25 ก.ค. 2020 เวลา 13:00 • สิ่งแวดล้อม
"นกยูงขาว"
นกยูงหายากที่ถึงแม้จะไร้สีสัน แต่มันก็ยังสวยงาม
ภาพจาก Michele_Arts/Shutterstock
นกยูงถูกยกย่องให้เป็นราชินีแห่งนก และถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคลในหลายวัฒนธรรม
ชาวกรีกโบราณเชื่อว่านกยูงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ
ชาวฮินดูเชื่อว่านกยูงเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ความสูงส่ง และความรัก
6
ชาวจีนโบราณเชื่อว่านกยูงเป็นตัวแทนของความสูงศักดิ์ ความรัก และความเมตตา
4
แม้แต่ในพระพุทธศาสนาก็ยังมีคาถาพญายูงทองไว้ใช้สำหรับสวดเพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันตราย
ทั่วโลกมีนกยูงอยู่ 2 สกุล คือ สกุลของนกยูงแอฟริกา (Afropavo) หรือนกยูงคองโก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับนกยูงอีกสกุลหนึ่ง แต่พฤติกรรมแตกต่างกันมาก จนนักปักษีวิทยาหลายคนยังไม่ยอมรับว่ามันเป็นนกยูง
ส่วนนกยูงอีกสกุลหนึ่งก็คือ สกุลของนกยูงเอเชีย (Pavo) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ นกยูงอินเดียหรือนกยูงฟ้า และนกยูงไทยหรือนกยูงเขียว
นกยูงอินเดีย (ภาพจาก https://bit.ly/3eScDYr)
นกยูงไทย (ภาพจาก https://bit.ly/3fUwyHl)
สำหรับนกยูงขาวนั้นถือเป็นสายพันธุ์หนึ่งของนกยูงอินเดียที่มีการกลายพันธุ์ซึ่งเรียกว่า leucism จนทำให้เกิดความผิดปกติในการสร้างเม็ดสีในขนนก
สัตว์หลายชนิดที่มีสีผิดปกติเนื่องจากภาวะ leucism มักจะมีนิสัยเชื่องและดูแลง่าย แต่ไม่ใช่กับนกยูงขาวตัวนี้ เพราะมันยังดุเหมือนกับตัวที่มีสีสันปกติ และอาจจะจิกหรือเตะคนที่พยายามจะจับมันด้วย
ภาพจาก Ekaterina Lin/Shutterstock
ขนหางของนกยูงขาวตัวผู้มีประมาณ 150 อัน โดยจะยาวเต็มที่เมื่อมันมีอายุประมาณ 2 ปี ซึ่งเมื่อขนหางถูกรำแพนเพื่ออวดนกยูงสาว จะเป็นภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก
นกยูงขาวสามารถพบได้บ้างในธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่มันมักจะถูกคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อนำมาเลี้ยง ซึ่งอาจจะทำให้มันมีอายุยืนได้ถึง 50 ปีเลยทีเดียว
ธรรมชาติมักจะสร้างสรรค์อะไรที่เราคาดไม่ถึงเสมอ
หนึ่งในนั้นก็คือ นกยูงขาว ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของความผิดปกติที่งดงาม
ภาพจาก Tatiana Grozetskaya/Shutterstock
โฆษณา