21 ก.ค. 2020 เวลา 12:10 • ประวัติศาสตร์
ห้องสมุดที่เก่าที่สุดในโลก
ภาพวาดจำลองปราสาทที่ Nineveh โดย Sir Austen Henry Layard,
ประมาณ 2700 ปีที่แล้ว ในดินแดนที่เป็นอิรักปัจจุบัน
มีกษัตริย์ของ อาณาจักร อัสซีเรีย (Assyria) พระองค์หนึ่ง พระนามว่า อัชเชอร์บาร์นิปาล (Ashurbanipal)
ทรงสนใจในความรู้และของเก่าๆมาก
จึงสั่งให้สร้างหอสมุดขึ้นมาในพระราชวัง นินนิเวห์ (Nineveh) ซึ่งคนในยุคเรารู้จักในชื่อ The Royal library at Nineveh
ภายในห้องสมุดก็ให้มีการรวบรวมหนังสือแผ่นดินเหนียวที่เรียกว่า tablet จากดินแดนต่างๆรอบๆเมโสโปเตเมีย
จากนั้นก็นำหนังสือเหล่านั้นมาคัดลอกเก็บไว้เป็นก็อปปี้ของหอสมุดโดยเฉพาะ
หนังสือหลายเล่มเขียนขึ้นในยุคนั้น
แต่หลายเล่มก็เป็นหนังสือเก่าที่เขียนมาก่อนหน้านานเป็นพันปี
เนื้อหาในหนังสือต่างๆมีความหลากหลายมากตั้งแต่
ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ เรื่องเล่า ตำนาน กฎหมาย ตำราแพทย์ การดูดาว การพยากรณ์ เวทมนตร์ รวมไปถึงวรรณกรรมอย่าง Epic of Gilgamesh
ส่วนหนึ่งของหนังสือ tablet ที่ค้นพบ
ต่อมาเมื่ออาณาจักรอัสซีเรีย (neo-Assyria) โดนรุกราน
หอสมุดแห่งนี้ก็ถูกไฟไหม้พังทลายลง
หนังสือดินเหนียวจำนวนมากแตกหักออกเป็นเสี่ยงๆ
แต่ด้วยความที่หนังสือเหล่านีทำมากจากแผ่นดินเหนียว
จึงไม่โดนไฟเผา
ยิ่งไปกว่านั้นไฟที่ร้อนยังทำให้แผ่นดินเหนียวแข็งขึ้นอีกด้วย
ประมาณ 170 ปีที่แล้ว นักโบราณคดีชาวอังกฤษก็ได้ขุดพบหอสมุดแห่งนี้อีกครั้ง
หนังสือที่หายไปจากความทรงจำของประวัติศาสตร์นานกว่า 2700 ปี จึงถูกอ่านอีกครั้ง
และนั่นเป็นสาเหตุว่า ทำไมนักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันจึงรู้เรื่องเกี่ยวกับ
ดินแดนเมโสโปเตเมียมากมาย ถึงขนาดว่า นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า
เรารู้เรื่องเกี่ยวกับเมโสโปเตเมียเมื่อเกือบสามพันปีที่แล้ว มากกว่าที่เรารู้เรื่องของยุโรปยุคกลางเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนเสียอีก
แต่ด้วยปริมาณของแผ่นดินเหนียวที่แตกหักรวมๆกันเกือบสามหมื่นแผ่น
ทำให้เวลาผ่านมาเกือบสองร้อยปีแล้ว แต่หนังสือเหล่านี้ก็ยังไม่ถูกอ่านทั้งหมด
ใครจะไปรู้ว่า ท่ามกลางหนังสือที่ยังไม่ถูกอ่านเหล่านี้
จะมีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจซุกซ่อนอยู่อีกบ้าง
โฆษณา