.
กลุ่มหนึ่งกระจายตัวไปแถว ประเทศอินเดียลุ่มแม่น้ำสินธุกลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม อินโดอารยัน(หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่ากลุ่มนี้แหละที่แบ่งชนชั้นวรรณะในอินเดีย ที่ยังมีมาจนถึงปัจจุบัน) อีกกลุ่มหนึ่งกระจายตัวไปทางเปอร์เซียแถวทะเลสาปแคสเปี้ยนกลุ่มนี้เรียกว่า อินโดอิเรเนียน
ในช่วงต้นยุคพระเวท เรียกว่า สมัยฤคเวท เป็นสมัยที่ชาวอารยันเข้ามาในอินเดียใหม่ๆ เป็นชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ เก่งในด้านการทำสงคราม ในสมัยนั้นอารยันเป็นสังคมยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย มีรูปแบบเป็นชนเผ่ามากกว่าจะเป็นราชอาณาจักร และสืบทอดตำแหน่งโดยฝ่ายชาย
เมื่อชาวอารยันที่แข็งแกร่งกว่าเข้ามาในดินแดนชมพูทวีปแล้ว เกิดการต่อสู้กันกับคนพื้นเมือง(ดราวิเดียน)ที่อ่อนแอกว่า แน่นอนชาวอารยันชนะอย่างไม่ต้องสงสัย คนพื้นเมืองที่ไม่ยอมอพยพหนีไปหลังจากพ่ายแพ้สงครามก็จะยอมเป็นทาส เรียกว่า ทัสยุ(การกำเนิดวรรณะเริ่มขึ้นจุดนี้เอง)ของชาวอารยัน ส่วนชาวอารยันก็ถือตัวว่าเจริญกว่าคนพื้นเมือง และเพื่อป้องกันการปะปนทางเชื้อชาติเกิดขึ้น จึงได้ห้ามไม่ให้มีการสมสู่กันระหว่างชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง และสงวนอาชีพสำคัญๆและมีเกียรติไว้สำหรับชาวอารยัน สาหรับชาวอารยันนั้นแบ่งออกเป็น 3 พวกตามตำแหน่งหน้าที่ซึ่งมีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ส่วนชนพื้นเมืองเดิมนั้นมีฐานะต่ำที่สุด และประกอบอาชีพที่ชาวอารยันไม่ปรารถนาแล้ว ในที่สุดจึงกลายมาเป็นระบบวรรณะ (Caste system) ขึ้นมา4วรรณะ
1) วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ ชาวอารยันที่มีหน้าที่เล่าเรียนวิชาการเวทมนตร์ กระทำพิธีกรรมต่างๆ และสั่งสอนผู้อื่น เปรียบเสมือนเป็นปากพระพรหม
2) วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ ชาวอารยันที่มีหน้าที่ปกครองและรักษาบ้านเมือง เปรียบเสมือนเป็นแขนของพระพรหม
3) วรรณะไวศยะ ได้แก่ ชาวอารยันที่มีอาชีพหน้าที่ในการทำเกษตรกรรม การค้าขายและเสียภาษี ชาวอารยันกลุ่มนี้เป็นผู้ควบคุมระบบเศรษฐกิจของสังคมเปรียบเสมือนเป็นขาพระพรหม
4) วรรณะศูทร ได้แก่ พวกชนพื้นเมืองเดิมที่ถูกกดขี่ และถูกกีดกันในด้านอาชีพและสังคม ถูกเหยียดหยามว่าเป็นพวกทาสหรือทัสยุ เพราะไม่มีอาชีพที่จะทำ จึงจำเป็นต้องคอยรับใช้พวกอารยัน ได้รับค่าจ้างพอยังชีพเล็กๆน้อยๆเปรียบเสมือนเท้าพระพรหม
ระบบวรรณะในอินเดีย
ในช่วงปลายของยุคนี้มีการเกิดขึ้นของเมืองเล็ก ๆ ราชอาณาจักร ชาวอารยันในอินเดียสามารถรวมตัวเป็นอาณาจักรเล็กๆประมาณ 16 อาณาจักรได้ แต่ละอาณาจักรเรียกว่า มหาชนบท ตามลุ่มแม่น้ำคงคา-สินธุ ชุมชนเมืองเติบโตอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของอารยธรรมสินธุ ทั้ง 16 มหาชนบทมีการปกครองที่แตกต่างกัน บางอาณาจักรปกครองโดยกษัตริย์ บางอาณาจักรปกครองโดยสภาเมือง เป็นสาธารณรัฐ และมีระบบวรรณะที่เด่นชัดมากในยุคนี้ และในช่วงนี้เองยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะเกิดขึ้น(ทั้ง2เรื่องนี้มาจากเคร้าโครงเรื่องจริงแต่ถูกแต่งจนไม่มีใครอยากเชื่อ)
แผนที่ภาพทั้ง16มหาชนบท
สุดท้ายแล้วงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา วันเวลาได้เดินทางมาถึงเมื่อคราวที่อารยธรรมพระเวทได้ล่มสลาย
สาเหตุของการล่มสลายยุคพระเวทเกิดจากหลายสาเหตุเช่น การกำเนิดขึ้นของศาสนาใหม่2ศาสนาคือศาสนาเชน และศาสนาพุทธ การเปลี่ยนแปลงในทางด้านภาษาศาสตร์ ,ด้านวัฒนธรรม และด้านการเมืองการปกครอง พระราชาที่ปกครองเมืองเริ่มปฏิเสธพิธีกรรมต่างๆในศาสนานี้
นักโบราณคดีชาวอินเดียบางท่านยังกล่าวว่าการล่มสลายของอารยธรรมพระเวทนี้สาเหตุที่สำคัญเลยมาจากสงครามมหาภารตะ ที่มีการสูญเสียครั้งใหญ่สุดของดินแดนฮินดูสถานนี้(มีการประมาณการเสียชีวิตกว่า2ล้านคนจากสงคราม) ท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าอดีตจะรุ่งเรืองแค่ไหนก็หนีไม่พ้นกฏการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอยู่ดี
"เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป"เป็นธรรมดา
ว่าแล้วก็ได้เข้าสู่ยุคใหม่ในอินเดีย ยุคที่เปลี่ยนแนวคิดของพระเวทไปโดยปริยาย ยุคต่อไปเป็นอย่างไรนั้นพบกันใหม่ตอนหน้าครับ
อ้างอิง
เมธา เมธาวิทยกุล, ศาสนาเปรียบเทียบ (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียน สโตร์, 2525)
โฆษณา