23 ก.ค. 2020 เวลา 02:09
กฎหมายตราสามดวง ตอนท้าย
ตอนแรก https://bit.ly/2ZKB45B
ตอนสอง https://bit.ly/2WHKn4m
ตอนสาม https://bit.ly/2ZK09xy
กฎหมายตราสามดวงได้รับยกย่องว่าเป็น ประมวลกฎหมายฉบับแรกแห่งสัมยรัตนโกสินทร์ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 เนื่องจากเป็นการนำบทกฎหมายลักษณะต่าง ๆ ที่ใช้ในขณะนั้นอันมีมาแต่สมัยอยุธยา มารวบรวมเป็นหมวดหมู่ และชำระดัดแปลงบางบทที่วิปลาสทำให้เสียความยุตธรรมออกไป
กฎหมายฉบับต่าง ๆ ที่ประกอบอยู่ในกฎหมายตราสามดวง รวม 27 ฉบับ โดยในบทความนี้จะขอกล่าวไว้ในฉบับ 22 ถึง 27 ได้แก่
22. พระอายการอาชาหลวง 1, 2
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดของขุนนาง ราษฎร ที่กระทำการใด ๆ เป็นการละเมิดต่อคำสั่งของพระมหากษัตริย์ หรือการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ การกระทำที่เป็นภยันตรายแก่ประชาชน และความผิด อื่น ๆ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งในฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน โดยมิชอบหรือโดยทุจริต และเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นการข่มเหงราษฎรด้วยกัน
23. พระอายการเบดเสรจ
เป็นบทบัญญัติครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ หลายด้านที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของราษฎรทั่วไป เช่น สิทธิและหน้าที่ ความรับผิดชอบและการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำไร่ทำนา ทำสวนรุกล้ำดินแดนกัน เป็นต้น
24. กฎ 36 ข้อ
เป็นกฎหมายที่สืบทอดมาแต่ครั้งสมัยอยุธยาส่วนใหญ่เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดี
25. พระราชกำหนดเก่า 1, 2, 3, 4, และ 5
พระราชกำหนดเก่าทั้ง 5 เล่ม มีรวมทั้งสิ้น 65 ฉบับ เป็นกฎหมายที่สืบทอดมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนด เช่น ในด้านการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นต้น
26. พระราชกำหนดใหม่ 1, 2, 3, 4 และ 5
พระราชกำหนดใหม่มีทั้งสิ้น 45 ฉบับ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บัญญัติเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในด้านการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน การศาลยุติธรรม และแนวการวินิจฉัยคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
27. พระไอยการพรมศักดิ
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าตัวของบุคคลตามเพศ วัย และสถานะต่าง ๆ เมื่อจะต้องคิดค่าสินไหมทดแทน กรณีทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิตหรือร่างกาย เป็นต้น
[ข้อมูล : กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ตามต้นฉบับหลวง]
โฆษณา