Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Le Siam
•
ติดตาม
20 ก.ค. 2020 เวลา 11:02 • การศึกษา
การสร้างตัวตน และการรับรู้ใหม่กับโลก
เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมและนาฎศิลป์ของเขมร
Original Khmer ..? Thailand Copy ... ?
จากการที่ชาวเขมรหรือกัมพูชาพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ด้วยการสร้างสรรค์ศิลปะวัฒนธรรมและนาฎศิลป์ให้มีความเหมือนไทยที่สุดแล้วประกาศให้โลกได้รู้ว่า
“เขมรคือต้นฉนับ”
และ
“ไทยหรือสยามเป็นพวกหัวขโมย”
คนไทยหลายคนอาจละเลยและหลงเชื่อคำชวนเชื่อที่ผิดๆกันมาช้านาน กับการถูกสั่งสอนที่ว่า
“ทุกอย่างล้วนเป็นวัฒนธรรมร่วม”
แต่ฉันอยากจะเรียนให้พี่ท่านทั้งหลายได้ทราบเหลือเกินเจ้าค่ะว่า มีเพียงประเทศเราประเทศเดียวเท่านั้นที่คิดว่าเป็นวัฒนธรรมร่วม ส่วนชาวเขมรหรือกัมพูชา ร่วมถึงเพื่อนบ้านข้างๆหลายบ้านนั้นกลับไม่ได้คิดร่วมในแนวคิดนี้กับเราเลยแม้แต่นิดเดียวเจ้าค่ะ
ปัจจุบันวิวาทะเรื่องไทยขโมยศิลปะวัฒนธรรมและนาฎศิลป์ของเขมรนั้นเห็นจะยิ่งรุนแรงยิ่งขึ้นในโซเชียลของกัมพูชาในปัจจุบันนี้เจ้าค่ะ เพราะชาวกัมพูชาได้ทำการคัดลอกและเครมทุกอย่างที่เป็นไทยจนแทบจะหมด
ตัวอย่างเช่น
1. การแต่งกายและทรงผมสมัยอยุธยา
เช่น การห่มสไบ ทรงผมมหาดไทยปล่อยผมยาว โดยได้เริ่มคัดลอกหลังช่วงละครบุพเพสันนิวาส สิ้นสุดการออกอากาศ
โดยชุดเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย (พาหุรัด/สำเพ็ง)
การห่มสไบและการทำทรงผมมหาดไทยแบบปล่อยยาว แบบอยุธยา
การตะเบ็งมาร แบบอยุธยา
2. การแต่งกายและทรงผมแบบรัตนโกสินทร์
ที่ได้รับอิธิพลจากไทยไปในสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของสยาม
โดยชุดเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย (พาหุรัด/สำเพ็ง)
การแต่งกายห่มสไบ สะพัก และนุ่งผ้าถุงจีบหน้านาง แบบกรุงรัตนโกสินทน์
3. การแต่งกายแบบชุดไทยพระราชนิยม
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม-ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทั้ง 8 ชุด
โดยวัสดุและเครื่องประดับส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย
ไทยพระราชนิยม ชุดไทยดุสิต ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ไทยพระราชนิยม ชุดไทยศิวาลัย ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
4. นาฎศิลป์ละโคนโขล
ดนตรี เครื่องแต่งกาย หัวโขลที่เริ่มมีการเขียนหน้าในรูปแบบไทย
โดยวัสดุส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทย
หัวโขนที่ทำใหม่ในยุคปัจจุบัน
การทำให้เหมือนอย่างไทยตามลำดับ
5. อาหารไทย
เช่น ผัดไทย ต้มยำกุ้ง ขนมจีน ส้มตำ และอื่นๆ โดยใส่หัวข้อว่า “Khmer Food”
การเคลมผัดไทย โดยใช้ชื่อ "ผัดไทย" แต่อาหารเขมรห้อยท้าย
6. การนำรูปภาพโบราณของสยามไปแอบอ้าง
เช่น คุงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ถ่ายจากมุมวัดอรุณ เปลี่ยนเป็น ปากน้ำของแม่น้ำกรุงพนมเปญ ,
ภาพพระราชพิธีโสกัณฑ์เจ้านายไทย เปลี่ยนเป็น พระราชพิธีโสกัณฑ์เจ้านายกัมพูชา เป็นต้น
นำภาพเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระราชธิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะฉลองพระองค์ในงานพระราชพิธีโสกัน ว่าเป็นสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ หรือ นักองค์ราชาวดี
6. จิตรกรรมและสถาปัตยกรรม
อย่างการอ้างว่านครวัดมีสีวิกากาญจน์ตั้งแต่พุทธศตวรรตที่12 ก่อนที่ไทยจะมีในพุทธศตวรรตที่ 21
อ้างว่านครวัดมีสีวิกากาญจน์ตั้งแต่พุทธศตวรรตที่12 ก่อนที่ไทยจะมีในพุทธศควรรตที่ 21
วิธีการสร้างตัวตนและการรับรู้ใหม่ให้กับโลกของกัมพูชาคือ
คัดลอกทำใหม่ ทำสื่อลงโซเชียลโดยการเขียนกำกับภาพของตนเองว่า “Original” และภาพของไทยว่า “Copy” แล้วนำมาเทียบกัน
กลยุทธ์ของเขมรคือจะเปิดทุกช่องทางทั้งเพจสาธารณะและกลุ่มสาธารณะ ร่วมไปถึงเข้าไปโพสต์ตามเพจและกลุ่มต่างที่มีคนไทยอยู่รวมด้วย
หากจะถามว่าใครได้เปรียบในเกมส์นี้
ฉันก็ต้องพวกเลยว่าเจ้าค่ะว่า “เขมร”
ไม่ใช่เพราะเขมรนั้นมีหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการหรือมีความแม่นยำและที่มาของศิลปะวัฒนธรรมและนาฎศิลป์ดอกนะเจ้าค่ะ หากแต่เป็นพลังของคนเขมรจำนวนมากที่พร้อมใจกันกระหน่ำไทยอย่างบ้าคลั่ง
แม้คนไทยจะใช้หลักฐานทางวิชาการอ้างอิงต่างๆแต่ก็ไม่อาจสู่ได้เพราะคนไทยนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยกว่าคนชาวเขมรมาก
ก่อนจบบทความนี้ไปฉันอยากให้ทุกคนได้รับรู้ใหม่เจ้าค่ะว่า
แท้จริงแล้วมันไม่มีวัฒนธรรมร่วมระหว่างกัมพูชาและสยามเลยแม้แต่นิดเดียว
สิ่งที่กัมพูชามีและใช้เป็นหลักฐานก็มีเพียงซากปลังหักพังของปราสาทหินเพียงเท่านั้น ซึ่งในรูปสลักหรือจารึกเหล่านั้นมิได้มีความเหมือนที่ปรากฎเป็นวัฒนธรรมร่วมกับสยามหรือไทยเราเลยแม้แต่นิดเดียวเจ้าค่ะ
ดังนั้นแล้วฉันอยากให้พี่ท่านทุกคนได้ร่วมด้วยช่วยกันสืบสานและอนุรักษ์ความเป็นไทยของเราไว้ และหากมีโอกาสได้เห็นโพสต์ของชาวเขมรโพสต์บั๊บไทยแล้วละก็ อย่าลืมที่จะตอบโต้อย่างผู้มีปัญญาชนและมั่นหน้าในความ Original ที่แท้จริงของเราด้วยนะเจ้าค่ะ
ก่อนที่ชาวเขมรหรือกัมพูชา จะเคลมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นรากเหงาของเราไปหมดเจ้าค่ะ
Le Siam
“สยาม ... ที่คุณต้องรู้”
2 บันทึก
44
56
11
2
44
56
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย